ต้องแบบนี้-ทุกอย่างเดินหน้าแน่!! เผย "บิ๊กตู่" พร้อมงัด ม.44 ปฏิรูปตร.ถ้าจำเป็น-ให้งานลุล่วง เชื่อ"พล.อ บุญสร้าง" ไม่ทำให้ผิดหวัง 

ติดตามข่าวสารที่ www.tnews.co.th

 

ต้องแบบนี้-ทุกอย่างเดินหน้าแน่!! "วิษณุ" เผย "บิ๊กตู่" พร้อมงัด ม.44 ปฏิรูปตร.ถ้าจำเป็น-ให้งานลุล่วง เชื่อ "พล.อ บุญสร้าง" เต็มไปด้วยประสบการณ์ และจับงานลักษณะนี้มาตลอด ไม่ทำให้ผิดหวังแน่ 


วันนี้ (7 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการปฎิรูปประเทศเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม โดยชี้แจง 3 ประเด็น ถึงที่มาที่ไปของคณะกรรมการ และการทำงานธุรการว่าจะทำอย่างไร รวมถึงประเด็นเนื้อหาสาระการปฎิรูป โดยนาย วิษณุ ชี้แจงกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสัดส่วนตำรวจที่มีมาก ว่า เป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญล็อคเสป็กไว้แล้ว ว่าจะต้องมีตำรวจเท่ากับผู้ที่ไม่เป็นตำรวจคือมีตำรวจ 15 คน พลเรือน 15 คน ซึ่งหากจะตั้งพลเรือน 20 คนก็ไม่ได้คือหากตั้งเกินไปจำนวนเท่าใด ตำรวจต้องมีจำนวนเท่านั้น เพราะฉะนั้นสัดส่วนต้องเท่ากันตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ ตามโครงสร้างที่รัฐธรรมนูญล็อคไว้ โดยที่ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ในสัดส่วนพลเรือนที่มีความเข้าใจเรื่องความมั่นคงและโครงสร้าง ซึ่งได้ติดต่อไปหลายคน เพียงแต่เมื่อถูกบีบด้วยระยะเวลาในการทำงาน บวกกับบางคนมีปัญหาสุขภาพ คนดี ดัง ที่สังคมคิด นาย วิษณุกล่าวว่ารัฐบาลได้ทาบทามไป 


แต่หลายคนมีปัญหาเรื่องการทำงานจึงขอไม่รับตำแหน่ง ขอเป็นเพียงที่ปรึกษา และที่สุดมาจบที่ชื่อ พล.อ บุญสร้าง ที่มีความเข้าใจเรื่องความมั่นคง การจัดระเบียบองค์กรและโครงสร้าง เพราะพล.อ บุญสร้างทำงานนี้มาตลอด มีตำแหน่งสุดท้ายเป็นผบ.สส  จบการศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมจาก MIT เชื่อว่า พล.อ บุญสร้างจะมีความเข้าใจ และเข้ามานั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฎิรูปตำรวจได้ โดยมีกรรมการ 5 คนตามตำแหน่งที่รัฐธรรมนูญล็อคไว้คือ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย อัยการสูงสุด และ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และนอกนั้นเป็นตำรวจอีก15คน และพลเรือนอีก15คน "ขออย่าวิพากษ์วิจารณ์ให้เกิดปัญหาความร้าวฉานว่าเอาทหารมาปฎิรูปตำรวจเลย มันไม่ใช่ กรรมการที่ไม่ใช่ทหารยังมี และเป็นเสียงข้างมาก เป็นครูบาอาจารย์ เป็นนักวิชาการ ของแบบนี้ไม่มีใครยอมใครกันหรอก"
     

นาย วิษณุ เครืองาม กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องทางธุรการ คณะกรรมการจะประชุมนัดเเรกในวันที่12กค.สำหรับสถานที่ประชุมจะหมุนเวียนไปตามความสะดวก คือครั้งแรกจะมีการประชุมที่กองบัญชาการกองทัพไทย จากนั้นจะประชุมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล  สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พร้อมกันนี้คณะกรรมการอาจเดินทางไปดูสถานที่เพื่อเผชิญสืบ นอกจากนี้ที่ประชุมวันที่12กค.นี้จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการ ซึ่งหนึ่งในคณะอนุกรรมการจะมีคณะอนุกรรมการชุดรับฟังความเห็น โดยจะเชิญอดีตอตร.และผบ.ตร ทุกคนมาให้ความเห็นต่อคณะอนุกรรมการ และรับฟังความเห็นจากข้าราชการตำรวจ สื่อมวลชน และประชาชนกลุ่มต่างๆ 


นอกจากนี้ นายวิษณุ ยังกล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้ตั้งให้ พล.ต.อ รุ่งโรจน์ แสงคร้าม รอง ผบ.ตร ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ ส่วนผู้ช่วยเลขานุการให้มาจากตำรวจ1คนและไม่ใช่ตำรวจอีก1คนซึ่งจะทำการเเต่งตั้งต่อไป ส่วนโฆษกคณะกรรมการเป็น ศจ.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีม.ธรรมศาสตร์ และจะตั้งผู้ช่วยโฆษกในการประชุมสัปดาห์หน้า
   

และเกี่ยวกับงานศึกษาวิจัยต่างๆเกี่ยวกับการปฎิรูปตำรวจที่มีทั้งจากสปช.สปท.สนช.และจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก.ยุติธรรม นั้นนายวิษณุกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกำชับให้นำรายงานทั้งหมด รวมถึงงานศึกษาวิจัยที่นาย.คณิต ณ.นคร ได้เคยทำไว้ รวมถึงชุดศึกษาของนพ.ประเวศ วสี นำมาสรุปให้สั้นเป็นหัวข้อแจกจ่ายกับคณะกรรมการเพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมต่อไป ส่วนเนื้อหาสาระในการทำงาน นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางว่า ขอให้ที่ประชุมให้ความสำคัญกับประเด็นใหญ่3ประเด็นคือ1.สังกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติควรขึ้นกับหน่วยงานใด เช่นกลับไปสังกัด กระทรวงมหาดไทย หรือ ไปสังกัดกระทรวงยติธรรม หรือ ขึ้นกับจังหวัด ท้องถิ่น หรือจะตั้งเป็นกระทรวง ทบวง รวมถึงอะไรที่ควรกระจาย ไม่ควรรวมศูนย์ไว้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่นตำรวจป่าไม้ ตำรวจรถไฟ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง นายกรัฐมนตรีให้ไปดูว่าควรจะเป็นอย่างไร
     

 

 

2.เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ให้ไปดูอำนาจการสอบสวนควรจะอยู่ที่เดิม หรือ จะแยก หรือจะจัดอย่างไร จะทำงาน และ ประสานงานกันอย่างไร ระหว่างตำรวจ มหาดไทย และ อัยการ และยังมีกรณีดีเอสไอ ควรจะทำงานประสานงานอย่างไร
     

3.การบริหารงานบุคคล การแต่งตั้งโยกย้าย การคัดคนเข้ามาเป็นตำรวจควรจะใช้ระบบอะไร รวมไปถึงหลักสูตรรร.นายร้อยตำรวจ การเลื่อนลดปลดย้าย การโอนเทียบตำรวจ และการจัดสรรพกำลัง รวมถึงเรื่องทางนิติวิทยาศาสตร์จะทำงานร่วมกันอย่างไรกับหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมโดยไม่ให้มีความขัดแย้ง  และนายกรัฐมนตรียังได้แจกข้อแนะนำถึงประเก็นการแต่งตั้งโยกย้ายว่าควรจะไปดูว่าจะให้ยึดอะไรเป็นเกณฑ์ระบบอาวุโสหรืออะไร และจะแบ่งเปอร์เซนต์สัดส่วนอย่างไรในการแต่งตั้งโยกย้าย โดยนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาเรื่องนี้ก่อนเป็นลำดับแรก คือให้ทำให้เสร็จก่อนภายในปีนี้ เพราะนายกรัฐมนตรีมองว่าหากเสร็จเร็วจะเป็นการดีจะได้ใช้เร็ว และนายกรัฐมนตรียังให้สูตร2-3-

 

4 สำหรับการปฎิรูปว่า2เดือนแรกให้ที่ประชุมพูดเรื่องปัญหาที่มีทั้งหมด อ่านรายงานวิจัยเก่าให้หมด  3เดือนถัดไป ให้ยกร่างกฎหมาย กำหนดกฎเกณ์ กติกาให้เสร็จ จากนั้น4เดือนถัดไป ให้รับฟังความคิดเห็น และปรับแต่ง เพิ่มเติมส่วนที่บกพร่อง ทั้งหมดจะเป็นเวลา9เดือนในการทำงานและคณะกรรมการจะหมดสภาพไป ซึ่งรัฐบาลจะปล่อยให้คณะกรรมการทำงานโดยอิสระ โดยที่จะไม่แทรกแซงก้าวก่าย 
    

สุดท้าย นายวิษณุ ระบุว่า นายกรัฐมนตรียังแสดงความเชื่อมั่น และฝากความหวังไว้กับคณะกรรมการ ว่าสิ่งใดที่ทำเสร็จก่อน ขอให้คณะกรรมการเร่งนำออกมาดำเนินการก่อน และหากจำเป็นจะให้นายกรัฐมนตรีใ ช้ม.44แก้กฎหมายบางประเด็นให้ก่อน นายกยินดี