นายใหญ่กระอัก! "สนช."ผ่านกม."ดักคอนักการเมืองขี้ฉ้อ-พวกโกงแล้วหนี" จากนี้ไม่นับอายุความ แถมจ่อใช้ปี60 แว่วๆ "สองศรีพี่น้องชินวัตร" ส่อกระอัก

ติดตามข่าวสารที่ www.tnews.co.th


นายใหญ่สะท้านแน่!! วานนี้ "สนช."  มีมติเอกฉันท์ 176 เสียง ผ่าน พรป.วิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการปฺวัติใหญ่กฎหมายนักการเมือง โดยให้ศาลรับฟ้องได้แม้ไม่มีตัวผู้ถูกกล่าวหา ที่สำคัญคือ ไม่ต้องนับเวลาที่ผู้ต้องหาหนีไปรวมกับอายุความที่ตัดสินแล้ว ฯลฯ โดยหลัง กม.ฉบับนี้ผ่านออกมา  มีกระแสเสียงแว่ว ๆ มาว่า "สองศรีพี่น้องชินวัตร" ส่อกระอัก เพราะตัวกฎหมายเข้มข้นมาก

 

นายสมชาย แสวงการ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของวร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มีเจตนาเพื่อบังคับใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะกฎหมายจะต้องบังคับกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ต้องบังคับใช้กับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับ รวมไปถึงบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระด้วย

ส่วนการกำหนดให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถไต่สวนลับหลังจำเลยได้ตามกฎหมายนั้น เพราะต้องการให้กระบวนการยุติธรรมในการตรวจสอบการทุจริตสามารถเดินไปได้ แม้ว่าจะไม่มีตัวจำเลยมาปรากฏตัวต่อศาลก็ตาม อย่างไรก็ตาม การไต่สวนคดีลับหลังจำเลยจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้หลบหนีภายหลังมีการออกหมายจับ


"ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุที่จำเลยหนี ไม่ว่าก่อนหรือระหว่างการพิจารณาคดี ส่งผลให้ศาลจำเป็นต้องจำหน่ายคดีเป็นการชั่วคราว แต่สำหรับกฎหมายฉบับใหม่นี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ เพื่อไม่ให้กระบวนการสะดุดลง" นายสมชาย ระบุ

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวยืนยันว่า กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจส่งผลต่อคดีของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกศาลจำหน่ายออกจากสารบบ เพราะจำเลยอยู่หลบหนีคดี เหตุในบทเฉพาะกฎหมายฉบับบี้ ระบุถึงคดีที่ได้ยื่นฟ้องและได้ดำเนินการไว้ก่อนที่กฎหมายบับนี้บังคับใช้ ให้ดำเนินการต่อไปตามพ.ร.ป.นี้ทั้งหมด ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 67 ที่ระบุว่า
       
       
“มาตรา 67 บทบัญญัติในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ไม่กระทบต่อการดำเนินการใดในคดีที่ยื่นฟ้องไว้ก่อนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ และได้ดำเนินการไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ส่วนการดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้”

เหตุนี้ คดีนายทักษิณ ที่ถูกศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจำหน่ายคดีชั่วคราวอีก 4  คดี ทั้ง 1.คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงค์) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาท  
2.คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว (หวยบนดิน) เป็นการออกหมายจับเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551

 

 

3.คดีทุจริตแปลงสัมปทานมือถือ-ดาวเทียม เป็นภาษีสรรพสามิต เป็นการออกหมายจับเมื่อวันที่  15 ตุลาคม 2551 

4.คดีการทุจริตกรณีธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้ บริษัทกฤษฎามหานคร โดย นายทักษิณ ถูกอัยการยื่นฟ้องเป็นจำเลยที่ 1 กับพวกรวม 27 คน ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยศาลได้ออกหมายจับเนื่องจาก นายทักษิณ ไม่มารายงานตัวต่อศาลในการนัดสอบคำให้การนัดแรก เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 จะเดินต่อทันที


ขณะที่มีอีกหลายคดีของระบอบทักษิณจะได้รับผลกระทบจากกฎหมาย โดยเฉพาะ "คดีทุจริตจำนำข้าว" ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจำเลย รวมทั้ง "คดีทุจริตการระบายข้าวรัฐต่อรัฐ" ที่มีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย และพวกเป็นจำเลยก็จะได้รับผลกระทบในทันทีเช่นกัน...ในกรณีที่คนเหล่านั้นคิดจะหนีรพะหว่างที่จะตัดสินคดี หรือตัดสินคดีแล้วก็ตาม 

 

สอดคล้องกับความเห็นของ นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้เขียนข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Kamnoon Sidhisamarn"  เกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวไว้อย่างละเอียด และตอนท้ายในข้อความของเขา ได้แสดงความเห็นต่อคดีของนายทักษิณและ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไว้อย่างน่าสนใจว่า


"บทเฉพาะกาลมาตรา 67 ที่จะส่งผลสะเทือนใหญ่หลวงมาก
อดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งแม้จะไม่กลับประเทศไทยก็ตาม แต่ก็จะต้องรับผลกระทบถูกดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในคดีที่ศาลจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวเพราะเหตุไม่มาศาลต่อไปทันทีตามกฎหมายใหม่นี้อีกประมาณ 4 คดี รวมมูลค่าทีjถูกกล่าวหาว่าทุจริตหลาย ๆ หมื่นล้านบาท และคดีเก่าคดีหนึ่งที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้วให้จำคุกอดีตนายกรัฐมนตรีคนนั้น 2 ปีไม่ว่าท่านจะไม่กลับประเทศอีกนานเท่าใดก็ไม่เป็นเหตุให้ไม่ต้องรับโทษนั้น ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีหรืออดีตรัฐมนตรีคนอื่นที่กำลังอยู่ในกระบวนพิจารณาคดี หรือถูกฟ้องคดีใหม่ หรือถูกพิพากษาจำคุกไปแล้วหนีไป หากจะคิดหนีต่อไปก็ไร้ประโยชน์ ยกเว้นหนีตลอดชีวิต
เป็นเหตุการณ์ที่จะเริ่มเกิดขึ้นภายในปี 2560 นี้" โฆษก สปท. ระบุ

 

ขอบคุณข้อมูล : สมชาย แสวงการ , เฟซบุ๊ก "Kamnoon Sidhisamarn"