คืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง  กับความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และนายหวัง เสี่ยวเทา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรม แชงกรี – ลา กรุงเทพฯ โดยมี นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้ง ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาวิศวกร และสภาสถาปนิก ร่วมการประชุม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา สรุปได้ดังนี้

1. ฝ่ายจีนขอให้ไทยเร่งรัดการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (ระหว่างสถานีกลางดง – ปางอโศก) ซึ่งคาดว่า จะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการฯ ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2560 และลงนามในสัญญาจ้างการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ช่วงที่ 1 ได้ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ แล้ว และจะสามารถลงนามในสัญญาฯ ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งกระทรวงการคลังจะพิจารณาเกี่ยวกับเงินลงทุนสำหรับการก่อสร้าง ช่วงที่ 1 ซึ่งได้ประมาณราคาเบื้องต้นในวงเงินประมาณ 200 ล้านบาท

2. ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนเร่งดำเนินการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ช่วงที่ 2 ช่วงที่ 3 และช่วงที่ 4 เพื่อให้สามารถทยอยดำเนินการเปิดประมูลการก่อสร้างให้ต่อเนื่องได้

3. คณะทำงานฝ่ายเทคนิคของสองฝ่ายอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกร โดยได้รับความร่วมมือจากสภาวิศวกร และสภาสถาปนิก ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทย โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ได้แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (ระหว่างสถานีกลางดง – ปางอโศก) ช่วงที่ 2 ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 ระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร และแบ่งสัญญาจ้างออกเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาจ้างการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง สัญญาจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง และสัญญาจ้างเกี่ยวกับตัวรถ ในขณะที่รายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ช่วงกรุงเทพฯ – บ้านภาชี ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนช่วงบ้านภาชี – นครราชสีมา อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ภาพบรรยากาศการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 18 (18th Meeting of Joint Committee on Railway Cooperation between Thailand and China) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ

คืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง  กับความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน

คืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง  กับความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน

คืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง  กับความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน

คืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง  กับความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน

คืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง  กับความร่วมมือด้านรถไฟฟ้าระหว่างไทย-จีน