ดูชัดๆใครเป็นเศรษฐีข้ามคืน-หอบเงิน7.75ล้านกลับบ้าน ขณะปปช.จ่อฟัน "ปู1 ยกคณะ" พบ"พะเยา-แม่เกด" ฟอร์มดีอิดออดตอนแรก-สุดท้ายคว้าเช็คเข้ากระเป๋า

ติดตามข่าวสารที่ www.tnews.co.th

อารมณ์ เคนหล้า สำนักข่าว Tnews (แก้ไขล่าสุด 15 ก.ย. 60)
 

ดูชัด ๆ ใครหิ้วเงิน 7.75 ล้านบาทกลับบ้าน แล้วกลายเป็นเศรษฐีในพริบตา เพราะถือว่าเป็นเงินก้อนใหญ่มาก เมื่อเทียบกับรายได้ประชากรของประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย เมื่อเทียบกับรายได้ประชากรต่อหัวต่อปี ที่อยู่ประมาณ 1.7 แสนบาทต่อปี เงินจำนวน 7.75 ล้านบาทนั้น ต้องทำงานสะสมถึง 46 ปี โดยไม่ต้องใช้จ่ายเลย (เก็บอย่างเดียว-แต่ที่ยกตัวอย่างมาไม่ได้หมายความว่า ชีวิตคนสามารถคำณวนเป็นตัวเลขได้น่ะ แค่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นภาพ และงานวิจัยทั่วโลกก็ระบุชัดว่า ไม่มีประเทศไหนจ่ายมากเท่านี้) โดยหนึ่งในผู้รับเงินก้อนใหญ่ก็คือ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ศพวัดปทุมฯ (ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ชัดว่า ใครเป็นคนฆ่า-เพราะมีหลายชุดความคิด) ซึ่งตอนแรกนางพะเยา ทำอิดออดที่จะรับเงินเยียวยา และตั้งท่าจะฟ้องแพ่ง และเรียกร้องค่าเสียหายจาการเสียชีวิตของลูกสาว สุดท้ายก็ถอนฟ้อง และรับเช็คเงินสดไป ขณะที่  น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. (ที่เข้ามาทำหน้าที่แทนนายวิชา มหาคุณ) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนี้ ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า คดีดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลายคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. คาดว่าภายในเดือน ก.ย. 2560 ชี้มูลได้ ซึ่งล่าสุดวานนี้ (14 ก.ย. 60) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. ได้ออกมาเปิดเผยคดีนี้อีกครั้งว่า...การสอบสวนทุกอย่างใกล้แล้วเสร็จเต็มที


หากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคดีนี้ ต้องย้อนไปช่วงกลางปี 2558 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดที่มีนายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เป็นประธาน ได้ไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปลายปี 48 ถึงเดือน พ.ค. 53 โดยสำหรับผู้ชุมนุมเสื้อแดงหายตายจะได้คนละ 7.75 ล้านบาท ส่วนที่บาดเจ็บก็ลดหลั่นกันไป  ซึ่งทาง ป.ป.ช. ระบุสิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำนั้น ไม่มีกฎหมายรองรับ และมีผู้สันทัดกรณีหลายคนร้องเตือนแล้ว โดยผู้ถูกกล่าวหาในครั้งนั้น เป็นรัฐมนตรีรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ทั้งคณะ รวม 34 คน

 
การจ่ายเงินครั้งนั้นเป็นข่าวใหญ่โต เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2555 หรือหลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมพฤษภาคม 2553 ผ่านไปแล้ว 2 ปีในยุครัฐบาลปู 1 ซึ่งว่าไปแล้วเรื่องนี้แทบเป็นภาระกิจแรก ๆ ที่ ครม.ยิ่งลักษณ์ผลักดันหลังเข้าจัดตั้งรัฐบาล

โดยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีมอบเงินเยียวยาแก่ผู้เสียหายอย่างที่กล่าวเมื่อวันที่ 24 พ.ค.2555 โดยนายยงยุทธ อ้างในวันนั้นว่า การเยียวยาครั้งนี้จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความปรองดองในชาติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นโดยที่รัฐไม่สามารถป้องกันได้ รัฐบาลจึงมีหน้าที่เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยรัฐบาลต้องดำเนินการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในชาติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ 
       
“การจ่ายเงินเยียวยาเพื่อมนุษยธรรมในวันนี้ไม่สามารถลบล้างความสูญเสียทั้งหมดให้หายสิ้นไปได้ แต่อย่างน้อยจะสามารถทำให้ประคับประคองชีวิตครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ดำเนินชีวิตก้าวเดินต่อไปในวันข้างหน้าได้อย่างปกติสุข” นายยงยุทธ อ้าง

อย่างไรก็ตาม รอบแรกที่นายยงยุทธ มอบเงินนั้น มีผู้เข้ารับมอบเงินเยียวยา 524 ราย ส่วนผู้เสียชีวิตมีจำนวน 44 ศพ ญาติจะได้จากกรณีนี้ 7.75 ล้านเต็มๆ โดยผู้ได้รับเงินจะได้รับเป็น 2 ส่วน แบ่งเป็นเช็คเงินสด 3 ล้านบาทหนึ่งฉบับ (กรณีเสียชีวิต) ตามหลัก และสั่งจ่ายในรูปแบบสลากออมสินตามจำนวนเงินที่เหลือ (ลดหลั่นกับไปตามเงื่อนไข)

ขณะที่หนึ่งในผู้รับเงินก้อนใหญ่ก็คือ นางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ศพวัดปทุมฯ ซึ่งตอนแรกนางพะเยา ทำอิดออดที่จะรับเงินเยียวยา และตั้งท่าจะฟ้องแพ่ง และเรียกร้องค่าเสียหายจาการเสียชีวิตของลูกสาวสุดท้ายก็ถอนฟ้อง และรับเช็คเงินสดเข้ากระเป๋าไป โดยนายยงยุทธ ตอบผู้สื่อข่าวกรณีนี้ในวันนั้นว่า "ครอบครัวอัคฮาด" เรื่องการฟ้องร้องดังกล่าว ได้ทำความเข้าใจแล้ว จะพูดแต่ข้อกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพูดถึงความเข้าใจด้วย จากการพูดคุยครั้งนี้ ครอบครัว น.ส.กมนเกด ยอมรับเงินเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว และจะไม่ฟ้องร้องหน่วยงานภาครัฐอีก

 

ขณะที่ นางพะเยา เอ่ยปากถึงเรื่องนี้ในวันนั้นเองว่า ฝ่ายรัฐบาลได้ชี้แจงสิ่งที่ไม่เคยอธิบายต่อประชาชนว่า มีรายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ อย่างไรบ้าง "ทำให้พวกเราเข้าใจแล้ว และรับได้" อีกทั้งเรายังมีสิทธิ์ฟ้องทางแพ่งได้ ส่วนจะฟ้องใครบ้างนั้นต้องขอปรึกษาทนายความก่อน สำหรับปัญหานี้เกิดจากความไม่เข้าใจ และการไม่สื่อสารในรายละเอียดให้ประชาชนรับทราบตั้งแต่แรก

 

ถ้อยคำที่นางพะเยา ระบุเองในวันนั้นว่า "ทำให้พวกเราเข้าใจแล้ว และรับได้" ทำให้พอจะอนุมานอะไรได้หลายอย่าง อย่างน้อยก็เห็นความเป็นเนื้อเดียวกันของ อัคฮาด-เสื้อแดง-และพรรคเพื่อไทย แต่เรื่องไม่ง่ายอย่างที่คิด ไม่ใช่ว่ารับเงินแล้วจบ ๆ กันไป เพราะเรื่องนี้หลายฝ่ายก็ท้วงติงแต่แรกแล้วว่า มันส่อผิดกฎหมาย และเป็นตัวเลขที่มากเกินจริง การเยียวยาทำได้ แต่ต้องอยู่บนสมมติฐานที่เป็นจริง ไม่ใช่นึกอยากจะให้เท่าไหร่ก็ได้ และจากการเปิดผลการวิจัยทั่วโลกเกี่ยวกับการเยียวยาการขัดแย้งทางการเมือง ก็ไม่เคยมีประเทศใดจ่ายสูงขนาดนี้มาก่อน เพราะมันเป็นดาบ 2 คม ทำให้ "ผู้คนในม็อบ" กลายเป็นคนบ้าคลั่งได้ เพราะมีเงินก้อนใหญ่ล่ออยู่ตรงหน้า และทันทีที่เกิดการจ่ายเงินเยียวยา ฝ่ายค้านในขณะนั้นก็ยื่นฟ้องรัฐบาล เพราะการจ่ายเงินไม่มีกฎหมายรองรับอย่างที่กล่าว

 

...และนำมาซึ่งการตายหมู่ของรัฐบาลหญิงปู ตามที่ ป.ป.ช. ได้เปิดเผยเมื่อวาน...แต่เวลาก็ล่วงเลยมาจน 4-5 ปีเข้านี่แล้ว...และบางคนก็ กลายเป็นเศรษฐีใชีชีวิตอู้ฟู่จากเงินก้อนโต 7.75 ล้านบาทไปแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าล่าสุดต่อกรณีนี้ วานนี้ (14 ก.ย. 60) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าของคดี ครม. หญิงปู นำเงินแผ่นดินไปแจกคนของตัวเองในกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้อยู่ระหว่างการไต่สวนขององค์คณะไต่สวน ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. 9 ราย โดยกรรมการฯ กำลังพิจารณา และมีการประชุมองค์คณะอยู่ตลอด โดยประธาน ป.ป.ช. ระบุด้วยว่า ในเดือน ก.ย.นี้ ป.ป.ช. น่าจะมีเรื่องที่แล้วเสร็จ และ ป.ป.ช.จะสามารถชี้มูลความผิดในคดีใหญ่ๆ ได้ในเดือนนี้ (ซึ่งหลายคนก็ลุ้นว่าจะเป็นคดีนี้หรือไม่ เพราะ น.ส.สุภา กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีนี้ ได้ออกมาเปิดเผยว่า คดีดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลายคดีที่อยู่ระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. คาดว่าภายในเดือน ก.ย. 2560 ชี้มูลได้)