อย่าชะล่าใจ!! อาการปวดหัว ถ้าเป็นบ่อย อย่าแค่ซื้อยาแก้ปวดมากิน เพราะนั่นเป็นสัญญาณที่มาของโรคต่อไปนี้

     เชื่อว่าใครหลายคนต่างต้องเคยมีอาการแบบนี้อยู่บ่อยๆ นั่งเฉยๆ ก็รู้สึกปวดหัว หัวเราะก็ชักจะปวดหัว ยิ่งต้องทำงานหนัก คิดเยอะ เครียด ก็ยิ่งทำให้ปวดหัวไปกันใหญ่ หรือในบางครั้งต้องเจอกับสภาวะที่กดดันมากๆ ก็ยิ่งปวดหัว ปวดตึ้บๆ ปวดหน่วงๆ เดี๋ยวปวด เดี๋ยวหาย ไม่สม่ำเสมอ บางคนก็แค่ซื้อยาแก้ปวดมากิน แต่รู้หรือไม่ว่านั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคต่างๆได้

     - ปวดหัวไมเกรน (Migraines)
     สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด ทราบว่าไม่มีความผิดปกติของโครงสร้างทางกาย (รวมทั้งสมอง) แต่ทุกครั้งที่กำเริบ จะมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดและกลไกทางประสาทภายในสมองและบริเวณใบหน้า กล่าวคือ หลอดเลือดภายในกะโหลกศีรษะหดตัว ในขณะที่หลอดเลือดภายนอกกะโหลกศีรษะ (เช่น ที่ขมับ) พองตัว และประสาทไวต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเจ็บปวด ทำให้มีอาการปวดศีรษะที่มีลักษณะจำเพาะและอาการต่างๆ ร่วมด้วย  โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่าประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นไมเกรนด้วย
     วิธีการรักษา : จะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของการปวดศีรษะ รวมไปถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งการรักษาบางชนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ที่ตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร และเด็ก โดยแพทย์จะหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้ป่วย

 ปวดหัวไซนัส (Sinusitis)
     อาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบมีความคล้ายคลึงกับอาการหวัดทั่วไปและอาการปวดหัวไมเกรนมากจนแทบแยกไม่ออก แต่สำหรับคนที่เป็นโรคไซนัสอยู่แล้วอาจคาดเดาไปก่อนได้ว่า ตัวเองน่าจะมีอาการปวดหัวจากผลกระทบของโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งโดยส่วนมากจะรู้สึกปวดหน่วงๆ บริเวณหน้าผาก ร้อนผ่าวกระบอกตาลามไปถึงโหนกแก้มเลยทีเดียว
     วิธีรักษา : โดยปกติแล้วหากรักษาโรคไซนัสให้หายเป็นปกติได้ อาการปวดหัวก็จะหายไปพร้อมกัน หรือบางรายที่อาการไซนัสไม่รุนแรง ร่างกายจะสามารถรักษาตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ

  

- ปวดหัวชนิดคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
     อาการปวดศีรษะในแต่ละครั้งจะเป็นช่วงเวลาไม่นาน ราว 5 นาที หรือสูงสุด 3 ชั่วโมง แต่จะรู้สึกปวดหัวแบบทรมานเหมือนจะตายเลยทีเดียว และอาการปวดจะเกิดขึ้นบ่อยแต่เป็นเวลาที่แน่นอน และมักจะมีอาการน้ำตาไหลข้างเดียวและมีเส้นเลือดแตกในตา ทำให้เกิดอาการตาแดง
     วิธีรักษา : อาการปวดหัวชนิดคลัสเตอร์สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้โดยใช้ยากลุ่มทริปเทนต์ (Triptan) หรือยารักษาโรคไมเกรน และการสูดดมออกซิเจน ขนาด 10 ลิตรผ่านหน้ากากให้ออกซิเจนก็ได้

     - ปวดหัวในช่วงรอบเดือน (Menstrual headaches)
อาการปวดหัวชนิดนี้สงวนสิทธิ์เพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นอาการปวดศีรษะในช่วงระหว่างมีรอบเดือน จะรู้สึกเหมือนเป็นไข้ทับระดู เป็นหนึ่งสัญญาณของอาการ PMS โดยอาการปวดหัวชนิดนี้จัดว่าเป็นไมเกรนอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดก่อนมีประจำเดือนหรือหลังเป็นประจำเดือนประมาณ 2-3 วัน
     วิธีรักษา : แพทย์แนะนำให้ผู้หญิงที่มักเกิดอาการ PMS อย่างรุนแรงทุกครั้งที่เป็นประจำเดือนรับประทานแมกนีเซียมเยอะๆ โดยอาจจะเลือกรับประทานแมกนีเซียมจากอาหาร เช่น กล้วย, อะโวคาโด, ถั่ว, เม็ดมะม่วง, โยเกิร์ต, เต้าหู้, ปลาทูน่า เป็นต้น หรือใครจะเลือกกินหาแมกนีเซียมในรูปแบบวิตามินก็ได้เช่นกัน

     - ปวดหัวจากฤทธิ์คาเฟอีน (Caffeine headache)
มีอาการปวดหัวตื้อๆ หนักหัวเหมือนร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ บางรายอาจมีอาการวิงเวียนศีรษะเพิ่มด้วยอีกอย่าง หรือไม่ก็รู้สึกปวดกระบอกตาตุบๆ ตลอดเวลา
     วิธีรักษา : นอกจากการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไป อีกทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ก็คือการลดปริมาณคาเฟอีน นั่นก็หมายความว่าต้องค่อยๆ ลดปริมาณกาแฟในแต่ละวันให้เหลือแค่ 2 แก้วต่อวันเป็นอย่างมาก

     - ปวดหัวเรื้อรัง (Chronic daily headache)
ปวดหัวติดต่อกันมากกว่า 15 วันต่อเดือน และปวดอย่างนี้เรื่อยๆ เกิน 3 เดือน ในบางรายอาจมีอาการไข้และปวดเมื่อยบริเวณคอและไหล่ร่วมด้วย
     วิธีรักษา : เริ่มแรกควรหยุดใช้ยาแก้ปวดที่กินเป็นประจำก่อน จากนั้นอาจรักษาโดยใช้ยาแก้อาการเศร้าซึม ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ เช่น อะทีโนลอล (Atenolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), โพรพาโนลอล (Propanolol) ซึ่งเป็นยาที่แพทย์ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคไมเกรน หรือยาแก้อาการชัก เช่น กาบาเพนติน (Gabapentin), โทพิราเมต (Topiramate) แม้กระทั่งยาแก้ปวดอย่าง นาโพรเซน (Naproxen) และการทำโบท็อกซ์บรรเทาอาการปวด

     - ปวดหัวอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน (Emergency headache)
ปวดหัวอย่างรุนแรงโดยฉับพลัน หน้ามืด และรู้สึกปวดหัวเหมือนหัวจะระเบิด บางรายมีไข้และความดันโลหิตสูงร่วมด้วย หรืออาการปวดเกิดขึ้นหลังจากได้รับแรงกระแทกบริเวณศีรษะ รวมทั้งภายหลังเคลื่อนไหวศีรษะเร็วและแรง อีกทั้งยังอาจปวดคอ เกิดอาการชาที่ใบหน้า ลิ้น และปาก จนส่งผลกระทบกับการพูด พร้อมทั้งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
     วิธีรักษา : เมื่อเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรงฉับพลัน วิธีที่ดีที่สุดคือรีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยด่วน โดยเฉพาะคนไข้ที่หมดสติไปแล้วด้วย

     - ปวดหัวจากความเครียด (Tension headache)
จะมีความรู้สึกปวดหนักๆ ที่ขมับทั้งสองข้าง เหมือนมีแรงดันจากภายในแต่ไม่ปวดแบบตุบๆ อาจเกิดตั้งแต่ระดับน้อย ปานกลาง และมาก หรือบางรายอาจรู้สึกปวดที่ต้นคอ หลัง และไหล่ร่วมด้วย
     วิธีรักษา : ในเบื้องต้นสามารถรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดจำพวกไทลินอล, แอสไพริน และไอบูโพรเฟนได้ หรือจะไปนวดคลายกล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ปริมาณยาแก้ปวดที่จะกินควรต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และเภสัชกรด้วยนะคะ 

     ***อย่าไรก็ตาม เราทุกคนต้องรุ้ว่าร่างกายของตัวเองกำลังมีสภาพเช่นไร ทนไหวไหม ควรสำรวจตัวเองด้วยว่า ตัวเองมีอาการแบบไหน บ่อยไหม เพื่อที่เวลาไปหาหมอจะได้อธิบายได้ถูกต้อง