ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อเวลา13.00 น. วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดไทรงาม ต.นาตาล่วง อ.เมืองตรัง นายณัฐพงศ์ เนียมสม นายกเทศมนตรีตำบลนาตาล่วง จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายป้องกันการทุจริตภาคอาสาสมัครฯ ปี 2560 เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มีผู้เข้าร่วมในการประชุมในครั้งนี้จำนวน 100 คน เป็นเด็กนักเรียนจากโรงเรียนทิพยรัตน์วิทยา โรงเรียนวัดไพรสณฑ์ โรงเรียนวัดไทรงาม อสม. ชมรมผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ

 

 

ทั้งนี้ นายอิศร เอกพิศาลกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตจังหวัดตรัง (ปปช.ตรัง) กล่าวว่า การจัดอบรมครั้งนี้เพื่อให้นักเรียนและภาคประชาชนมาร่วมเป็นเครือข่ายกับ ปปจ.ในการป้องกันและปราบปรามทุจริต เป็นการชี้แจงให้ชาวบ้านได้รับทราบสถานการณ์การทุจริตของประเทศไทย และเน้นย้ำว่าเราทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไข ถ้าภาคประชาชนร่วมมือกันอย่างจริงจังก็สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างประเทศญี่ปุ่น หรือเกาหลี ซึ่งเชื่อมั่นว่าชาวบ้านมีการตื่นตัวและกล้าที่จะเข้ามาเป็นเครือข่ายกับ ปปจ.ในจังหวัดตรัง ซึ่งจะได้ร่วมมือตรวจสอบการทำงานของภาคราชการที่ทำงานโดยประชาชนแจ้งเข้ามาเกี่ยวกับเบาะแส คิดว่าในอนาคตการทำงานของภาครัฐจะมีการตรวจสอบจากภาคประชาชนมากขึ้น

สำหรับแนวโน้มการทุจริตในปัจจุบันงานที่สามารถทุจริตของรัฐได้นั้นมีนักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการ ซึ่งทางท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้หัวหน้าราชการมีความเข้มงวดกวดขันในเรื่องนี้ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการคนไหนบกพร่องหัวหน้าส่วนราชการฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบ จากการติดตามฟังข่าวจากสื่อท้องถิ่นอาจจะมีโครงการหลายโครงการไม่ประสบผลสำเร็จหรือทำแล้วทิ้งงาน คิดว่าถ้ามีเบาะแสเพิ่มเติมแจ้ง ปปจ.จะเข้าไปติดตามดำเนินการในเรื่องเหล่านี้ เพื่อจะแจ้งส่วนงานที่เกี่ยวข้องว่าจะต้องดูแลเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง

ในส่วนของโครงการตำบลละ 5 ล้านจากการที่ได้ติดตามเบื้องต้นที่ผ่านมาอาจจะมีบ้างเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องไม่ผ่านประชาคม หรือทำงานไม่ตรงสเป็ก ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยตามวงเงิน ได้มีหนังสือแจ้งยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอเพื่อให้กลับไปดูโครงการตามที่รับร้องเรียนมาว่ามีผลดำเนินการเป็นอย่างไร ถ้ามีลักษณะเกี่ยวกับการทุจริตก็ได้มีการแจ้ง ปปท.ได้รับเรื่องไปดำเนินการซึ่งที่ผ่านมามีหลายเรื่องอยู่เหมือนกัน สำหรับโครงการร้องเรียนตำบลละ 5 ล้าน เป็นการร้องเรียนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งอำนาจการดูแลอยู่ที่ ปปท. เพราะเป็นข้าราชการต่ำกว่าซี 8 ไม่มีการร้องเรียนข้าราชการระดับซี 8 ขึ้นไป ที่ขึ้นกับ ปปจ.โดยตรง

ปปช.ตรัง จัดเวทีให้ความรู้ต่อต้านทุจริต แก่เยาวชน ประชาชน สร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นต่อต้านการทุจริต ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (มีคลิป)

สำหรับหน่วยงานราชการที่ชอบทิ้งงานอาคารก่อสร้างปกติโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการผู้ที่จะเข้าไปตรวจสอบโดยตรงคือ สตง. ปปจ.ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการเรื่องนี้ได้เว้นแต่มีการร้องเรียนทุจริต โครงการที่ยังสร้างไม่เสร็จไม่สามารถระบุว่าทุจริตได้เพราะยังไม่เสร็จสามารถยืดไปได้เรื่อย ๆ หลังจากทิ้งงานแล้วมีการร้องเรียนว่าทุจริตนั่นแหละ ปปจ. ถึงจะเข้าไปได้

จึงขอฝากไปยังข้าราชการในเรื่องสามัญสำนึกที่เอื้อผลประโยชน์ให้ผู้รับเหมา เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ประเทศไทยที่มีปัญหาในปัจจุบันถึงแม้จะมีหนังสือ หรือคำสั่งการแต่ผู้ปฎิบัติไม่ปฎิบัติตามกรอบแล้วก็จะเกิดปัญหาและที่ผ่านมาก็มีปัญหาในจุดนี้ ดังนั้นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่จะเข้ามาดูแลเรื่องนี้คือหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ ตั้งแต่ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนของจังหวัด ต้องมีสามัญสำนึกในการที่เกิดมารับใช้ประเทศชาติและประชาชนเป็นข้าของแผ่นดินจะต้องมีจิตสำนึกในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่งพิเศษกว่าคนไทยอีก 70 ล้านคน ที่ได้รับเงินเดือนทุกเดือน เกษียณอายุแล้วยังมีเงินบำนาญจนกว่าจะถึงแก่กรรม ผลประโยชน์ที่รัฐให้มากมายมหาศาล รัฐดูแลหมด ดังนั้นต้องพึงสังวรและควรตระหนักตลอดเวลาว่าบุญคุณที่ประเทศชาติให้นั้นขอให้ท่านมีจิตสำนึกในเรื่องนี้ช่วยดูแลผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเต็มที่

 

ปปช.ตรัง จัดเวทีให้ความรู้ต่อต้านทุจริต แก่เยาวชน ประชาชน สร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นต่อต้านการทุจริต ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (มีคลิป)

ถนอมศักดิ์ หนูนุ่ม สำนักข่าวภูมิภาค ทีนิวส์ จังหวัดตรัง