รัฐบาล "ทหาร" กู้หน้าจากบทเรียนราคามหาศาล คนไทยไม่ต้องเสีย “ค่าโง่คลองด่าน”

รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ กู้หน้าจากบทเรียนราคามหาศาล คนไทยไม่ต้องเสีย “ค่าโง่คลองด่าน”

     ข่าวคราวเงียบหายไปนาน สำหรับกรณีที่คนไทยจะต้องจดจำอย่างเรื่อง "ค่าโง่คลองด่าน" ล่าสุดก็กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งหนึ่ง จากกรณีที่สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.)ได้ส่งหนังสือเรื่องชี้ขาดความเห็นแย้ง ให้กับอธิบดีบกรมสอบสวนคดีพิเศษ และได้พิจารณาชี้ขาดให้ฟ้องเอกชน

    ในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินและโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน หรือ คดีคลองด่าน เป็นคดีการทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดินและโครงการก่อสร้าง บ่อบำบัดน้ำเสีย 2 ระบบ  โดยคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลบรรหารได้มีมติอนุมัติ วงเงินโครงการจำนวน 13,612 ล้านบาท ต่อมาในปี 40 ก็ได้เพิ่มเป็น 23,000 ล้านบาท รัฐบาลได้ประกาศหาผู้รับเหมา จนได้ผู้มายื่นความจำนงจำนวน 13 ราย จนในที่สุดกลุ่มบริษัท NVPSKG ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาแบบเหมารวม  คือให้บริษัทเอกชนที่ชนะการประมูลเป็นทั้งผู้จัดหาที่ดิน ออกแบบ และก่อสร้าง

รัฐบาล "ทหาร" กู้หน้าจากบทเรียนราคามหาศาล คนไทยไม่ต้องเสีย “ค่าโง่คลองด่าน”

รัฐบาล "ทหาร" กู้หน้าจากบทเรียนราคามหาศาล คนไทยไม่ต้องเสีย “ค่าโง่คลองด่าน”

รัฐบาล "ทหาร" กู้หน้าจากบทเรียนราคามหาศาล คนไทยไม่ต้องเสีย “ค่าโง่คลองด่าน”

 

  สำหรับกิจการร่วมค้า NVPSKG ประกอบด้วยบริษัทผู้รับเหมาซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดี โดยบางบริษัทมีสายสัมพันธ์กับบุคคลในรัฐบาลขณะนั้น (แต่ในปี 2539 ยังไม่มีกฎหมายห้ามกิจการของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ)

N – บริษัท นอร์ธเวสต์ วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

V – บริษัท วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด

P – บริษัท ประยูรวิศว์การช่าง จำกัด (ชื่อขณะนั้น-ก่อตั้งโดยนายวิศว์ บิดาของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ)

S – บริษัท สี่แสงการโยธา (1979) จำกัด (ใกล้ชิดกับนายบรรหาร ศิลปอาชา)

K – บริษัท กรุงธน เอนจิเนียร์ จำกัด

G – บริษัท เกตเวย์ ดิเวลลอปเมนต์ จำกัด (มีสายสัมพันธ์กับบริษัท ปาล์มบีช ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ของนายวัฒนา อัศวเหม ผ่านทางผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง)

      และต่อมา ในปี 2546 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบโครงการก่อสร้าง บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน  ก่อนจะพบความผิดปกติหลายประการ โดยเฉพาะการที่ไม่มี N ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมทำสัญญา จึงสั่งให้กิจการร่วมค้า NVPSKG ยุติการดำเนินโครงการ และระงับการจ่ายเงิน หลังดำเนินก่อสร้าง ไปแล้วกว่า 95% มีการจ่ายเงินไป 54 งวด จากทั้งหมด 58 งวด รวมเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท

    ขณะที่กิจการร่วมค้า NVPSKG ได้ยื่นคำร้องให้อนุญาตโตตุลาการเข้ามาไกล่เกลี่ย หาข้อยุติ โดยเฉพาะการเรียกร้องให้จ่ายเงินที่เหลืออยู่    
    ด้านหนึ่งผลการดำเนินคดีอาญา โดย ป.ป.ช. และศาลอาญา ปรากฏว่า “รัฐชนะคดี” เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคดีทุจริตคอร์รัปชัน 
ป.ป.ช. มีมติเมื่อปี 2550 ชี้มูลความผิดนายวัฒนา อัศวเหม กับเจ้าหน้าที่กรม ที่ดินอีกจำนวนหนึ่ง ฐานใช้อำนาจข่มขืนใจหรือจูงใจให้ราษฎรขายที่ดินให้ และออกเอกสารสิทธิที่ดินโดยมิชอบรุกล้ำที่ดินสาธารณะประโยชน์ 

    ขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษา เมื่อปี 2551 ในคดีหมายเลขดำที่ อม.2/2550 และคดีหมายเลขแดงที่ อม.2/2551 จำคุกนายวัฒนาเป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อาญา) มาตรา 148 แต่ปัจจุบัน นายวัฒนาอยู่ระหว่างหลบหนี ไม่มารับโทษ ตามคำพิพากษา

    ส่วนคดีที่ 2 ป.ป.ช. มีมติเมื่อปี 2554 ชี้มูลความผิดนายวัฒนา รวมถึงอดีตผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ คพ. แต่ให้ยุติการพิจารณาในส่วนของนายยิ่งพันธ์ (เพราะเสียชีวิตไปแล้ว) และยกฟ้องนายสุวัจน์ 

    นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 กรมที่ดินยังได้มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดิน จำนวน 4 ใน 5 แปลง ที่ใช้ในโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน  เนื่องจากมีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ แสดงให้เห็นว่า โครงการนี้มีความ “ไม่ชอบมาพากล” และมีปัญหาเรื่อง “การทุจริต” อย่างชัดเจน

     แต่ผลการตัดสินคดีของอนุญาโตฯ ที่ต่อเนื่องไปยังศาลปกครอง ได้มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของ ศาลปกครองชั้นต้น ให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ซึ่งให้กรมควบคุมมลพิษ ชำระเงินกับบริษัททั้งหกให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด รวมทั้งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดแก่บริษัททั้งหก

    โดยเมื่อปี 2554 อนุญาโตฯ ตัดสินให้ คพ. จ่ายเงินที่ค้างอยู่กับกิจการร่วมค้า NVPSKG ในคดีข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 50/2546 หมายเลขแดงที่ 2/2554 เป็นเงินที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในอัตรา 7.5% ต่อปี และค่าเสียหายอื่นๆ รวมเป็นเงินกว่า 9 พันล้านบาท

    และเมื่อ คพ. นำคดีไปฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ชี้ขาดว่า “คำตัดสินของอนุญาโตฯ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” ปรากฏว่า ทั้งศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด ต่างมีคำพิพากษาว่าคำตัดสินของอนุญาโตฯ ชอบด้วยกฎหมาย

    เมื่อรวมดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ทำให้จนถึงปี 2558 คพ. จะต้องจ่ายเงินให้กับกิจการร่วมค้า NVPSKG เป็นเงินกว่า 9.6 พันล้านบาท โดยที่ไม่ได้อะไรกลับคืนมา แม้แต่บ่อบำบัดน้ำเสียที่จ่ายงบประมาณไปแล้วกว่า 2 หมื่นล้านบาท ก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง จนสุดท้ายต้องทิ้งให้รกร้างว่างเปล่า

    ต่อมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ให้จ่ายค่าโง่ในโครงการคลองด่าน ให้กับกิจการร่วมค่า NVPSKG รวมมูลค่ากว่า 9,600 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด 
งวดแรก จ่าย 40%  เป็นเงิน 3,174,581,566.04 บาทโดยจ่ายไปแล้วเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2558  
งวดที่สอง จ่าย 30% เป็นเงิน 2,380,936,174.53 บาท โดยจะต้องจ่ายภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 
และงวดสุดท้าย จ่าย 30%  เป็นเงิน 2,380,936,174.53 บาทโดยจะต้องจ่ายภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2559

    ซึ่งได้ทำการจ่ายงวดแรกไปเป็นที่เรียบร้อย แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 5เม.ย.59 พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม (ขณะนั้น)ได้สั่งการให้ทางดีเอสไอ และที่กฎหมายตรวจสอบ ทิศทางการจ่ายเงินของภาครัฐสอดคล้องกับคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ตัดสินว่าคดีนี้มาการทุจริตจริง เป็นผลให้ คณะกรรมการธุรกรรมได้มีมติอายัดสิทธิ์ ในการเรียกร้องเงินค่าโง่จากโครงการคลองด่าน ของกิจการร่วมค้า NVPSKG ที่เหลืออีก 2 งวด รวมเป็นเงินกว่า 4,700 ล้านบาท และ 32 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากพบว่าผู้เกี่ยวข้องมีพฤติการณ์ทุจริตและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

    ไม่เพียงแต่การอายัดสิทธิการรับเงินชดเชย 2 งวดดังกล่าวเท่านั้น เมื่อ ปปง.ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ ดีเอสไอ.ให้ดำเนินคดีอาญาฐานฟอกเงินกับ 6 บริษัท และ 1 บุคคล ที่ได้รับเงินตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในงวดที่ 1 เนื่องจากเป็นเงินที่ได้ไปจากการร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐทุจริต และได้อายัดเงินในบัญชีของ NVPSKG มูลค่ากว่า 97 ล้านบาท พร้อมดอกผลอีก 8 หมื่นบาท และได้อายัดเพิ่มเติมอีกประมาณ 100 ล้านบาท เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2559

ทั้งนี้ หากศาลปกครองพิจารณาออกมาเป็นบวกต่อ  กรมควบคุมมลพิษ ก็จะทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดใช้ความเสียหาย 9,000 ล้านบาทให้กับเอกชน โดยที่ผ่านมากรมได้จ่ายค่าชดใช้ความเสียหายงวดแรกไปแล้ว เหลืออีก 2 งวดที่ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.)อายัดไว้ยังไม่ต้องจ่าย ทั้งนี้ยังจะสามารถฟ้องร้องเรียกเงินค่าชดใช้ความเสียหายงวดแรกที่จ่ายไปแล้วคืนได้ด้วย 
    นอกจากนั้นยังสามารถนำผลการพิจารณาคดีไปเรียกเงินค่าก่อสร้างคืนได้ทั้งหมด 1.9 หมื่นล้านบาท รวมทั้งให้ตัวโครงการคลองด่านกลับไปอยู่ในความรับผิดชอบ ของเอกชนซึ่งต้องรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด เพราะขณะนี้โครงการอยู่ ในความรับผิดชอบของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลถึงปีละ 6.6 ล้านบาท

    ทั้งนี้การได้มาซึ่งสัญญาไม่ถูก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับ คดีดังกล่าวด้วย ดีเอสไอจึงทำหนังสือไปถึงอัยยการสูงสุด ฉะนั้นเมื่อศาลอาญาทุจริต บอกว่าได้กระทำความผิด นำมาสู่ถึงการส่งหนังสือด้วยกล่าว และที่สำคัญอัยการสูงสุดก็เห็นว่าโดยมีการฟ้องกับเอกชนผู้เกี่ยวข้องอีกด้วย

    อย่างไรก็ตามงานนี้คงจะต้องยกความดีความชอบให้กับการทำงานของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และพล.อ.ไพบูลย์ ครั้นดำรงตำแหน่งเป็นรมว.ยุติธรรม ซึ่งถาหากเป็นรัฐบาลปกติก็คงจะปล่อยให้ เรื่องนี้ผ่านไปง่ายๆโดยไม่ไม่คิดจะทักท้วงใดใด  และประเทศชาติก็คงจะต้องสูญเสียเงิน "ค่าโง่"  จำนวนมหาศาลถึง 9 พันกว่าล้านบาท ให้กับบิรษัทเอกชนดังกล่าวเป็นแน่