ผ่านฉลุย!!! ปฏิรูปสื่อโซเชียล...ลงทะเบียนต้องสแกนลายนิ้วมือ-ใบหน้า ควบคู่กับบัตรประชาชนด้วย!?! (เจอดี)

ผ่านฉลุย!!! ปฏิรูปสื่อโซเชียล...ลงทะเบียนต้องสแกนลายนิ้วมือ-ใบหน้า ควบคู่กับบัตรประชาชนด้วย!?! (เจอดี)

วันที่ 3 กรกฎาคม 2560 ที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีมติเห็นชอบรายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เรื่อง ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิรูปการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) ด้วยคะแนนเสียง 144 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 147 คน สำหรับรายงานดังกล่าว กมธ. ได้มีการเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการระดับชาติ ทำหน้าที่จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนแม่บท และนโยบายเกี่ยวกับการรณรงค์ส่งเสริมการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 

ทั้งนี้ในรายงานผลการศึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิรูปการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) อธิบายว่า ปัจจุบันสื่อออนไลมีอัตราเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่กลับมีการใช้ที่ไม่เหมาะสม ขาดความรู้เท่าทันสื่อ ขาดความเข้าใจในการใช้สิทธิเสรีภาพบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม หรือขาดมาตรฐานจริยธรรมในการใช้สื่อออนไลน์ กอปรกับขาดประสิทธิภาพในการกำกับดูแลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลกระทบต่อสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสถาบันหลักของประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในปี 2562 และในระยะยาว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

 

ซึ่งประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงในการปฏิรูปการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) ครั้งนี้ ประกอบด้วย การใช้หมายเลขบัตรประชาชนยืนยันตัวตนในการใช้สื่อออนไลน์, การจัดระเบียบการลงทะเบียนมือถือใหม่โดยสนับสนุนให้ กสทช. ใช้ลายนิ้วมือ-ใบหน้า ควบคู่กับการลงทะเบียนด้วยบัตรประชาชน, การเสนอให้ กสทช. เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ, เสนอให้มีเทคโนโลยีตรวจสอบใบหน้า ข้อความ รูปภาพ คลิปเสียงออนไลน์ทุกประเภท รวมถึงเสนอให้รัฐบาลผลิตโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเองแทนของต่างชาติ 

ผ่านฉลุย!!! ปฏิรูปสื่อโซเชียล...ลงทะเบียนต้องสแกนลายนิ้วมือ-ใบหน้า ควบคู่กับบัตรประชาชนด้วย!?! (เจอดี)

อ่านเพิ่มเติม เรื่อง "ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิรูป การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media)"