ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

          1 สิงหาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงประกอบ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เถลิงถวัลยราชสมบัติ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อย่างเต็มกระบวนการเยี่ยงอย่างบรรพราชประเพณีสืบ ๆ มา หลังจากที่เสด็จเสวยราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2367 พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2330 ทรงเป็นราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับ เจ้าจอมมารดาเรียม ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ได้ทรงรับราชการหลายตำแหน่ง อาทิ กำกับราชการกรมท่าและกรมตำรวจ ทรงว่าราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ เป็นแม่กองกำกับลูกขุน ณ ศาลหลวงและตุลาการทุกศาล ทรงค้าขายทางสำเภาจีน นำเงินรายได้เข้าท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนา รวบรวมสรรพตำราวิทยาการต่าง ๆ พัฒนาการเศรษฐกิจไทยหลาย ๆ ด้าน โดยการเจริญสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ ทำให้รัฐมั่งคั่งเป็นอันมาก เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2393 สิริรวมพระชนมายุ 67 พรรษา ทรงครองราชย์นาน 27 ปี

             คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า” แปลว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่

 

ที่สุดของพระมหากรุณาธิคุณ!! การกอบกู้เอกราชครั้งสำคัญด้วย “เงินถุงแดง” พระปรีชาใน "ในหลวงร.3" สมสมัญญา “เจ้าสัว” ที่พระราชบิดาทรงเรียก

(พระราชลัญจกรประจำพระองค์ ในรัชกาลที่ 3)

ที่สุดของพระมหากรุณาธิคุณ!! การกอบกู้เอกราชครั้งสำคัญด้วย “เงินถุงแดง” พระปรีชาใน "ในหลวงร.3" สมสมัญญา “เจ้าสัว” ที่พระราชบิดาทรงเรียก

(พระราชลัญจกรรูปปราสาทเป็นพระราชสัญลักษณ์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ทับ" หมายความว่า ที่อยู่หรือเรือน ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างรูปปราสาท เป็นพระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ แทนพระบรมนามาภิไธย)

พระราชกรณียกิจอันสำคัญในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลากหลายด้านด้วยกัน แต่ที่โดดเด่นมีคุณูประการต่อประเทศอย่างมหาศาลในกาลต่อมาสืบจนปัจจุบัน เป็นเรื่องการป้องกันราชอาณาจักรและการค้าขายกับต่างประเทศ จนทำให้ประเทศไทยสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ

  

พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

  เหตุการณ์สำคัญ ในการกอบกู้เอกราช ด้วยเงิน “ถุงแดง” และการสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์  

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ ประเทศไทยมีเรื่องพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือเรื่องเมืองไล อันเป็นเมืองอยู่ในดินแดนสิบสองจุไท ตรงตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง ซึ่งขณะนั้น เป็นดินแดนของไทย ไทยถือว่า เมืองไล เป็นดินแดนของไทย จีนก็ถือว่าเป็นของจีน และฝรั่งเศสก็ถือว่าเป็นของฝรั่งเศส จึงมีการเจรจากันเพื่อรังวัด แต่เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ เพราะฝรั่งเศสคอยพาลกลาวหาว่า ไทยรุกล้ำดินแดนญวนและเขมร ซึ่งฝรั่งเศสยึดครองเป็นอาณานิคมไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้รวมเมืองต่างๆขึ้นเป็นภาค เช่น ภาคอุดร ภาคอีสาน ภาคลาวพวน ลาวกาว ลาวพุงขาว ต่อมาเกิดกรณีพิพาทในการรังวัดเขตแดน เช่น แย่งปักธงในทุ่งเชียงคำ เขตลาวพวน และถึง พ.ศ.๒๔๓๖ เกิดกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อสู้กับ นายทหารฝรั่งเศส ซึ่งจะขับไล่ไทยออกจากเมืองคำม่วน ฝ่ายฝรั่งเศสแพ้ นายทหารฝรั่งเศสตาย ๑ คน ทหารญวนตายประมาณ ๒๐ คน ไทยตาย ๕-๖ คน

 

          รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบโคเมต์ กับเรือลังกองสตอง เข้ามาในน่านน้ำไทย สมทบกับเรือลูตัง ซึ่งเข้ามาจอดอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ทั้งนี้ก็เพราะฝรั่งเศสมีเจตนาจะยึดครองดินแดนไทยให้ได้

 

          เมื่อเรือทั้ง ๒ ลำของฝรั่งเศสเข้ามาถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า เรืออรรคเรศของไทยจึงยิงเรือรบฝรั่งเศสเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติไทย ขณะนั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจและประสงค์จะยึดครองไทยเป็นอาณานิคม เหมือนดังที่ยึดครองดินแดนประเทศต่างๆในอินโดจีนไว้หมดแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงต้องทรงดำเนินนโยบาย เสียน้อยเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ มีการเจรจาตกลงกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งในที่สุดไทยต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศส เป็นเงิน ๓ ล้านบาท และไทยต้องสละสิทธิในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นประกัน ซึ่งยึดไว้เป็นเวลานานถึง ๑๐ ปี

ที่สุดของพระมหากรุณาธิคุณ!! การกอบกู้เอกราชครั้งสำคัญด้วย “เงินถุงแดง” พระปรีชาใน "ในหลวงร.3" สมสมัญญา “เจ้าสัว” ที่พระราชบิดาทรงเรียก

 

          สมภพ จันทรประภา อดีตรองอธิบดีกรมศิลปากร เขียนเล่าไว้ว่า

          “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงนำเงินที่ใส่ ‘ถุงแดง’ จำนวนสามหมื่นชั่ง (๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท) ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้สำหรับแผ่นดิน และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงนำไปใช้จ่าย มาทรงใช้ในการนี้ และส่วนที่ยังขาดอยู่ ๖ แสนบาทนั้น ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบรมวงศานุวงศ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายในช่วยกันออก ส่วนใหญ่เป็นของ สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ที่ทรงเก็บไว้ใต้ถุนตำหนัก”

   จึงนับได้ว่า “เงินถุงแดง” นี้ ช่วยรักษา “เอกราช” ของชาติไว้ได้หาไม่แล้ว ความพยายามหลากหลายวิธีของฝรั่งเศสก็จะต้องสัมฤทธิผลและไทยจะต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับระเทศเพื่อนบ้านของไทย แต่เป็นบุญของชาติไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงรักชาติบ้านเมือง ทรงรักและซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินและประชาชนดังเช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพสกนิกรไทยทั้งปวงสมควรน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ยิ่งใหญ่ไพศาลตลอดกาล

 

ด้านการค้ากับต่างประเทศ

พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมาก

ที่สุดของพระมหากรุณาธิคุณ!! การกอบกู้เอกราชครั้งสำคัญด้วย “เงินถุงแดง” พระปรีชาใน "ในหลวงร.3" สมสมัญญา “เจ้าสัว” ที่พระราชบิดาทรงเรียก

 

เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3

 

ที่สุดของพระมหากรุณาธิคุณ!! การกอบกู้เอกราชครั้งสำคัญด้วย “เงินถุงแดง” พระปรีชาใน "ในหลวงร.3" สมสมัญญา “เจ้าสัว” ที่พระราชบิดาทรงเรียก

 

พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี

 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี

 

ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 5 คน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษา

 

แหล่งข้อมูล : วิกิพีเดีย / บทความจาก “สมภพ จันทรประภา”