www.tnews.co.th

**สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญ พระพุทธนิรันตราย พระพุทธรูปสำคัญมาประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพิธีมหามงคลบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ พระลานพระราชวังดุสิต วันศุกร์ ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๘.๐๐ น.**

ครั้งหนึ่งในชีวิต! 9มิย.นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโอกาสให้ ประชาชนได้สักการะพระพุทธรูปโบราณ"พระนิรันตราย"สมบัติมงคลล้ำค่าของแผ่นดิน

ครั้งหนึ่งในชีวิต! 9มิย.นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโอกาสให้ ประชาชนได้สักการะพระพุทธรูปโบราณ"พระนิรันตราย"สมบัติมงคลล้ำค่าของแผ่นดิน

ครั้งหนึ่งในชีวิต! 9มิย.นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโอกาสให้ ประชาชนได้สักการะพระพุทธรูปโบราณ"พระนิรันตราย"สมบัติมงคลล้ำค่าของแผ่นดิน

พระพุทธนิรันตราย

พระพุทธนิรันตราย มีลักษณะเป็นพระพุทธรูป ๒ องค์ สร้างครอบกันไว้ องค์ในเป็นพุทธศิลปะแบบทวารวดี ปางสมาธิเพชร หล่อด้วยทองคำเนื้อหก หนัก ๗ ตำลึง ๑๑ สลึง หน้าตัก ๓ นิ้ว สูง ๔ นิ้ว ส่วนองค์นอกสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพุทธศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ ปางขัดสมาธิเพชรเช่นเดียวกับองค์ใน ครองผ้าแบบธรรมยุติ หน้าตักกว้าง ๕.๕ นิ้ว เบื้องหลังมีเรือนแก้ว เป็นพุ่มพระมหาโพธิ์

ตามประวัติเล่าว่า เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๙ มีผู้ขุดพบพระพุทธรูปทองคำที่ชายป่าแขวงเมืองปราจีนบุรี ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ ๓ เส้น จึงมอบให้ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ไปเก็บรักษาไว้ ณ หอเสถียรธรรมปริตร กับพระกริ่งทองคำองค์น้อย

ครั้นพุทธศักราช ๒๔๐๓ ได้มีคนร้ายเข้ามาขโมยพระกริ่งองค์น้อย ซึ่งตั้งอยู่กับพระทองคำองค์นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริว่า พระพุทธรูปทองคำเป็นทองคำทั้งแท่งใหญ่กว่าพระกริ่ง ควรที่คนร้ายจะขโมยพระพุทธรูปองค์นั้นไป ก็เผอิญให้แคล้วคลาดถึง ๒ ครั้ง จึงทรงถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระนิรันตราย อันมีความหมายว่า ปราศจากอันตราย

ครั้งหนึ่งในชีวิต! 9มิย.นี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโอกาสให้ ประชาชนได้สักการะพระพุทธรูปโบราณ"พระนิรันตราย"สมบัติมงคลล้ำค่าของแผ่นดิน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หล่อพระพุทธรูปด้วยทองคำตามพุทธลักษณะครอบพระนิรันตรายองค์เดิมอีกชั้นหนึ่ง กับทั้งให้หล่อด้วยเงินไล่บริสุทธิ์เป็นคู่กันอีกองค์หนึ่ง พระพุทธรูปที่หล่อด้วยทองคำนั้นไว้สำหรับตั้งบนโต๊ะเบื้องขวาแห่งพระแท่นมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ

ในปี ๒๔๑๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ช่างหล่อพระพุทธรูปพิมพ์เดียวกันกับพระพุทธรูปที่ครอบพระนิรันตราย โดยหล่อใหม่ด้วยทองเหลืองแล้วกาไหล่ทองคำ มีเรือนแก้วอยู่เบื้องหลัง จำนวน ๑๘ องค์ เท่ากับจำนวนปีที่เสด็จดำรงสิริราชสมบัติ และทรงพระราชดำริว่า จะทรงหล่อปีละองค์พร้อมกับพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาทุกปีไป โดยที่ทรงถวายพระนามพระพุทธรูปเก่าและใหม่ว่า พระนิรันตราย ทั้งสิ้น ภายหลังเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ช่างกาไหล่ทองคำพระพุทธรูปทั้ง ๑๘ องค์เสร็จสมบูรณ์ แล้วพระราชทานไปตามวัดพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังทรงสร้างพระราชทานพระอารามหลวงฝ่ายธรรมยุติกนิกายวัดละองค์ พระพุทธนิรันตรายจึงเป็นพระพุทธรูปสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีการอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายไปประดิษฐานในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีสงกรานต์ และการพระราชกุศลที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดขึ้น

 

ที่มา : Information Division of OHM