ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

              วันที่ 17 กรกฎาคม 2560 ที่สถานีรถไฟจังหวัดตรัง กลุ่มชาวบ้านชุมชนชายฝั่งจังหวัดตรัง จากเกาะสุกร ต.ปะเหลียน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17 ) พ.ศ.2560 กว่า 10  คน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมทบกับแกนนำที่เดินทางล่วงหน้าไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม และกลุ่มเครือข่ายสมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน และกลุ่มประมงพื้นบ้าน 6 จังหวัดอันดามันรวมทั้งชาวบ้านชุมชนชายฝั่งจากจังหวัดตรัง อีก 5 อำเภอ  65 ตำบล ที่จัดตัวแทนเดินทางด้วยรถยนต์ออกจากพื้นที่เกาะ  และชุมชนชายฝั่งต่างๆ รวมกว่า 30 คน  เพื่อจะเข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรี ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวช้องต่างๆ ให้ออกคำสั่งหรือแก้ไขกฎหมายหรือกฎกระทรวงให้ชุมชนชายฝั่ง 

 

ชุมชนริมน้ำและการประกอบอาชีพตามวิถีวัฒนธรรมของตน ไม่ใช่เป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ต้องขออนุญาตหรือต้องจ่ายค่าตอบแทนรายปี แต่ให้บัญญัติให้ชัดว่า ชุมชนชายฝั่งเป็นชุมชนดั้งเดิม ที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง โดยชุมชนยินดีที่จะร่วมกับทางราชการจัดระเบียบการอยู่อาศัย การทำกิน ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศของพื้นที่ ไม่กีดขวางทางเดินเรือและเป็นไปอย่างยั่งยืนควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีกำหนดจะเข้ายื่นหนังสือ ที่ทำเนียบรัฐบาล รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมประมงภายในวันนี้ (17 ก.ค.) หลังชาวบ้านเคยยื่นหนังสือเรียกร้องต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัด . นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.และสนช.ไปแล้วหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผล กลับมีข่าวตาม จดหมายของกรมเจ้าท่าว่า รัฐบาลเตรียมใช้มาตรา 44 ยืดเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไป 60 วัน และเก็บค่าธรรมเนียมเพียงตารางเมตรละ 5 บาทต่อปี  โดยระบุว่าวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวหากรัฐบาลทำจริง เป็นการเอื้อนายทุนคนรวยที่มีสิ่งรุกล้ำลำน้ำ ส่วนบ้านเรือนของชาวบ้านชุมชนชายฝั่งไม่ใช่สิ่งรุกล้ำทางน้ำ แต่เป็นชุมชนดั้งเดิม ที่รัฐบาลจะต้องดูแล ไม่ให้ได้รับผลกระทบ กลับไม่ได้รับการเหลียวแลจากรัฐบาล

ชาวบ้านชุมชนชายฝั่ง จ.ตรัง รวมตัวกันขึ้นรถไฟเข้ากรุงฯ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีฯ ค้าน พรก.การเดินเรือ (มีคลิป)

ชาวบ้านชุมชนชายฝั่ง จ.ตรัง รวมตัวกันขึ้นรถไฟเข้ากรุงฯ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีฯ ค้าน พรก.การเดินเรือ (มีคลิป)

 

ทั้งนี้  ขณะชาวบ้านเดินทางไปที่สถานีรถไฟ ได้มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคง โดยเฉพาะกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร จากค่ายพระยารัษฎานุประดิษฐ์ จำนวน 5 นาย เมื่อทราบว่าชาวบ้านจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปสมทบกับแกนนำ เพื่อจะเดินทางไปทำเนียบรัฐบาล  ได้จัดกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปหาข่าว  และพยายามจะมองหาแกนนำ และตัวแทนชาวบ้าน เพื่อยับยั้งไม่ให้ออกเดินทาง  หลังจากพยายามจะใช้วิธีกักตัวแกนนำจำนวน 3 คน ที่ออกเดินทางล่วงหน้าเมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่เป็นผล  สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบ้านเป็นอย่างมาก จึงต้องใช้วิธีแยกย้ายกันเดินทาง เพื่อไม่ให้ถูกเจ้าหน้าที่เชิญตัวไปพูดคุย สร้างความเข้าใจ  หรือกักตัวไม่ให้เดินทางเข้าไปสมทบเพิ่มเติม

ด้าน นางสาวกุญธิชามาศฒ์ กาญจนานิจ ตัวแทนชาวบ้าน ต.เกาะสุกร กล่าวว่า  ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จึงต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ แต่ถูกเจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงพยายามสกัดทุกวิถีทาง ทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถรวมตัวกันเดินทางได้อย่างสะดวก จึงอยากให้เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคง เห็นใจชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนด้วย โดยชาวบ้านต้องการจะไปเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาไม่ได้ไปชุมนุมประท้วงรัฐบาลแต่ประการใด

ชาวบ้านชุมชนชายฝั่ง จ.ตรัง รวมตัวกันขึ้นรถไฟเข้ากรุงฯ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีฯ ค้าน พรก.การเดินเรือ (มีคลิป)

ชาวบ้านชุมชนชายฝั่ง จ.ตรัง รวมตัวกันขึ้นรถไฟเข้ากรุงฯ เข้ายื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีฯ ค้าน พรก.การเดินเรือ (มีคลิป)

ภาพ/ข่าว สุนิภา หนองตรุด ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง