ก้าวสำคัญ !?!? “ไพรมารี่โหวต” ปฏิรูปการเมืองไทย ...แต่ทำไมนักการเมืองอ้างนู้นอ้างนี่ ทั้งๆที่ ส.ส. เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง (มีคลิป)

กลายเป็นปัญหาใหญ่เสียแล้วของบรรดาเหล่านักการเมือง ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศ แต่กลับไม่ยอมสร้างประชาธิปไตยในพรรค  ให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับ “ไพรมารี่โหวต”  ภายหลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีการผ่านกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง โดยให้แต่ละพรรคมีการดำเนินการจัดทำการคัดเลือกผู้สมัครจากสามาชิกพรรค ในแต่ละพื้นที่ด้วยตนเอง ถือเป็นนิมิตรหมายอันดี ก้าวแรกและก้าวสำคัญในการปฏิรูปการเมืองไทย 

แต่น่าแปลกใจ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งดูเหมือนจะได้รับผลประโยชน์เต็มๆในเรื่องนี้ กลับแสดงท่าทีไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าไพรมารี่โหวตสร้างสร้างปัญหาและความยุ่งยาก ถึงขั้นเขียนจดหมานเปิดผนึก ร่ายยาวกว่า7 หน้ากระดาษกันเลยทีเดียว 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก ถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)  ซึ่งสาระสำคัญในจม. ระบุว่า..
ไพรมารี่โหวต มีข้อจำกัดด้วยเหตุผลที่สำคัญสองประการ คือ ความไม่แน่นอนของการมีการเลือกตั้งทั่วไปหรือการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งจะต้องจัดขึ้นภายในระยะเวลาค่อนข้างสั้น และกลไกการทำงานของระบบรัฐสภาต้องอาศัยพรรคการเมืองเป็นสถาบันในการรวบรวมผู้มีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกันดำเนินงานในสภาผู้แทนราษฎรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพของการทำงานของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล 
ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ไม่เห็นประโยชน์ในระบบไพรมารี่  แต่สนใจที่จะทุ่มเทในเรื่องของการชนะการเลือกตั้งและการควบคุมสมาชิกพรรคมากกว่า จึงเห็นว่ามีปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่น 

1) การจะมีฐานสมาชิกที่กว้างขวางยังเป็นเรื่องยาก แม้จะได้รับสิทธิในการมีส่วนร่วมต่างๆ 

  2.ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสาขาพรรคและสำนักงานใหญ่ของพรรคมีจำนวนมากแต่กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองรวมทั้งกฎหมายใหม่ กลับมีข้อจำกัดมากขึ้นในการจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 

3) จากพื้นที่ใดยังไม่มีความแข็งแกร่งก็จะมีสาขาพรรคที่อ่อนแอหรือถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้บริหารสาขาพรรคนั้นให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ทำให้การสนับสนุนคนนอก คนใหม่จากวงการอื่นๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เข้ามาสู่การเมืองยากขึ้น 

และ4) จากการที่พรรคฯ ได้ทดลองดำเนินการเมื่อประมาณปีพ.ศ.2556 ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น  ปรากฏว่า ผู้ที่มาใช้สิทธิ์และผู้ที่ได้รับชัยชนะมีคะแนนเสียงจำนวนค่อนข้างน้อย โดยกลับเป็นการสะท้อนความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะระดมคนใกล้ชิดของตัวเองให้มาลงคะแนนได้มากกว่า พรรคจึงยังไม่พอใจต่อผลการทดลองที่เกิดขึ้น

ดังนั้น สิ่งที่มองเห็นก็คือหากกฎหมายที่ร่างอยู่มีผลบังคับใช้ พรรคการเมืองต่างๆ ก็ต้องปฏิบัติไปตามบทบัญญัติตามตัวอักษร แต่ความคาดหวังว่าจะทำให้ประชาชนและสมาชิกของพรรคการเมืองมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของพรรคการเมืองสามารถคัดบุคคลที่มีคุณภาพอย่างที่ผู้ร่างต้องการก็คงจะไม่เกิดขึ้น
ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้มีข้อเสนอดังต่อไปนี้
1)การให้ความสำคัญเบื้องต้นกับการที่พรรคการเมืองจะต้องมีฐานสมาชิกกว้างขวาง เพื่อสามารถมีส่วนร่วมและใช้สิทธิ์ได้โดยอาจจะต้องทบทวนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการชำระเงินค่าบำรุงพรรคหรือมีบทเฉพาะกาล ทอดเวลาการบังคับใช้ในเรื่องการชำระเงินค่าบำรุงหรือการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นหรือทั้งสองเรื่อง

2) การเน้นบทบัญญัติให้การสนับสนุนการมีสมาชิกพรรคการเมือง และการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองโดยรัฐต้องพร้อมที่จะจัดสรรเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองในเรื่องของการบริหารงานของพรรคการเมืองมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างมากเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง และบังคับให้การได้มาซึ่งผู้บริหารพรรคจะต้องมีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยจากฐานราก เพื่อมิให้เกิดการครอบงำพรรคการเมืองจากคนจำนวนน้อย

3) หากยืนยันให้มีการจัดการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นก็ควรให้ กกต.และรัฐให้การสนับสนุนตลอดจนอำนวยความสะดวกในเรื่องของหน่วยเลือกตั้งการดูแลจัดการการเลือกตั้งทั้งหมดเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคการเมืองทั่วประเทศสามารถมาลงคะแนนได้อย่างสะดวก

4)ในกรณีที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ไม่มากหรือในกรณีที่มีเหตุผลเกี่ยวกับความเหมาะสมในเรื่องของอุดมการณ์ ความซื่อสัตย์สุจริตความรู้ความสามารถ ควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจนให้อำนาจคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครหรือคณะกรรมการบริหารพรรคกลั่นกรองตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามความเหมาะสมได้

5)ยกเลิกการใช้ระบบการลงคะแนนเสียงเบื้องต้นในการจัดลำดับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อแต่ควรกำหนดให้บัญชีรายชื่อดังกล่าวต้องมีความหลากหลายในเรื่องภาพสัดส่วนหญิงชาย เป็นต้น
 

ขณะที่นาย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และแกนนำพรรคเพื่อไทย ได้กล่าวถึงไพรมารีโหวตว่า ..จะทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกกันเอง ภายในพรรคการเมืองต่างๆ เกิดการแบ่งเป็นกลุ่มก๊วนที่กระจัดกระจายขัดแย้งเอง โดยเฉพาะในกรรมการบริหารพรรค และการกำหนดผู้ลลงสมัครทั้งแบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ จะไม่สะท้อนความนิยมของประชาชน แต่จะเป็นเรื่องของสมาชิกจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น และพรรคเล็กๆอยู่ได้ยากมาก ส่วนพรรคการเมืองใหญ่ๆ จะเป็นไปด้วยความขัดแย้ง จนทำอะไรไม่ได้ อีกส่วนที่คนไม่พูดกันในกฎหมายพรรคการเมืองคือ การกำหนดเงื่อนไขในการทำให้เสนอ นโยบายอะไรได้ยากมาก และจะทำให้ประชาชนไม่เห็นความแตกต่างนโยบาย และจากแนวทางที่เข้ากำหนด ส่วนเรื่องของการวันเลือกตั้ง จะแตกต่าวกันตรงนี้ ถ้าเลื่อนการเลือกตั้งแล้วเมื่อไหร่ ผู้มีอำนาจหล่านี้ต้องหาช่องทางตามรัฐธรรมนูญที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ผลออกมาอย่างเดียวกัน


ทรามกลางสายตานักการเมือง ที่ไม่ได้มองว่า “ไพรมารีโหวต” เป็นระบบที่ช่วยแก้ไขปัญหา ที่เปิดโอกาสให้บรรดาสมาชิกพรรคได้มีส่วนร่วมในการคัดสรรตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.  ซึ่งจะทำให้ได้ตัวผู้สมัคร ที่มีคุณสมบัติ เป็น ' น้ำหนึ่ง ' โพยเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง  แต่กลับมองว่า “ไพรมารี่โหวต”คือตัวปัญหา ขัดขว้างการขึ้นสู่อำนาจ


แตกต่างกับ นายประสาร มฤคพิทักษ์ ที่มองว่าไพรมารีโหวตเป็นเส้นแบ่งหรือเป็นจุดคานงัดสำคัญของการปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย เป็นหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม

นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้กล่าวว่า..ขอแสดงความเห็นว่าพรรคการเมืองเป็นองค์กรประชาธิปไตยแต่ไม่ยอมมีประชาธิปไตยภายในพรรคเพราะอยู่กับระบบทุนอุปถัมภ์มาตลอด ไพรมารีโหวตเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหานี้ เป็นการเคารพสมาชิกด้วยการคืนอำนาจให้สมาชิกพรรคได้กำหนดชะตากรรมพรรคด้วยตัวเอง     อย่าบอกว่าเป็นกฏหมายที่เขียนโดยคนไม่มีประสบการณ์เพราะคนที่จัดเจนจากสนามเลือกตั้งอย่างคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม คุณอลงกรณ์ พลบุตร ต่างก็สนับสนุนอย่างแข็งขันแม้แต่คุณอนุทิน ชาญวีรกูลหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยก็ต้อนรับวิธีการนี้

ตนเห็นว่าไพรมารีโหวตเป็นเส้นแบ่งหรือเป็นจุดคานงัดสำคัญของการปฏิรูปพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย มันเป็นหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของพรรคที่จะต้องออกมาจากพื้นที่อันคุ้นเคยแบบสะดวกได้สบายดีอย่างเก่าไปสู่การสร้างพรรคแบบมีส่วนร่วมจริงๆ ไม่ใช่เพียงอาศัยให้ไปลงบัตรในฤดูเลือกตั้งเท่านั้น จะเอาหรือไม่เอาไพรมารีโหวตจึงเป็นหมุดหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงพรรคที่สำคัญ
    
 "ถ้าพรรคการเมืองบอกว่า ไพรมารีโหวตทำไม่ได้ ปฏิบัติยาก ก็ควรเสนอมาว่า พรรคการเมือง'จะไปให้พ้นจากระบบ นายใหญ่ชี้นิ้ว เถ้าแก่สั่งการ หรือ กลุ่มก๊วนบัญชาการได้อย่างไร 'หรือว่าจะย่ำรอยเท้าเดิมอย่างที่เคยเป็นมา"
         

ทั้งนี้ด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ในฐานะ ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ได้พูดในรายการ “สนธิญาณ ฟันธงตอบ” ยืนยันว่า ไพรมารีโหวต เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้จริง มาเพื่อช่วยปลดแอดให้กับนักการเมือง