ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

นครพนม นำรถเจาะ HDD ดึงสายไฟลงใต้ดินปรับภูมิทัศน์รับการท่องเที่ยว วันที่ 20 กรกฎาคม 2560  ที่บริเวณถนนนิตโย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายสมชาย วิทย์ดำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธาน kick off โครงการก่อสร้างระบบเคเบิ้ลใต้ดินจังหวัดนครพนม

นครพนม!! นำรถเจาะ HDD ดึงสายไฟลงใต้ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบจ่ายไฟฟ้า และปรับภูมิทัศน์รับนักท่องเที่ยว (มีคลิป)

นครพนม!! นำรถเจาะ HDD ดึงสายไฟลงใต้ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบจ่ายไฟฟ้า และปรับภูมิทัศน์รับนักท่องเที่ยว (มีคลิป)

ซึ่งเป็นโครงการที่จังหวัดนครพนม โดยเทศบาลเมืองนครพนมและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครพนม จัดทำขึ้น เพื่อนำระบบไฟฟ้าลงใต้ดิน เป็นการสร้างความฝันของคนนครพนมที่จะได้เห็นทัศนียภาพอันสวยงามแบบไร้สายไฟระโยงระยางตามท้องถนนท่ามกลางความดงามของธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวและอารยธรรม อีกทั้งยังทำให้เกิดความมั่นคงของระบบจ่ายไฟฟ้า และที่สำคัญยิ่งคือจะเพิ่มแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากเดินทางมาจังหวัดนครพนมมากยิ่งขึ้นไปอีก นำมาซึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 

 

นครพนม!! นำรถเจาะ HDD ดึงสายไฟลงใต้ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบจ่ายไฟฟ้า และปรับภูมิทัศน์รับนักท่องเที่ยว (มีคลิป)

นครพนม!! นำรถเจาะ HDD ดึงสายไฟลงใต้ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบจ่ายไฟฟ้า และปรับภูมิทัศน์รับนักท่องเที่ยว (มีคลิป)
 

โดยโครงการดังกล่าวแบ่งออกเป็น ออกเป็น 2 เส้นทาง คือบริเวณถนนนิตโย จากสามแยกประติมากรรมพญาศรีสัตนาคคราชไปจนถึงสี่แยกบ้านน้อยหนองเค็ม ระยะทาง 2.40 กม. ด้วยงบประมาณ 140,000,000 บาท และบริเวณถนนสุนทรวิจิตรจากหอนาฬิกาจนถึงหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมหลังใหม่ (ถนนสมุทรบรรหาร)  ระยะทาง 1.40 กม. ซึ่งจะใช้งบประมาณ 33,384,000 บาท โดยโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน เมษายน 2561 

นครพนม!! นำรถเจาะ HDD ดึงสายไฟลงใต้ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงของระบบจ่ายไฟฟ้า และปรับภูมิทัศน์รับนักท่องเที่ยว (มีคลิป)


สำหรับการทำงานนั้นจะใช้รถขุดเจาะ Horizontal Directional Drilling หรือเรียกสั่นๆว่า รถเจาะ HDD ซึ่งจะใช้พื้นที่ทำงานของเครื่องจักรไม่มากนักแต่เต็มไปด้วยมาตรฐาน ที่สำคัญคือรบกวนการสัญจรไปมาของพี่น้องประชาชนมากจนเกินไป โดยการทำงานของเครื่องจักรนั้น จะมีการเจาะพื้นที่ทำงาน ขนาดกว้าง 0.5 เมตร ยาว 1 เมตร จากนั้นจะใช้หัวเจาะของรถเจาะไปตามพื้นที่ดิน โดยมีเครื่อง GPR ตรวจเช็คหาอุปสรรคกีดขวางซึ่งถ้าพบหัวเจาะก็สามารถหลบเลี่ยงได้ และทุกๆระยะ 200 เมตร จะมีการทำบ่อพักระบบสายไฟฟ้า

ภาพ/ข่าว ประทีป วชิระธัญญากุล นครพนม สำนักข่าวทีนิวส์