ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 22 มิ.ย. 2560  ผู้ประกอบการโคราช เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมดิจิทัล ประสบความสำเร็จ ชูสินค้ากาแฟแปรรูป ที่เริ่มขยายช่องทางการผลิตเตรียมส่งออกต่างประเทศด้วยระบบออนไลน์ ชี้โครงการดีป้าทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เกิดความร่วมมือกัน นายโสภณ ผลประพฤติ หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวถึง โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็น 1 ใน 10 จังหวัดนำร่องว่า ขณะนี้วิทยากรอาสาได้ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการแล้ว ซึ่งแต่ละคนเริ่มสร้างกรณีศึกษาของผู้ประกอบการแต่ละราย จากนั้น นำระบบโปรแกรมที่ใช้งานไปถ่ายทอดและให้ผู้ประกอบการนำไปบอกต่อในชุมชน 

ซึ่งโครงการของทางดีป้านั้น มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ยอมรับว่า ช่วงแรกๆ ผู้ประกอบการยังไม่เข้าใจ ยังคิดว่าจะเป็นการขายตรงหรือไม่ อีกทั้งผู้ประกอบการในจังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าออฟไลน์เท่านั้น มีจำนวนน้อยมากที่สามารถจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์ได้ แต่โครงการของดีป้า ทำให้ชุมชนเห็นว่า ทุกคนในชุมชนต้องร่วมมือกันเพื่อให้เกิดรายได้ในชุมชน และสร้างความสามัคคี ไม่ใช่แก่งแย่งกันจำหน่ายสินค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องเดินสายไปจำหน่ายสินค้าตามสถานที่ต่างๆแล้ว แต่ผู้ประกอบการสามารถอยู่กับที่ และพัฒนาสินค้าให้ดี ก็สามารถจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้ และผู้บริโภคก็เข้าถึงและรู้จักสินค้านั้นเป็นอย่างดีได้ด้วย เพราะโครงการนี้ ยังช่วยสร้างเรื่องราวที่มาของสินค้าเหล่านั้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ประกอบการและชาวบ้านในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพออกมาจำหน่าย เช่น การจำหน่ายข้าว ก็จะบอกเล่าเรื่องราว ให้เห็นถึงการคัดสรรเมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดมูลค่าของสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายของจังหวัดนครราชสีมา คือ ต้องการพัฒนาผู้ประกอบการให้ได้ถึง 400 ราย และเชื่อว่า จังหวัดนครราชสีมาประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน 

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย!! สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) สร้างคนพันธุ์ดิจิทัล ยกระดับสินค้าชุมชน แข่งขันในระดับอาเซียน-ตลาดโลก

 นายโสภณ กล่าวอีกว่า สินค้ากาแฟแปรรูปในตำบลดงมะไฟ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา นับเป็นสินค้ารายแรกของจังหวัดนครราชสีมาที่ประสบความสำเร็จ เพราะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ จีไอ และทำให้เกิดการบอกต่อ ขยายการปลูกกาแฟเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ว่างงานในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เกิดการท่องเที่ยวเยี่ยมชมสถานที่ปลูกกาแฟได้ โดยขณะนี้ สินค้าดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นตอนการทำรายละเอียดที่มาของสินค้าและสร้างเป็นเรื่องราว และเชื่อมต่อกับทางโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ของดีป้า จะทำให้ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อทางระบบออนไลน์ข้ามประเทศได้ ซึ่งเบื้องต้นผู้ประกอบการเตรียมเรื่องบรรจุภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมออกวางจำหน่าย และเริ่มมีการสั่งสินค้าเข้ามาจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสในการขยายการปลูกได้มากขึ้นด้วย ซึ่งนอกจากสินค้ากาแฟแปรรูปแล้ว ก็ยังมีน้ำพริก ผัดหมี่โคราช ผักหวาน ที่เริ่มกระจายสินค้าไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยลูกค้าก็สนใจสั่งซื้อผ่านโปรแกรมของทางดีป้าด้วย

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย!! สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) สร้างคนพันธุ์ดิจิทัล ยกระดับสินค้าชุมชน แข่งขันในระดับอาเซียน-ตลาดโลก

ในอนาคต เตรียมเดินหน้าโครงการโคราชเดย์แอนด์ไนท์ ออนไลน์มาร์เกตเพลส เพื่อให้สินค้าทั้งหมดของผู้ประกอบการ 400 ราย และวิทยากร 40 คน มารวมตัวกันในงานเพื่อจำหน่ายสินค้า ให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการซื้อสินค้าเหล่านี้ มารวมตัวกันที่ศูนย์กลาง ซึ่งนอกจากนี้ ก็จะมีจำหน่ายสินค้าออนไลน์ด้วย โดยมีระบบขนส่งเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า หากให้ 10 จังหวัดนำร่องในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับร่วมกัน จะสามารถทำให้การจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย!! สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) สร้างคนพันธุ์ดิจิทัล ยกระดับสินค้าชุมชน แข่งขันในระดับอาเซียน-ตลาดโลก

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย!! สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) สร้างคนพันธุ์ดิจิทัล ยกระดับสินค้าชุมชน แข่งขันในระดับอาเซียน-ตลาดโลก

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย!! สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) สร้างคนพันธุ์ดิจิทัล ยกระดับสินค้าชุมชน แข่งขันในระดับอาเซียน-ตลาดโลก

พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย!! สนง.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(ดีป้า) สร้างคนพันธุ์ดิจิทัล ยกระดับสินค้าชุมชน แข่งขันในระดับอาเซียน-ตลาดโลก

ภาพ/ข่าว รมิตา สิงหเสรี  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  สำนักข่าวทีนิวส์  จังหวัดสุรินทร์