รู้เท่าทันแชร์ลูกโซ่!! ก่อนตกเป็นเหยื่อ และวิธีรับมือแก้ปัญหาเมื่อตกเป็นเหยื่อ

 

    สืบเนื่องจากกรณีที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ได้DSI บุกจับแชร์คอร์สสัมมนาลูกโซ่ ที่มีผู้เสียหายกว่า 4000 รายและเสียหายร่วม 2000 ล้านบาท  
    ซึ่งนับว่าคดีทำนองดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้เกิดึ้นเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้เองก็เคยมีมาแล้ว เช่น ที่เพิ่ง จบไปหมาดๆไม่นานและคิดว่าหลายคนคงจะยังไม่ลืมนั่นคือกรณีของซินแส  โชกุน  แก๊งต้มตุ๋น ลูกโซ่ที่ชักชวนผู้เสียหายทำทีว่าให้เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกของบริษัทอาหารเสริม โดยถ้าหากเป็นสมาชิกแล้วก็จะได้รับสิทธิ์เที่ยวต่างประเทศ แต่สุดท้ายกลับถูกลอยแพที่สนามบินสร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 51 ล้านบาท     หลายคนอาจจะกำลังระแวงว่าแล้วอย่างนี้เราจะระวังภัยจากบริษัทจอมฉ้แแลเหล่านี้ได้อย่างไร และแยกให้ออกจากบริษัทขายตรงทั่วไปได้อย่างไร  เจ้าธุรกิจอุบาทว์ เหล่านี้มีข้อสังเกตุอยู่ที่
  

 -มักจะอ้างเรื่องการระดมทุนไม่อั้น ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาลงทุนกับธุรกิจเครือข่ายนี้ได้ รวมทั้งยังได้รับเงินส่วนต่างพิเศษเพิ่มอีก หากมีการชักชวนคนอื่นให้เข้ามาลงทุนด้วย
    - ทำแล้วผลตอบแทนสูงมาก    มีการรองรับผลตอบแทนที่จะได้สูงมาก ๆ จากการลงทุนในระยะเวลาอันสั้น เพื่อเรียกความสนใจให้เราเข้าไปลงทุน และหว่านล้อมด้วยวิธีต่าง ๆ ให้เรารีบตัดสินใจเข้าลงทุน

       - จะหาที่มาที่ไปหรือตรวจสอบข้อมูลการเงินไม่ได้
          เป็นบริษัทที่ไม่สามารถตรวจสอบงบการเงิน หรือข้อมูลการทำธุรกิจได้ ว่าได้กำไรมาจากไหน เอาเงินที่ได้ไปทำอะไรบ้าง รวมถึงไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินที่ได้รับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือได้ ทั้งนี้ เราสามารถตรวจสอบงบการเงินเบื้องต้นของแต่ละบริษัทได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ หรือเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

              -เชียร์อัพ หว่านล้อมให้เรารีบตัดสินใจลงทุน
          ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ มีจุดประสงค์หลักคือขยายเครือข่ายไปให้มากที่สุด ดังนั้นจึงต้องหาสมาชิกเข้ามาลงทุนด้วยมาก ๆ ซึ่งหากสังเกตได้ว่ามีการหว่านล้อมให้เรารีบเข้าลงทุนโดยเร็ว หรือสร้างบรรยากาศต่าง ๆ ให้คนอยากเข้าลงทุนมากจนเกินปกติ ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่   

           - จัดอบรมสัมมนาใหญ่โต
          มีการจัดงานอบรมสัมมนาใหญ่โต แล้วเชิญเราเข้าไปรับฟังแผนธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัท แต่จริง ๆ แล้วมีจุดประสงค์เพียงแค่ต้องการให้คนเข้าร่วมสัมมนาคล้อยตามและรีบสมัครเป็นสมาชิก 

            -มีการอ้างถึงบุคลดัง มีชื่อมีเสียงอยู่ในวงร่วมลงทุนด้วย
          เป็นวิธีหลอกล่อให้คนสนใจร่วมลงทุนมากขึ้น โดยการอ้างบุคคลที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นนักแสดง นักร้อง หรือนักธุรกิจชื่อดัง ว่าได้ร่วมลงทุนในธุรกิจนี้เช่นกัน

         และจะบอกว่าแชร์ถูกโซ่ ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเพราะเข้าข่ายการฉ้อโกง และหลอกลวงผู้บริโภคให้หลงเชื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานฉ้อโกง และพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 โดยมีโทษจำคุกกระทงละ 3-5 ปี และโทษปรับวันละ 1 หมื่นบาท 

          รวมทั้งอาจยังเข้าข่าย ความผิดฐานฟอกเงินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีโทษโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

   
 

   ส่วนผู้ที่สงสัยว่าตัวเองกำลังถูกหลอกให้เข้าร่วมกับกลุ่มเหล่านี้หรือไม่ หรืออาจจะถูกหลอกไปแล้วไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร สามรถนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้ได้
    1. เก็บรวบรวมหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือสัญญา หลักฐานการโอนเงิน เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่สำนักงาน หรือรูปถ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          2. รีบเข้าแจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีเอาผิดตามกฎหมาย โดยสามารถเข้าแจ้งความร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสที่น่าสงสัยได้ที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) หรือโทร. 1202 

          นอกจากนี้ ยังสามารถใช้แอปพลิเคชัน บนมือถือของดีเอสไอที่ชื่อว่า "DSI (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)" ทั้งระบบ Android และ IOS เพื่อใช้ในการร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส ได้อีกทาง  

แชร์วนไป!! รู้เท่าทันแชร์ลูกโซ่ ก่อนตกเป็นเหยื่อ และวิธีรับมือแก้ปัญหาเมื่อตกเป็นเหยื่อ(มีคลิป)

 แต่สิ่งที่เป็นที่น่าเป็นห่วงคือขณะนี้การจะเอาผิดนั้นยังเป็นไปได้ยากและไม่สามารถทำการเข้าจับกุมได้ในทันทีต้องรอให้มีผู้เสียหายมาร้องเรียนเสียก่อน  จึงจะดำเนินการได้ เป็นที่เข้าใจดีว่าในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่ว่าใครก็อยากหางานที่ได้ค่าตอบแทนสวยหรูทั้ง  แต่อย่างไรก็ตามต้องเช็คให้ดีก่อนจะตกเป็นเหยื่อแก๊งต้มตุ๋นในคราบของคอร์สสัมมนาแชร์ลูกโซ่ก็เป็นได้

    อย่างไรก็ดีสามารถร้อนเรียนหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ได้ที่
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) โทร. 1166 

- กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โทร. 1202

- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 1570

- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 1207

- ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
กรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)
kapook.com