"ยิ่งลักษณ์" โปรดทราบ!! เอื้อจนไม่รู้จะเอื้ออย่างไร!?!? รธน.ยุคเผด็จการเปิดโอกาสให้ "นักโกงเมือง" อุทธรณ์คำพิพากษา

      นับจากวันนี้ (25 ก.ค.60) ต่อไปอีกเพียง 30 วัน ก็จะถึงวันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง นัดฟังคำพิพากษากรณีปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็จะก้าวเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปคือ ศาลอนุญาตให้จำเลยแถลงปิดคดีด้วยวาจาวันที่ 1 ส.ค.2560 เวลา 09.30 น.และอนุญาตให้คู่ความทั้งสองฝ่ายยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดี เป็นลายลักษณ์อักษรภายในวันที่ 15 ส.ค.2560 และหากไม่ยื่นภายในกำหนดถือว่าไม่ติดใจยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดี คดีเสร็จการไต่สวน และที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ คือวันที่ 25 ส.ค.2560 เวลา 09.00 น. เป็นวันที่ศาลนัดฟังคำพิพากษาในคดีนี้

      ทั้งนี้หากศาลพิพากษาจะออกมาในรูปแบบไหนก็ตาม แต่ใช้ว่ากระบวนการยุติธรรมจะสิ้นสุด เราจะมาทำความเข้าใจในขั้นตอนของคดีตามที่รัฐธรรมนูญปี2560ได้บัญญัติไว้ก่อน สำหรับคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลได้

      ซึ่งรัฐธรรมฉบับนี้ทำให้การยื่นอุทธรณ์คดีง่ายขึ้นกว่าฉบับเก่า จากเดิมคือ รัฐธรรมนูญเดิม ปี 2550 มาตรา 278 วรรค 3 สามารถกระทำได้ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด 

 

แต่ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 195 วรรค 4 บัญญัติให้การยื่นอุทธรณ์สามารถทำได้ทั้งโจทก์และจำเลยภายใน 30 วันหลังศาลฯ มีคำพิพากษา โดยไม่ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ และให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกองค์คณะมาพิจารณาคดีและให้ถือว่าเป็นคำตัดสินของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 

    แต่ก็มีข้อแม้ตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ระบุว่าจำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ด้วยตัวเองจะให้ทนายความกระทำแทนไม่ได้

    นอกจากนี้ ตามมาตรา 195 วรรค 7 หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์ไม่ได้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด แต่ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอยู่ระหว่างจัดทำร่าง ซึ่งต้องให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 267

 

      โดยในกรณีดังกล่าวนี้ทางด้านผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอย่าง อ.คมสัน โพธิ์คง   อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ได้ให้ความชัดเจนเพิ่มเติมถึงการยื่นอุทธรณ์ ในกรณีดังกล่าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์  กับทางสำนักข่าวทีนิวส์  ผ่านทางรายการทีนิวส์ สด ลึก จริงวันนี้ (25 /07/60 )  สัมภาษณ์โดยคุณบุญชัย  ธนะไพรินทร์  เอาไว้ความสรุปดังนี้ว่า
 

        ในมาตรา195 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นั้นได้ระบุเอาไว้ค่อนข้างกว้างมีการเลือกองคณะ ถึงสองคั้ง ครั้งแรกคือองค์คณะที่มาวินิจฉัยจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน  แต่ไม่เกิน 9 คน  ซึ่งวางหลักการไว้ว่าให้เลือกเป็นรายคดี เป็นวิจารย์ที่กำหนดไว้ในพรบ. ประกอบรธน.ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  แล้วก็องคณะที่ 2 ในองคณะอุทธรณ์  เมื่อศาลพิจารณาคดีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาเรียบร้อยแล้วนั้นตัวจำเลยสามารถอุทธรณ์ได้ ซึ่งตรงนี้ไม่ได้อธิบายว่า ตามข้อเท็จจริงหรือว่าข้อกฎหมาย  ก็เข้าใจว่าน่าจะได้ทั้งเเบบข้อเท็จจริงและตามกฎหมาย เพราะข้อกฎหมายตรงนี้มีการเปลี่ยนไปจากของเดิมในรัฐธรรมนูญที่ให้อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมาย  พอเป็นเช่นนี้เมื่อเขายื่นอุทธรณ์แล้วนั้น  จะมีการไปตั้งองคณะขึ้นมา9 คน ซึ่งเป็น ผู้พิพากษาระดับสูงในศาลฎีกา

        ซึ่งข้อกฎหมายดังกล่าวนี้ต่างไปจากเดิมค่อนข้างเยอะ เพราะของเดิมการอุทธรณ์นั้น เริ่มพัฒนาการมาจากเมื่อปี 2540  ไม่มีการอุทธรณ์ ศาลเดียวจบ แต่ในฉบับปี 2560 นั้นเขียนเอาไว้อย่างเปิดกว้าง  ซึ่งถ้าหากว่านักการเมืองจะบอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็คิดว่าก็มีวิวัฒนาการมาพอสมควรแล้ว  จำเลยเองก็ได้ประโยชน์ค่อนข้างเยอะ  เพราะฉะนั้นจะเรียกร้องอะไรมากกว่านี้ก็เห็นว่าเท่านี้ก็เปิดโอกาสให้ค่อานข้างเยอะมากแล้ว  

       และเมื่อถามว่า ข้อกฎหมายนี้นั้นเรียกได้ดีจากข้อกฎหมายเดิมหรือไม่อย่างไรนั้น  ทางด้านอ.คมสัน  ก็ได้ให้คำตอบว่า "เรียกได้ว่า ดีกับจำเลยมากกว่า แต่ในเชิงวิชาการถือว่าไม่ดี  เพราะเอาศาลเดียวกันมาพิจารณาศาลเดียวกันมันไม่มี ใครเขาทำกัน  ซึ่งหลักการของศาลมันจะเเปรปรวนไปหมด   กลายเป็นต้องตั้งคณะ 9 คนมทาพิจารณา  แล้วพิจารณาแล้วนั้นตามหลักวิชาการมันค่อนข้างบิดไปพอสมควรจขากหลักการที่จะต้องเป็น   กลายเป็นลำดับศาลไม่มีความสำคัญอะไร   แต่กับจำเลยนั้นเป็นข้อดี ที่จะได้รับการพิจารณาถึงสองครั้ง "

    คงจะได้ทราบถึงรายละเอียดกันไปบ้างแล้วในส่วนของข้อกฎหมายที่เรียกได้ว่าเอื้ประโยชน์ต่อนักการเมืองผู้ตกเป็นจำเลย  อยู่ไม่เลยทีเดียว และต่อจากนี้ทางจำเลยการเมืองเหล่านี้จะเดินเกม  งัดอะไรใดใด ออกมาเป็นไม้เด็ดกันต่อไปอย่างไร เพื่อให้พ้นผิด  หรือจะอยู่หรือจะไปไหนนั้น ก็คงจะต้องคอยจับตามองกันต่อไป