ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

วันที่ 23 ก.ค. 2560  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมทดสอบการใช้ “เอนไซม์เอนอีช” (อ่านว่า เอ็น-ซาม เอ็น-อีซ) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นักวิจัยจากศูนย์ไบโอเทค สวทช. ผลิตและนำไปใช้ในกระบวนการลอกแป้ง และ กำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวทดแทนการใช้สารเคมี 100 %ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย โดยมีการถ่ายทอดให้กับวิสาหกิจสิ่งทอ ร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น ที่ ต.เวียงทอง อ.สูงเม่น จ.แพร่ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่แรกในประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวสู่ชุมชนในฐานะภูมิปัญญาไทยกับพื้นที่ผลิตผ้าพื้นเมืองของจังหวัดแพร่

ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ในฐานะที่เป็นผู้วิจัยเอนไซม์เอนอีซ (ENZease) ได้สำเร็จ กล่าวว่า “เอ็นไซม์ เอ็นอิซ” เกิดจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พร้อมทั้งภาคนักลงทุนภาคเอกชนด้านสิ่งทอ โรงงานสิ่งทอธนไพศาล ร่วมกันบูรณาการสหสาขาวิชา ประยุคใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อพัฒนา เอนไซม์เอนอีซ ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร คือ มันสำปะหลัง โดยใช้จุรินทรีย์ที่คัดเลือกจากศูนย์ชีววัสดุประเทศไทย ซึ่งจุรินทรีย์ชนิดนี้สามารถสร้างเอ็นไซม์ได้ทั้ง อะไมเลส และ เพคติเนส ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นเอ็นไซม์อัจฉริยะ ทำงานได้ในค่า pH5.5 อุณภูมิ 50 องศาเซลเซียส ทำให้เป็นจุดเด่น ในการไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของผ้า สามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้พร้อมกันในขั้นตอนเดียวภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้น จะทำให้กระบวนการผลิตผ้า ประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างน่าพอใจนอกจากนั้นการใช้ เอนไซม์เอนอีซ จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้อุตสาหกรรมผ้าหมดปัญหาเรื่องทำให้น้ำในลำน้ำธรรมชาติเน่าเสียได้ 100 % ทำให้คุณภาพผ้ามีคุณภาพสูงกว่าการใช้เคมีอีกด้วย เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดใหญ่ได้   ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ ศูนย์ไบโอเทค สวทช. กล่าวอีกว่า แต่ทาง สวทช. เห็นว่าเป็นงานวิจัยที่ศึกษาคิดค้นจากฐานจุรินทรีย์สายพันธุ์ไทย และเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากงานวิจัยของนักวิจัยไทย จึงมีแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาผ้าพื้นเมือง กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ก่อน กลุ่มผ้าพื้นเมืองของจังหวัดแพร่ ซี่งมีชื่อเสียงมากเป็นกลุ่มแรกที่ สวทช. นำเทคโนโลยีนี้ลงแนะนำเป็นจังหวัดแรกที่ผ่านมา เอนไซม์ เอนอีซ มีการผลิตใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอในต่างประเทศก่อนแล้ว แต่มีราคาสูงมากไม่พร้อมที่จะให้ผู้ประกอบการในประเทศไทย ในราวปี 2561 ก็จะมีการผลิตอย่างเป็นทางการเป็นสินค้าไทยที่มีคุณภาพทั้งน้ำยาเอนไซม์เอ็นอีซ และผลิตภัณฑ์ผ้าที่ใช้เทคโนโลยีปลอดสารพิษ

แพร่สุดล้ำ!! สวทช.เตรียมใช้“เอ็นไซม์” สู่อุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดใหญ่และวิสาหกิจชุมชน เปิดตัวเป็นจังหวัดนำร่อง (ชมคลิป)

แพร่สุดล้ำ!! สวทช.เตรียมใช้“เอ็นไซม์” สู่อุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดใหญ่และวิสาหกิจชุมชน เปิดตัวเป็นจังหวัดนำร่อง (ชมคลิป)

นางชวัลณัฎฐ์ ถิ่นจอมธ์ เจ้าของกิจการ ร้านอวิกาหม้อห้อมแฟชั่น กล่าวว่า ต้องขอบคุณทางศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่มาสาธิตถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมทดสอบการใช้ “เอนไซม์เอนอีช” ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นักวิจัยจากศูนย์ไบโอเทค สวทช. ผลิตและนำไปใช้ในกระบวนการลอกแป้ง และ กำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายแบบขั้นตอนเดียวทดแทนการใช้สารเคมี 100 % ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย โดยมีการถ่ายทอดให้กับวิสาหกิจสิ่งทอ ในจังหวัดแพร่ ทำให้ลดขั้นตอนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดแพร่อีกด้วย

แพร่สุดล้ำ!! สวทช.เตรียมใช้“เอ็นไซม์” สู่อุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดใหญ่และวิสาหกิจชุมชน เปิดตัวเป็นจังหวัดนำร่อง (ชมคลิป)

แพร่สุดล้ำ!! สวทช.เตรียมใช้“เอ็นไซม์” สู่อุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดใหญ่และวิสาหกิจชุมชน เปิดตัวเป็นจังหวัดนำร่อง (ชมคลิป)

ข่าว/ภาพ ธีรพงษ์ ธงออน   ผู้สื่อข่าวภูมิภาค   สำนักข่าวทีนิวส์   จังหวัดแพร่