แม้นเป็นถึงพระมหากษัตริย์..ก็ยังต้องใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศ!! ในหลวง ร.๙ ผู้มีทศพิธราชธรรม..แบบอย่างในการใช้ชีวิตของปวงชนชาวไทย !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

แม้นเป็นถึงพระมหากษัตริย์..ก็ยังต้องใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศ!! ในหลวง ร.๙ ผู้มีทศพิธราชธรรม..แบบอย่างในการใช้ชีวิตของปวงชนชาวไทย !!

             ตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงสอน ให้เราน้อมนำเอาหลักธรรมมาใช้ประโยชน์ มิใช่เฉพาะตนเอง เมื่อตนเองประสบความสำเร็จแล้ว จะต้องนำองค์ธรรมไป เผยแพร่ให้คำแนะนำอบรมสั่งสอนแก่บุคลอื่น ทั้งใน ครอบครัว และในชุมชนสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เพื่อให้ครอบครัวชุมชนสังคมนั้นมีความเจริญ ก้าวหน้า ครอบครัวใด ชุมชนสังคมใดมีหัวหน้าและสมาชิก เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมแล้ว จะอยู่ร่วมกัน ด้วยความสุข สงบ สันติภาพ มีแต่ความเจริญก้าวหน้า หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ยังมีคุณค่า นำมาใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

 

แม้นเป็นถึงพระมหากษัตริย์..ก็ยังต้องใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศ!! ในหลวง ร.๙ ผู้มีทศพิธราชธรรม..แบบอย่างในการใช้ชีวิตของปวงชนชาวไทย !!

           แม้แต่พระมหากษัตริย์ของเรา ยังต้องใช้หลักธรรมในการครองประเทศ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลยังเป็นกษัตริย์...ผู้มีทศพิธราชธรรม ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็น พุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ตามประเพณีนิยมของชาวไทย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อครั้งนั้นว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" 

แม้นเป็นถึงพระมหากษัตริย์..ก็ยังต้องใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศ!! ในหลวง ร.๙ ผู้มีทศพิธราชธรรม..แบบอย่างในการใช้ชีวิตของปวงชนชาวไทย !!

หลักธรรมคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
มีทั้งหมด ๙ ข้อ ดังนี้
๑. ความเพียร 
๒. ความพอดี
๓. ความรู้ตน
๔. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้
๕. อ่อนโอนแต่ไม่อ่อนแอ
๖. พูดจริงทำจริง
๗. หนังสือเป็นออมสิน
๘. ความซื่อสัตย์
๙. การเอาชนะตน
       

            ความหมายของหลักธรรมคำสอนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช องค์ประกอบของหลักธรรมคำสอน
เนื่องในวโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ท่าน ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่พวกเราชาวไทยทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรง พระเจริญยิ่งยืนนานและตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณด้วยการพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ เป็นคนเก่งในวิชาอาชีพให้สามารถช่วยเหลือ ตนเองและครอบครัวได้บนรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดีมีศีล ธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความเกรงกลัวต่อบาป และละอายต่อบาป มีความคิดชอบปฏิบัติชอบ มีสติตั้งอยู่บนความไม่ประมาทอยู่เสมอ รวมทั้งทำตนให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและช่วย เหลือในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรือง ของประเทศชาติตลอดไป กลับสู่หน้าหลักบทความ ทันโลกทันธรรม 1

ต้นกำเนิดของหลักธรรมคำสอนประเภทของหลักคำสอนมีทั้งหมด ดังนี้

ข้อที่ ๑ จะทำอะไรต้องศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
ข้อที่ ๒ ระเบิดจากภายใน
ข้อที่ ๓ แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
ข้อที่ ๔ ทำตามลำดับขั้น
ข้อที่ ๕ ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ 
ข้อที่ ๖ ทำงานแบบองค์รวม 
ข้อที่ ๗ ไม่ติดตำรา
ข้อที่ ๘ ประหยัด
ข้อที่ ๙ ทำให้ง่าย
ข้อที่ ๑๐ การมีส่วนร่วม
ข้อที่ ๑๑ ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวม
ข้อที่ ๑๒ บริการที่จุดเดียว

ประเภทของหลักคำสอน
ผู้สืบทอดหลักธรรมคำสอนผู้สืบทอดหลัก ผู้ที่ทำให้หลักธรรมคำสอนนี้เกิดขึ้นมาจาก พระราชวโรกาส ที่สำคัญยิ่ง โดยพระราชทาน หลักธรรม คำสอนนี้เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ใช้ชีวิตที่มีหลักที่ดี เป็นการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้น ผู้ที่สืบทอดหลักธรรมคำสอนนี้ก็คือประชาชนชาวไทยทุกคน


 

แม้นเป็นถึงพระมหากษัตริย์..ก็ยังต้องใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศ!! ในหลวง ร.๙ ผู้มีทศพิธราชธรรม..แบบอย่างในการใช้ชีวิตของปวงชนชาวไทย !!

แนวทางในการนำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติตนใช้ในชีวิตประจำวัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเข้าพระทัยในหลักธรรมต่างๆ ในฐานะองค์พระประมุขของชาติจึงได้ทรงน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้เพื่อให้พสกนิกรดำเนินชีวิตอยู่ได้โดยมีความทุกข์น้อยมีความสุขมากตามสมควรแก่ฐานะพระองค์ท่านทรงให้ความสำคัญแก่ประชาชนคนไทยทุกรูปนามไม่ว่าจะเป็นเพศใดนับถือศาสนาใดมีวุฒิภาวะเพียงใด เสมอกันทั่วถ้วนหน้าผู้ใดที่ด้อยโอกาสในด้านใดก็จะทรงมีพระมหากรุณา ธิคุณช่วยเหลือให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีโอกาสผู้ที่มีโอกาสอยู่แล้ว ผู้ที่มีโอกาสและได้ประสบความสำเร็จก็จะทรงให้กำลังใจ เป็นไปตาม หลักธรรมที่เรียกว่า“พรหมวิหาร ๔” คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

หลักคำสอนของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อที่ ๑๓ ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
ข้อที่ ๑๔ ใช้อธรรมปราบอธรรม
ข้อที่ ๑๕ ปลูกป่าในใจคน
ข้อที่ ๑๖ ขาดทุนคือกำไร
ข้อที่ ๑๗ การพึ่งตนเอง
ข้อที่ ๑๘ พออยู่พอกิน
ข้อที่ ๑๙ เศรษฐกิจพอเพียง
ข้อที่ ๒๐ ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน
ข้อที่ ๒๑ ทำงานอย่างมีความสุข
ข้อที่ ๒๒ ความเพียร
ข้อที่ ๒๓ รู้ รัก สามัคคี

 

 

 

ที่มาจาก : https://prezi.com