เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

           ไม้จันทน์หอมจัดเป็นไม้มงคลและมีค่ามาแต่โบราณเป็นหนึ่งในจตุชาติสุคนธ์ หรือ ของหอมธรรมชาติ 4 อย่างคือ ได้แก่ กลิ่นของกฤษณา กะลำพัก จันทน์ และดอกไม้หอม 

เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

           จันทน์หอม เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย จันทน์หอมเป็นไม้ต้น ผลัดใบ ความสูง 10-20 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ความกว้างของใบประมาณ 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจตื้น ๆ มีลักษณะเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบจักฟันเลื่อยตื้น ๆ มีเส้นโคนใบประมาณ 3-5 เส้น ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกเป็นสีขาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกประมาณอย่างละ 5 กลีบ โดยที่กลีบเลี้ยงยาวกว่ากลีบดอก ออกดอกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ส่วนผลเป็นผลปีกเดียวรูปกระสวย ความยาวของผลประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร มักออกผลเป็นคู่

เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

          เหตุผลที่ใช้ไม้จันทน์หอมในพระราชพิธี เพราะว่า ไม้จันทน์หอมเป็นไม้มีค่าหายาก จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง ที่ถูกนำไปใช้ในงานพระราชพิธีนับตั้งแต่สมัยโบราณยุคพุทธกาล โดยพบประวัติการใช้ไม้หอมในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนับแต่ยุคประวัติศาสตร์ตอนต้นสมัยอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ยังพบประวัติที่ระบุในจดหมายเหตุว่า ไม้จันทน์หอมเป็นเครื่องหมายบรรณาการที่สำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย และด้วยความที่เนื้อไม้จันทน์หอมจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เนื้อไม้แข็ง มีความละเอียด จึงนิยมนำไม้จันทน์มาสร้างพระรองประดับพระโกศ พระบรมศพ รวมทั้งใช้ทำฟืนหรือดอกไม้จันทน์ในพิธีพระราชทานเพลิงศพมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงว่า ไม่ว่าไม้จันทน์หอมจะเป็นหรือตาย ก็ยังคงมีความหอม ตามราชประเพณี ไม้จันทน์หอม ที่จะนำมาใช้ต้องเป็นต้นที่ยืนตายตามธรรมชาติ หรือ ตายพราย เท่านั้น เพราะการตายลักษณะนี้ จะยังมีกลิ่นหอมของต้นไม้อยู่ เพราะ ถ้าไม้จันทน์หอม ตายพราย น้ำมันของต้นไม้จะยังอยู่ข้างใน และจะมีกลิ่นหอมมาก วิธีสังเกตต้นที่ยืนตายตามธรรมชาติง่ายๆ ให้สังเกตรอบต้นจะต้องไม่มีรอยฟัน หรือรอยตัดที่ทำให้ตาย ใบจะรวงหมด แต่กิ่งก้านยังอยู่ครบ สีของต้นจะออกเทาๆ สีอ่อนลงจากเดิม เปรียบเหมือนคนที่ตอนมีชีวิตอยู่นั้นได้ทำความดีไว้มากมาย แต่เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้ว ความดีนั้นก็ยังคงอยู่ ขณะเดียวกัน ความหอมของไม้จันทน์ยังช่วยรักษาศพไม่ให้มีกลิ่นเหม็น โดยการเลือกต้นไม้ ต้องมีการทำพิธีให้ถูกต้องตามพระราชประเพณีด้วย

เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

           อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม้จันทน์หายากและมีราคาแพง จึงนิยมนำมาใช้เฉพาะในงานพระศพของราชวงศ์ชั้นสูงเท่านั้น ภายหลังกรมพระยาดำรงราชนุภาพจึงได้คิดค้นให้ใช้ไม้จันทน์ทำเป็นแผ่นบาง ๆ มัดเป็นช่อเรียกว่าดอกไม้จันทน์ เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงานศพได้นำไปวางที่เผาศพและนิยมใช้จนถึงปัจจุบัน

เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

  เปิดที่มา... "ไม้จันทน์หอม" ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวง ร.๙..จากไม้มงคลชั้นสูง สู่ "พระโกศจันทน์" ของมหาราชผู้ยิ่งใหญ่!!

      โดยในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งนี้ ได้คัดเลือกไม้จันทน์หอม ที่มีลักษณะเหมาะสม ยืนต้นตายตามธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จำนวน 12 ต้น แปรรูปเป็นไม้ขนาดต่าง ๆ จำนวน 1,461 แผ่น ส่งมอบให้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร นำไปจัดสร้าง พระโกศจันทน์ ฐานรองพระโกศจันทน์ ฟืนไม้จันทน์สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพ จำนวน 24 ท่อน และจัดทำช่อไม้จันทน์ 7 แบบ สำหรับพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร

ขอบคุณภาพจาก : PPTV