เกจิดังกรุงเก่า!! "หลวงพ่อโบ"เจ้าของฉายา น้ำมนต์เดือด เสกกันทีหลายโอ่ง วิชาทรายเสกก็เยี่ยม หว่านรอบบ้าน โดนลอบยิง กระสุนไม่ออก!!

ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่www.tnews.co.th

หลวงพ่อโบ วัดโคกหิรัญ ( วัดโคกบางชนี ) " เจ้าตำรับ น้ำมนต์เดือด เมืองกรุงเก่า "

สายวิชา " น้ำมนต์จินดามณี , ผงแป้งเสกผัดหน้า มหาเสน่ห์  " สายเมตตา เมืองกรุงเก่า ถ้าหากเราจะพูดถึงสายเมตตา มหานิยม ในอยุธยา เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึง หลวงพ่อโบ วัดโคกหิรัญ ( วัดโคกบางชนี ) " เจ้าตำรับ น้ำมนต์เดือด เมืองกรุงเก่า  "

หลวงพ่อโบเป็นพระที่มีบารมีมาก เป็นเกจิดังในแถบอำเภอบางบาลในอดีต เป็นที่กล่าวขานของชาวบ้างทั้งใกล้ไกล ในระหว่างที่หลวงพ่อโบยังมีชีวิตอยู่จะเป็นที่ยำเกรงของผู้คนเป็นอย่างมาก สิ่งที่หลวงพ่อห้ามหรือสิ่งที่ไม่ดีในวัด ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะกระทำ เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นภัยมากับตนเอง ทั้งที่หลวงพ่อท่านเป็นพระที่มีเมตตากับทุกคน ไม่ว่าเป็นใครมาจากไหน ท่านจะสงค์เคราะห์ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ

หลวงพ่อโบ ฐิติญาโณ นามเดิมของท่านคือ โบ นัยพิจารณ์ เป็นบุตรของพ่อเฮีย แม่ตุ่ม แซ่โค้ว อาชีพเดิมของบิดาท่านคือค้าขายข้าวทางเรือ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คนคือ

๑. นางจีน (สมรส) ภายหลังได้เสียชีวิต

๒. นางคำ ครองตนเป็นโสดตลอดชีวิต

๓. หลวงพ่อโบ ฐิติญาโณ

 หลวงพ่อโบ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ และได้อุปสมบทที่วัดโบสถ์ ต.บางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับฉายาทางธรรมว่า "  ฐิติญาโณ " 

ในระหว่างที่หลวงพ่อดำรงค์อยู่ในสมณเพศนั้น นอกจากจะศึกษาด้านพระธรรมวินัยและได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีลาจารวัตรที่ดีงามแล้วท่านยังได้สนใจศึกษาสรรพวิทยาทางโลกอีกด้วย ซึ่งในเวลานั้นการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่เจริญก้าวหน้าพอ มีผู้คนต้องล้มตายอันเนื่องมาจากการคลอดลูกบ้าง เป็นฝีในท้องบ้าง ซึ่งหลวงพ่อได้เห็นว่า วัดเท่่านั้น ที่เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวของผู้คน ท่านจึงตระหนักในหน้าที่ในความเป็นสงฆ์ของตนดีและจะต้องเป็นที่พึ่งของชาวบ้านในยามทุกข็ยาก หลวงพ่อจึงได้เสาะแสวงหาตำรับตำรายาสมุนไพรโบราณต่างๆ ดังมีรายละเอียดดังนี้

ได้เรียนหมอยาโบราณจากสมุดข่อยกับ ปู่มา หาศักดิ์ศรี (ศิษย์หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ)

( โยมปู่ของ หลวงพ่อเจือ วัดโคกหิรัญ เจ้าอาวาสต่อจากท่าน)

และได้เรียนปลุกเสกน้ำมนต์ทางคลอดลูกง่าย และทางค้าขายกับครูศรี บ้านขนมจีน ( อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุ.ธยา )ครูทิม จากจังหวัดสุโขทัย และครูแขก

หลวงพ่อโบได้ใช้วิชาความรู้ที่ได้่ร่ำเรียนมา ประสานกับความเชื่อมั่นในตนเอง ได้ทำการช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้คนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจากปากต่อปาก ตาต่อตา และจากวงใกล้ไปสู่วงไกล จึงทำให้กิตติศัพท์ของหลวงพ่อโบได้ขจรขจายเป็นที่เลื่องลือ

เกจิดังกรุงเก่า!! "หลวงพ่อโบ"เจ้าของฉายา น้ำมนต์เดือด เสกกันทีหลายโอ่ง วิชาทรายเสกก็เยี่ยม หว่านรอบบ้าน โดนลอบยิง กระสุนไม่ออก!!

เรื่องราวทรายเสกหลวงพ่อโบ

ครั้งหนึ่งลูกศิษย์ ของท่านถูกรังแก ก็มาฟ้องหลวงพ่อ ท่านเมตตาก็ทำทรายเสกไปให้ บอกให้ไปโรยรอบบ้าน เสร็จแล้วก็รดน้ำมนต์ให้ไป ลูกศิษย์คนนี้ก็กลับไปก็เอาทรายไปโรย ไว้รอบบ้านตามที่ท่านบอก

ต่อมาไม่นาน ก็มีกลุ่มคนที่คอยข่มเหง จะทำร้ายเอาปืนมายิงถึงบ้านสรุปปืนระเบิดยิงไม่ออก คนร้ายก็ถอยกลับไป อยู่มาได้ไม่นานก็มาอีกที่นี้ตั้งใจจะมาทำร้ายถีงในตัวบ้าน เพราะไปยืนยิงนอกบ้านปืนยิงไม่ออก ก็เข้ามาจะทำร้ายถึงในตัวบ้าน

ตอนเข้ามานั้นเป็นตอนมืดดึกสงัด ก็ลอบเข้ามาในตัวบ้าน แต่ผลปรากฏว่าตอนเช้า เจ้าของบ้านตื่นมาเจอ พวกเดิมที่มาทำร้ายนอนอยู่ที่ใต้ถุนบ้าน โดยที่เจ้าของบ้านก็รู้ว่าพวกนี้มีเจตนาจะมาทำร้าย แต่ก็ถามไปว่า

” มานอนทำไมที่นี้ ” แต่สิ่งที่ได้ยินคำตอบกลับมาคือ ” หลงอยู่ในป่า หาทางออกไม่เจอ” เสร็จแล้วก็วิ่งกระเจิงหนีไปจากใต้ถุนบ้าน หลังจากนั้นพวกนี้ก็ไม่กลับอีกเลย

อีกวิชาของท่าน คือ การทำผงแป้งผัดหน้า (เป็นผงที่ท่านใช้ทำพระ และใช้ผสมแป้งทาหน้า เวลาเข้าหาคน จะเป็นเมตตาชั้นสูง) เป็นเมตตา มหานิยม ซึ่งท่านใช้ผงนี้ใส่ในพระผงของท่าน เชื่อกันว่า ใครได้ผงแป้ง หลวงพ่อโบ หรือ มีพระผงหลวงพ่อโบ จะมีเมตตา มหานิยม เป็นที่รักใคร่ เมตตา ของคนทั้งหลาย

มีลูกศิษย์ของท่าน ทั้งเจ้าชู้ เป็นหลานแท้ๆของหลวงพ่อโบ วัดโคกหิรัญ หลวงพ่อโบให้คาถาขุนแผนชมตลาด ที่ไว้เสกแป้งผัดหน้าหนะ ตอนเรียนได้สาวหน้าแฉล้มๆเปลี่ยนหน้าทุกวัน ได้งานเข้าเป็นช่างที่การบินไทย ๔-๕ปีต่อมารวย ไม่แน่ใจว่าจากงาน หรือ แม่ยกสาวๆรวยๆก็ไม่รู้

มนต์จินดามณี

ศาสตร์วิชามนต์จินดามณี เป็นวิชาที่หลวงพ่อโบ ท่านจะใช้สำหรับทำน้ำมนต์ ของท่าน (ส่วนผงแป้งผัดหน้า ท่านจะใช้ปลุกเสกด้วยมนต์ ขุนแผนชมตลาด)

วิชาจินดามณี หลายท่านคงเคยได้ยินคุ้นหูสมัยเด็ก ในหนังสือ วรรณคดีเรื่องเงาะป่า เป็นวิชาที่เอามาจากเรื่องจริง ที่ครูบาอาจารย์ สืบทอดวิชากันมา เป็นวิชา ทางมหาลาภ เรียกคน เรียกเงิน เรียกทอง ทรัพย์สิน

หรือที่คนโบราณ เรียกกันว่า "...วิชาต่อลำไส้..." มีกินมีใช้ไม่มีหมด ไม่อดตาย ซึ่งส่วนใหญ่ในสมัยก่อน จะสืบทอดกันในสายฆราวาส เป็นส่วนใหญ่ ถูกจริตกับฆราวาส เพราะเกี่ยวกับ เรียกเงิน เรียกทอง เรียกคน เรียกของ เป็นวิชาให้คุณทางด้าน โภคทรัพย์

เกจิดังกรุงเก่า!! "หลวงพ่อโบ"เจ้าของฉายา น้ำมนต์เดือด เสกกันทีหลายโอ่ง วิชาทรายเสกก็เยี่ยม หว่านรอบบ้าน โดนลอบยิง กระสุนไม่ออก!!


 

ลูกศิษย์ของโบ จะเป็นพวกธุรกิจ ค้าขาย เจ้าสัว นายห้าง เถ้าแก่โรงสี พ่อค้าแม่ขาย ซะเยอะ น้ำมนต์จินดามณีของท่าน ทำให้พ่อค้า แม่ค้าธรรมดาๆ รวยเป็นเศรษฐี เป็นเจ้าสัว มานัก ต่อนักแล้ว

แต่สายบู๊ อย่าง ทหาร ตำรวจ ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านเยอะ ตำรวจแถบป่าโมก อ่างทอง สมัยก่อน ลูกศิษย์หลวงพ่อโบ ทั้งนั้น ถ้าลองไปถาม จะรู้ว่าเจอประสบการณ์ กันเยอะ ชาวบ้านแถวป่าโมก นับถือท่านกันมาก

เพราะวัดท่านเป็นเขตติดต่อ บางบาล-อยุธยา กับ ป่าโมก-อ่างทอง ชาวบ้านเขตโซนแถบนี้จะขึ้นกับท่านทั้งนั้น คนอ่างทอง(ป่าโมก) บางบ้านมีพระเครื่องของท่าน มากกว่าพระของอ่างทอง พระท้องถิ่นอีก

ชาวบ้านแถววัดสมัยก่อน หรือชาวเรือ ที่ใช้ น่านน้ำเจ้าพระยา ผ่านแถววัดโคกหิรัญ ในการสัญจร ไปมา (สมัยก่อนนิยมใช้เรือเดินทาง) เวลาใครจะล่องเรือผ่านหน้าวัด จะต้องหันหน้าไปทางกุฏิหลวงพ่อโบ พนมมือยกมือไหว้

พร้อมวักน้ำหน้าวัด มารดหัวเรือ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้านแถบนั้น ในสมัยก่อน ชาวบ้านจะนับถือท่านมาก

ช่วงก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ชาวบ้านต่างพากันไปนิมนต์ท่าน ให้มาทำน้ำมนต์ กันทุกบ้าน บางบ้านขอให้ท่านทำน้ำมนต์เก็บไว้เป็นโอ่งๆ เพราะชาวบ้านต่างนับถือในคุณวิเศษน้ำมนต์ของท่านมาก ..... กลัวว่าวันหนึ่งหากท่านไม่อยู่ จะไม่มีน้ำมนต์ของท่านไว้ใช้ บางบ้านทุกวันนี้ก็ยังเหลือน้ำมนต์ของท่านอยู่ก็มี เพราะขอให้ท่านทำให้หลายโอ่งมาก เก็บไว้เป็นตุ่มๆ เลย เก็บไว้กันอย่างดี

 จนชาวอยุธยา ตั้งสมญาให้ว่า ” เจ้าตำรับน้ำมนต์เดือด เมืองกรุงเก่า ”

หลวงพ่อโบ ได้ละสังขาร เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙ สิริรวมอายุได้ ๘๔  ปี ศพของท่านเก็บไว้เกือบ 20 ปี เพื่อให้คนที่ศรัทธา หรือ พระคณาจารย์ด้วยกัน ที่เคารพท่านได้มาสักการะศพ

 หลวงพ่อโบ ท่านเป็นพระอาจารย์ของ หลวงพ่อโก๊ะ วัดเก้าห้อง , หลวงพ่อเจือ วัดโคกหิรัญ

เกจิดังกรุงเก่า!! "หลวงพ่อโบ"เจ้าของฉายา น้ำมนต์เดือด เสกกันทีหลายโอ่ง วิชาทรายเสกก็เยี่ยม หว่านรอบบ้าน โดนลอบยิง กระสุนไม่ออก!!

ขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพและที่มาข้อมูล : พระเกจิอยุธยา