พูดกันไปแต่ไม่พูดเรื่องสำคัญ !?!? “ไพรมารี่โหวต” ขจัดวงจรอุบาทว์ ดูชัดๆ สิ่งที่การเมืองไทยมีปัญหา (มีคลิป)

เป็นประเด็นร้อนฉ่าทางการเมืองสำหรับกรณีไพรมารี่โหวตซึ่งความขัดแย้งได้บานปลายออกไปเป็นหลายฝั่งหลายฝ่าย แน่นอนละครับฝ่ายแรกเป็นบรรดานักการเมืองทั้งหลายที่คัดค้านกันอย่างเต็มที่ ส่วนอีก 3 ฝ่ายที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้แก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช) 
นี่ก็กลายมาเป็นประเด็นเมื่อนายมีชัยฤชุพันธุ์ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
ได้ออกมาแสดงความเห็นเรื่องไพรมารี่โหวตที่มีน้ำหนักไปทางพรรคการเมืองที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติยาก และที่สำคัญนายมีชัยถึงกับระบุว่า ถ้าร่างกฎหมายนั้นส่งผลทำให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งไม่ได้ หรือทำให้การเลือกตั้งทำไม่ได้หรือการเลือกตั้งมีปัญหาถ้าเป็นแบบนี้คงจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า

“นอกจากปัญหาในทางปฏิบัติของพรรคการเมืองขนาดเล็กแล้วแม้แต่พรรคใหญ่ก็มีปัญหาจะนำเงินและเวลาที่ไหนไปทำไพรมารีโหวตซึ่งอาจจะนำไปสู่การส่งผู้สมัครลงไม่ได้ทำให้การเลือกตั้งไม่ราบรื่นหรือการเลือกตั้งที่เป็นไปไม่ได้ก็ถือว่าขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญเพราะกฎหมายต้องออกมาให้มีการเลือกตั้งทั้งนี้หากมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วมผมจะไปเป็นกรรมาธิการเองซึ่งรวมถึงร่างพ.ร.ป.กกต. ด้วย”

นายมีชัยกล่าวว่านอกจากนี้ในส่วนของกกต. ก็เสี่ยงที่จะปฏิบัติขัดรัฐธรรมนูญด้วยเพราะเท่าที่ฟังคำชี้แจงของตัวแทนกกต. ไม่มีมาตรการรองรับแต่ถูกสั่งมาให้บอกว่าไม่มีปัญหาพอซักถามก็ตอบไม่ได้กรธ. จึงต้องมาศึกษาเองเพราะไม่เพียงแต่จะมีปัญหาในทางปฏิบัติแต่จะเป็นเรื่องการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญด้วยเช่นเรื่องที่กกต. จะเป็นผู้ให้ใบเหลืองใบแดง

กรณีที่มีการร้องเรียนว่ากระบวนการไพรมารีโหวตไม่ถูกต้องเพราะหากกกต. มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบระบบไพรมารีโหวตได้โดยอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งทั่วไปก็จะนำไปสู่การกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญเนื่องจากหากเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งแต่กกต. ไม่จัดเลือกตั้งเองในส่วนไพรมารีโหวตจะให้คนอื่นจัดการเลือกตั้งได้อย่างไรเพราะกกต. ก็บอกว่าการจัดหน่วยเลือกตั้งไพรมารีโหวตเป็นภาระของพรรคการเมืองไม่ใช่กกต. ก็ถือว่าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการจัดเลือกตั้งทั่วไปซึ่งเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งในวิธีคิดของกกต. เองโดยสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่กรธ. พยายามถามกกต. แล้วแต่ตอบไม่ได้กรธ. จึงต้องพิจารณาเอง

ก็กลายเป็นประเด็นร้อนสำหรับคำให้สัมภาษณ์ของนายมีชัยฤชุพันธุ์เพราะได้ไปพาดพิงกกต. ทำให้นายสมชัยศรีสุทธิยากรกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารกลางได้ออกมาตอบโต้ทันทีว่าการที่นายมีชัยที่ออกมาระบุว่า กกต.ถูกสั่งให้ตอบว่าร่างกฎหมายพรรคการเมือง ว่าด้วยไพรมารีโหวตนั้นไม่ขัดรัฐธรรมนูญว่าพรรคการเมืองขนาดกลางและเล็กคงไม่อยากทำไพรมารีโหวตเพราะไม่มีสาขาพรรคทุกจังหวัดสมาชิกไม่พอและไม่มีต้นทุนในการจัดการพรรคการเมืองขนาดใหญ่คงไม่อยากทำแม้จะมีสาขามีเงินทุนเพราะเป็นภาระทางธุรการและเป็นการลดทอนอำนาจของเจ้าของพรรคหรือกรรมการบริหารในส่วนกลาง ไม่สามารถชี้ตัวคนลงเลือกตั้งได้แต่ต้องฟังจากเสียงประชาชนในพื้นที่ 
นายสมชัยกล่าวอีกว่าส่วนกกต.ก็คงไม่อยากให้มีไพรมารีโหวตเพราะเป็นการเพิ่มขั้นตอนมีความยุ่งยากในการทำความเข้าใจลำบากในการกำกับ และยังต้องตรวจสอบว่าการทำไพรมารีของพรรคเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ แต่หากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช)ผ่านร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองให้มีไพรมารีโหวตกกต.จึงบอกว่าพร้อมน้อมรับปฏิบัติแต่คนที่คัดค้านกลับกลายเป็นกรธ.โดยยกประเด็นว่าหากมีไพรมารีโหวตพรรคอาจจะส่งผู้สมัครไม่ได้ทั้งๆที่เป็นฝ่ายชูธงการปฏิรูปการเมืองมาโดยตลอดจนมีวาทะจะปฏิรูปก็ต้องเจ็บปวดบ้างคราวนี้กลับแปลกว่าไปเจ็บปวดแทนพรรคการเมืองห่วงพรรคการเมืองจะลำบาก
หากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช)ผ่านร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองให้มีไพรมารีโหวตกกต.จึงบอกว่าพร้อมน้อมรับปฏิบัติแต่คนที่คัดค้านกลับกลายเป็นกรธ.โดยยกประเด็นว่าหากมีไพรมารีโหวตพรรคอาจจะส่งผู้สมัครไม่ได้ทั้งๆที่เป็นฝ่ายชูธงการปฏิรูปการเมืองมาโดยตลอดจนมีวาทะจะปฏิรูปก็ต้องเจ็บปวดบ้างคราวนี้กลับแปลกว่าไปเจ็บปวดแทนพรรคการเมืองห่วงพรรคการเมืองจะลำบาก

นายสมชัยกล่าวด้วยว่า "กรธ. พยายามเอากกต.เป็นพวกอยากเอาคำพูดของกกต.ว่าจัดไม่ได้จัดลำบากเพื่อมาล้มไพรมารีโหวตของสนช. พอเจ้าหน้าที่กกต.บอกในทางตรงข้ามว่าทำได้ก็ขัดใจหาว่าเจ้าหน้าที่ถูกกกต.บังคับให้พูดเมื่อเขายืนยันว่าทำงานได้ทำไมต้องไปบอกว่าถูกกกต.สั่งให้พูดหากคิดว่าสิ่งที่ผมคิดเท่านั้นถึงถูกวันหลังก็อย่าร่างรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายลูกต้องผ่านความเห็นชอบจากสนช.ให้ยุ่งยาก"

การที่นายสมชัยตอบโต้นายมีชัยอย่างรุนแรงก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าการที่ทั้ง 3ฝ่าย คือกกต. กรธ. และสนช. ต้องทำงานร่วมกันต่อไปในการที่จะทำให้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งออกมาบังคับใช้ด้วยนั้นจะราบรื่นไปได้อย่างไร 
น่าแปลกใจเถียงกันแต่เรื่องการปฏิบัติแต่ไม่ได้พูดกันถึงการแก้ไขปัญหาที่นายทุนหรือเจ้าของพรรคการเมืองกุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แล้วใช้อำนาจนั้นไปแสวงหาประโยชน์ในการทุจริตคอรับชั่นจนกลายเป็นวงจรอุบาทว์ทำให้การเมืองไทยมีปัญหาจนประชาชนต้องเรียกร้องให้มีการปฏิรูปก็ล้วนมาจากพรรคการเมืองทั้งสิ้น