เอาแล้วสิ!! เต้น จี้ ป.ป.ช. รื้อคดี "มาร์ค - สุเทพ - อนุพงษ์" ปราบม็อบเสื้อแดงปี 53

เอาแล้วสิ!! เต้น จี้ ป.ป.ช. รื้อคดี "มาร์ค - สุเทพ - อนุพงษ์" ปราบม็อบเสื้อแดงปี 53

      มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติยกฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี และพวกในคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(นปช.) ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของโจทย์คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่าจะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือหรือไม่ 

 

 

ความเคลื่อนไหวที่ว่านี้คือความเคลื่อนไหวจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ที่นำโดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ซึ่งสั่งให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมข้อมูลอันเป็นหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการสลายการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ที่ป.ป.ช.เคยตีตกไปก่อนหน้านี้ 
 

นายณัฐวุฒิ ต้องการให้ ป.ป.ช.หยิบยกคดีนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ เพราะเมื่อเทียบเคียงกับคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ กับการสลายการชุมนุมของเสื้อแดงแล้ว นับว่าไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะในคดีสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นจำเลย ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุด แต่อัยการสูงสุด มีมติไม่ส่งฟ้องศาล ต่อมา ป.ป.ช.จึงฟ้องศาลเอง และศาลก็ได้ยกฟ้องในที่สุด

 

 

 

 

ขณะที่คดีสลายการชุมนุมเสื้อแดงที่กล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) กับพวก ป.ป.ช.เจ้าของสำนวนกลับตีตก ไม่ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องศาล ทำให้กระบวนการต้องหยุดชะงักงันลงทันที ด้วยเหตุนี้ นปช.จึงคิดว่าไม่ได้ความเป็นธรรม

สำหรับคดีสลายการชุมนุมเสื้อแดงในวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากนั้น ป.ป.ช. เห็นว่า นปช.ชุมนุมอยู่ในช่วงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และมีคำพิพากษาของศาลว่าการชุมนุมของกลุ่ม นปช. มิใช่การชุมนุมโดยสงบตามรัฐธรรมนูญ มีบุคคลที่มีอาวุธปืนปะปนอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. มีเหตุจำเป็นที่ ศอฉ. ต้องใช้มาตรการขอพื้นที่คืน เพื่อให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมือง 
 

อีกส่วน ป.ป.ช.มีมติส่งเรื่องการดำเนินการของทหารที่ให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บรวมถึงนายทหารระดับผู้บังคับบัญชา ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการต่อ

 

 

 

 

      ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลในขณะนั้นไม่ระงับยั้งและทบทวนวิธีการปฏิบัติ ป.ป.ช. ชี้ว่า ศอฉ.ได้ทบทวนปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยไม่ใช้กำลังเจ้าหน้าที่เข้าผลักดันผู้ชุมนุมอีกต่อไป แต่ ใช้มาตรการตั้งด่านตรวจ หรือจุดสกัดปิดล้อมวงนอกไว้โดยรอบ เพื่อให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุมไปเอง แต่ในวันที่ 19 พฤษภาคม 53 เจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนกำลังเข้าไปควบคุมพื้นที่บริเวณสวนลุมพินี โดยไม่ได้มีการผลักดันต่อผู้ชุมนุมที่แยกราชประสงค์โดยตรง แต่เป็นการกดดันต่อกองกำลังติดอาวุธที่ยึดสวนลุมพินีอยู่ ซึ่งการปฏิบัติในการกระชับพื้นที่สวนลุมพินี เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยประกาศให้ผู้ชุมนุมออกไปจากพื้นที่ก่อน หลังจากประกาศแล้ว เจ้าหน้าที่จึงเข้าไป 

 

 

       กระนั้นเรื่องดังกล่าวก็ยังคาใจแกนนำเสื้อแดงมาโดยตลอด แม้จะเป็นที่แน่ชัดว่า ป.ป.ช.ตีตกข้อกล่าวหารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพราะเห็นว่า การชุมนุมของ นปช.ไม่ใช่การชุมนุมที่สงบ ขัดรัฐธรรมนูญและขัดกฎหมาย
/////