ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ตามที่ได้มีการประชุมรับฟังข้อเรียกร้องให้รถไฟรางคู่ช่วงสถานีมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระเป็นยกระดับที่ผ่านมา โดยมี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้ตั้งคณะทำงานร่วม 2ฝ่ายหาทางออกร่วมกันเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อประชาชน ขณะที่การรถไฟฯยืนยันเป็นไปได้ยากหากจะจะสร้างรถไฟรางคู่ยกดับช่วงผ่านเข้าชุมชนเมือง

 



 


 

ในส่วนของคณะกรรมการ ซึ่งเป็นตัวแทนของจังหวัดนครราชสีมา ได้ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทบทวนรูปแบบการก่อสร้างรถไฟรางคู่ เป็นแบบยกระดับช่วงที่ผ่านเข้าชุมชนเมือง เพื่อลดผลกระทบที่ตามมา โดยได้นำโมเดลรูปแบบจำลองรถไฟระดับพื้นดินที่จะทำให้ตัวเมืองถูกแบ่งออกเสมือนเมืองอกแตก วิถีชีวิตชุมชนเปลี่ยนแปลงไป การจราจรที่ผ่านจุดตัดถนนทางข้ามรถไฟรวม15จุด ที่มียานพาหนะประมาณ5หมื่นคันผ่าน หากต้องปิดจุดตัดรถไฟและสร้างสะพานกลับรถ อาจจะส่งผลให้การจราจรติดขัด ขณะที่หากเปลี่ยนเป็นรถไฟยกระดับจะสามารถเพิ่มพื้นที่การระบายน้ำใต้ทางรถไฟ เป็นการป้องกันน้ำท่วมได้ในอนาคตซึ่งประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ไม่ได้คัดค้านโครงการรถไฟรางคู่ แต่ต้องการให้มีการทบทวนรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองในปัจจุบันและอนาคต เช่นเดียวกันกับนาย ปรีชา จันทรรวงทอง นายกเทศมนตรีเมืองสีคิ้วได้กล่าวในที่ประชุมว่ารถไฟรางคู่ที่ผ่านเทศบาล มีอยู่ด้วยกัน3จุดตัดรถไฟที่อาจได้รับผลกระทบซึ่งถึงแม้การรถไฟฯจะสร้างสะพานกลับรถแต่ด้วยระยะทางที่ไกลจากสถานีประกอบกับจุดตัดรถไฟที่ต้องปิดตายอยู่ในเขตชุมชนเมืองหากรถไฟรางคู่อยู่ระดับดินก็จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนจึงเรียกร้องให้ปรับเป็นรถไฟยกระดับ

ส่วนทางด้านนายสมเกียรติวิริยะกุลนันท์โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมาได้นำตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่รถไฟจากประเทศออสเตรเลียมาให้ที่ประชุมได้ดูหากรถไฟรางคู่ยกระดับจะมีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ที่ด้านล่างอาทิเป็นสวนสาธารณะหรือสร้างเป็นถนนแก้ปัญหาจราจรติดขัดรวมถึงเป็นท่อระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมเป็นต้นขณะที่นายสมบูรณ์ชัยศิรินิรันดร์ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทที่5นครราชสีมาให้ข้อมูลถึงการออกแบบสะพานกลับรถหรือเกือกม้าว่าเป็นการออกแบบที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเพราะสะพานกลับรถข้ามทางรถไฟมีลักษณะรถส่วนทางไปมาซึ่งโดยปกติทางด้านวิศวกรรมจะหลีกเลี่ยงการออกแบบในลักษณะนี้เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ด้านนายอานนท์เหลืองบริบูรณ์รองอธิบดีกรมทางหลวงฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังการมีส่วนร่วมการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือEIAการจัดทำTORและภายในวันที่1กันยายน2560ก็จะได้ผู้รับจ้างซึ่งกระบวนการได้ล่วงเลยมาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะมีการก่อสร้างหากต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นยกระดับก็ต้องไปนับหนึ่งใหม่คือเริ่มจากการออกแบบจัดทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือEIAใหม่ทั้งหมดรวมถึงการจัดทำงบประมาณใหม่ซึ่งแน่นอนจะต้องเพิ่มค่าก่อสร้างที่สูงขึ้นที่สำคัญจะส่งผลทำให้โครงการนี้ต้องเลื่อนออกไปไม่น้อยกว่า1-2ปีขณะที่รถไฟรางคู่ชุมทางจิระ-ขอนแก่นก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างไว้รอแล้วรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าวอีกว่าตนไม่อยากให้ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาตัดธงไว้ก่อนว่ารถไฟรางคู่ต้องเป็นยกระดับเท่านั้นแต่ควรนำรูปแบบที่มีการออกแบบแล้วมาดูว่าจะสามารถแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบประชาชนอย่างไรได้บ้างซึ่งหากต้องยกระดับรถไฟรางคู่ก็ต้องยกระดับทั้งสถานีรถไฟนครราชสีมาและสถานีรถไฟชุมทางจิระซึ่งเป็นไปได้ยากเนื่องจากบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเตรียมออกแบบเป็นศูนย์ซ่อมรถไฟอีกทั้งการก่อสร้างรถไฟรางคู่ระดับพื้นดินเป็นการสร้างเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้

จ.โคราช - เตรียมส่งคณะกรรมการเข้าร่วมหารือ 2  ฝ่ายพิจารณาหาทางออกรถไฟรางคู่รอบที่ 2 หลังจากไม่สามารถหาข้อยุติได้ในรอบแรก (มีคลิป)

จ.โคราช - เตรียมส่งคณะกรรมการเข้าร่วมหารือ 2  ฝ่ายพิจารณาหาทางออกรถไฟรางคู่รอบที่ 2 หลังจากไม่สามารถหาข้อยุติได้ในรอบแรก (มีคลิป)

 

ตามที่ได้มีการประชุมรับฟังข้อเรียกร้องให้รถไฟรางคู่ช่วงสถานีมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระเป็นยกระดับที่ผ่านมา โดยมี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้ตั้งคณะทำงานร่วม 2ฝ่ายหาทางออกร่วมกันเพื่อลดผลกระทบที่มีต่อประชาชน ขณะที่การรถไฟฯยืนยันเป็นไปได้ยากหากจะจะสร้างรถไฟรางคู่ยกดับช่วงผ่านเข้าชุมชนเมือง


ในส่วนของคณะกรรมการ ซึ่งเป็นตัวแทนของจังหวัดนครราชสีมา ได้ขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทบทวนรูปแบบการก่อสร้างรถไฟรางคู่ เป็นแบบยกระดับช่วงที่ผ่านเข้าชุมชนเมือง เพื่อลดผลกระทบที่ตามมา โดยได้นำโมเดลรูปแบบจำลองรถไฟระดับพื้นดินที่จะทำให้ตัวเมืองถูกแบ่งออกเสมือนเมืองอกแตก วิถีชีวิตชุมชนเปลี่ยนแปลงไป การจราจรที่ผ่านจุดตัดถนนทางข้ามรถไฟรวม15จุด ที่มียานพาหนะประมาณ5หมื่นคันผ่าน หากต้องปิดจุดตัดรถไฟและสร้างสะพานกลับรถ อาจจะส่งผลให้การจราจรติดขัด ขณะที่หากเปลี่ยนเป็นรถไฟยกระดับจะสามารถเพิ่มพื้นที่การระบายน้ำใต้ทางรถไฟ เป็นการป้องกันน้ำท่วมได้ในอนาคตซึ่งประชาชนจังหวัดนครราชสีมา ไม่ได้คัดค้านโครงการรถไฟรางคู่ แต่ต้องการให้มีการทบทวนรูปแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองในปัจจุบันและอนาคต เช่นเดียวกันกับนาย ปรีชา จันทรรวงทอง นายกเทศมนตรีเมืองสีคิ้วได้กล่าวในที่ประชุมว่ารถไฟรางคู่ที่ผ่านเทศบาล มีอยู่ด้วยกัน3จุดตัดรถไฟที่อาจได้รับผลกระทบซึ่งถึงแม้การรถไฟฯจะสร้างสะพานกลับรถแต่ด้วยระยะทางที่ไกลจากสถานีประกอบกับจุดตัดรถไฟที่ต้องปิดตายอยู่ในเขตชุมชนเมืองหากรถไฟรางคู่อยู่ระดับดินก็จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนจึงเรียกร้องให้ปรับเป็นรถไฟยกระดับ
ส่วนทางด้านนายสมเกียรติวิริยะกุลนันท์โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมาได้นำตัวอย่างการพัฒนาพื้นที่รถไฟจากประเทศออสเตรเลียมาให้ที่ประชุมได้ดูหากรถไฟรางคู่ยกระดับจะมีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ที่ด้านล่างอาทิเป็นสวนสาธารณะหรือสร้างเป็นถนนแก้ปัญหาจราจรติดขัดรวมถึงเป็นท่อระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมเป็นต้นขณะที่นายสมบูรณ์ชัยศิรินิรันดร์ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทที่5นครราชสีมาให้ข้อมูลถึงการออกแบบสะพานกลับรถหรือเกือกม้าว่าเป็นการออกแบบที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุเพราะสะพานกลับรถข้ามทางรถไฟมีลักษณะรถส่วนทางไปมาซึ่งโดยปกติทางด้านวิศวกรรมจะหลีกเลี่ยงการออกแบบในลักษณะนี้เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
ด้านนายอานนท์เหลืองบริบูรณ์รองอธิบดีกรมทางหลวงฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังการมีส่วนร่วมการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือEIAการจัดทำTORและภายในวันที่1กันยายน2560ก็จะได้ผู้รับจ้างซึ่งกระบวนการได้ล่วงเลยมาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะมีการก่อสร้างหากต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็นยกระดับก็ต้องไปนับหนึ่งใหม่คือเริ่มจากการออกแบบจัดทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือEIAใหม่ทั้งหมดรวมถึงการจัดทำงบประมาณใหม่ซึ่งแน่นอนจะต้องเพิ่มค่าก่อสร้างที่สูงขึ้นที่สำคัญจะส่งผลทำให้โครงการนี้ต้องเลื่อนออกไปไม่น้อยกว่า1-2ปีขณะที่รถไฟรางคู่ชุมทางจิระ-ขอนแก่นก็ได้เร่งดำเนินการก่อสร้างไว้รอแล้วรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยกล่าวอีกว่าตนไม่อยากให้ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาตัดธงไว้ก่อนว่ารถไฟรางคู่ต้องเป็นยกระดับเท่านั้นแต่ควรนำรูปแบบที่มีการออกแบบแล้วมาดูว่าจะสามารถแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบประชาชนอย่างไรได้บ้างซึ่งหากต้องยกระดับรถไฟรางคู่ก็ต้องยกระดับทั้งสถานีรถไฟนครราชสีมาและสถานีรถไฟชุมทางจิระซึ่งเป็นไปได้ยากเนื่องจากบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเตรียมออกแบบเป็นศูนย์ซ่อมรถไฟอีกทั้งการก่อสร้างรถไฟรางคู่ระดับพื้นดินเป็นการสร้างเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้

ทั้งนี้ในที่ประชุมทั้งสองฝ่าย พยายามยกเหตุผลของตนมาหักล้างกันด้านข้อมูลทางวิชาการและด้านวิศวกรรมซึ่งการประชุมได้ล่วงเลยเวลากว่า 3 ชั่ วโมง ดร.พิชิตอัคราทิตย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จึงสรุปให้มีการตั้งคณะทำงานร่วม 2 ฝ่าย ขึ้นมาดูรูปแบบการก่อสร้างรถไฟรางคู่ว่าจะพอมีหนทางปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ โดยกำหนดนัดหมายให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟังข้อมูลเหตุผลทางเทคนิคเพื่อสรุปข้อมูลให้ตรงกัน ในวันที่ 25  กรกฎาคม  2560  ที่กระทรวงคมนาคม

จ.โคราช - เตรียมส่งคณะกรรมการเข้าร่วมหารือ 2  ฝ่ายพิจารณาหาทางออกรถไฟรางคู่รอบที่ 2 หลังจากไม่สามารถหาข้อยุติได้ในรอบแรก (มีคลิป)

ภาพ/ข่าว  ไพฑูรย์  คาบพิมาย   ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.นครราชสีมา