เผยที่มาของ"พระเมรุมาศทรงบุษบก" พระเจ้าแผ่นดิน จากพระราชดำริร.๕ "ขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร"

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

เผยที่มาของ"พระเมรุมาศทรงบุษบก" พระเจ้าแผ่นดิน จากพระราชดำริร.๕ "ขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร"  คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุมาศ เปิดเผยภาพรวมการก่อสร้างพระเมรุมาศและงานศิลปกรรมประณีตศิลป์ คืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 60 พร้อมจัดสร้างถนนเส้นกลางรองรับริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศกำหนดเสร็จในวันที่ 15 กันยายนนี้

ซึ่งพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นั้นเป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก

โดยพระเมรุมาศทรงบุษบก เป็นรูปทรงของพระเมรุมาศที่ใช้ครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)

รัชกาลที่5  มีพระราชดำรัสว่าพระเมรุมาศทรงปราสาทสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น จึงเริ่มใช้พระเมรุมาศทรงบุษบก ในพระราชพิธีของพระองค์เอง
เผยที่มาของ"พระเมรุมาศทรงบุษบก" พระเจ้าแผ่นดิน จากพระราชดำริร.๕ "ขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร"  
ความยิ่งใหญ่ของพระเมรุมาศตามแบบแผนกรุงศรีอยุธยา เกิดการเปลี่ยนแปลงในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) รูปแบบพระเมรุมาศทรงบุษบก ได้นำมาจัดสร้างในพระราชพิธีพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน ตามพระราชปณิธานของพระเจ้าอยู่หัว ร.5 พระองค์มีพระราชดำริที่จะไม่ก่อสร้างพระเมรุมาศยิ่งใหญ่เช่นแต่ก่อน มองว่าการก่อสร้างปราสาทเป็นเรื่องสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น ความว่า
 
"แต่ก่อนมา ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตลง ก็ต้องปลูกเมรุใหญ่ซึ่งคนไม่เคยเห็น แล้วจะนึกเดาไม่ถูกกว่าใหญ่โตสักเพียงใด เปลืองทั้งแรงคน เปลืองทั้งพระราชทรัพย์ ถ้าจะทำในเวลานี้ก็ดูจะไม่สมควรกับการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ไม่เป็นเกียรติยศยืนยาวไปได้เท่าใด ไม่เป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง กลับเป็นความเดือดร้อน"
 
"ถ้าเป็นการศพท่านผู้มีพระคุณ หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ใหญ่อันควรจะได้เป็นเกียรติยศ ฉันก็ไม่อาจจะลดทอนด้วยเกรงว่าคนจะไม่เข้าใจ เพราะผู้นั้นประพฤติไม่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด จึงไม่ทำศพให้สมพระเกียรติสมควรจะได้ แต่เมื่อถึงตัวฉันเองแล้ว เห็นว่าไม่มีข้อขัดข้องอันใด เป็นข้อคำที่จะพูดได้ถนัด จึงขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร ในท้องสนามหลวง แล้วแต่จะเห็นสมควรกันต่อไป”

 

งานพระบรมศพของ รัชกาลที่5 จึงไม่ได้สร้างเขาพระสุเมรุตามแบบโบราณราชประเพณี เปลี่ยนมาก่อสร้างพระเมรุมาศทรงบุษบก บนพื้นราบ ดัดแปลงอาคารปราสาทเป็นเรือนบุษบกบัลลังก์ หรือเป็นการขยายพระเมรุทอง ในปราสาทเป็นเรือนบุษบกบัลลังก์แต่เดิมให้ใหญ่ขึ้น แวดล้อมด้วยเมรุราย 4 ทิศ ลดรูปเป็นคดซ่าง ระเบียง ทับเกษตร อย่างไรก็ตาม ยังคงสถาปัตยกรรมวิจิตรงดงาม เป็นต้นแบบพระเมรุมาศแบบใหม่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เผยที่มาของ"พระเมรุมาศทรงบุษบก" พระเจ้าแผ่นดิน จากพระราชดำริร.๕ "ขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร"

เผยที่มาของ"พระเมรุมาศทรงบุษบก" พระเจ้าแผ่นดิน จากพระราชดำริร.๕ "ขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร"
 
พระเมรุมาศทรงบุษบก ได้นำมาใช้งานพระบรมศพองค์พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ยกเว้น งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ถวายพระเพลิง ณ สุสานในประเทศอังกฤษ งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8 ) และงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ซึ่งพระเมรุมาศทรงบุษบก ถือเป็นแบบพระเมรุมาศสำหรับกษัตริย์เท่านั้น
 

เผยที่มาของ"พระเมรุมาศทรงบุษบก" พระเจ้าแผ่นดิน จากพระราชดำริร.๕ "ขอให้ยกเลิกงานพระเมรุใหญ่นั้นเสีย ปลูกแต่ที่เผาพอสมควร"
สำหรับพระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เป็นพระเมรุทรงบุษบก 9 ยอด วางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 60 เมตร สูง 50.49 เมตร การจัดสร้างพระเมรุฯ ดำเนินการโดยกรมศิลปากร ถือเป็นพระเมรุมาศทรงบุษบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
 

 

ที่มา : เพจโบราณนานมา , ศูนย์ข้อมูลข่าวสารงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช , คณะกรรมอนุกรรมการจัดทำจดหมายเหตุและจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ  งานพระเมรุมาศสมัยรัตนโกสินทร์  กรุงเทพฯ อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๑๘  หน้า ๒๑๑