"สนธิญาณ" ถามตรง !! "สุริยะใส-ศิริชัย" ตอบชัด สลายม็อบพันธมิตรฯ ทำไมต้องอุทธรณ์ ???

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ www.tnews.co.th

สนธิญาณ : สวัสดีครับท่านผู้ชมครับ ก็มาพบกันเช่นเคย วันนี้สนธิญาณไม่ได้มาฟันธงเอง แต่มีคนจะมาช่วยฟันธง ประเด็นที่ยังค้างคาใจผู้คนทั้งประเทศอยู่ในขณะนี้ การค้างใจแล้วแต่ค้างคาใจในรูปแบบใด แต่สาระสำคัญก็คือ เป็นเหตุสะเทือนใจ เป็นเหตุที่ผู้คนได้พูดถึงกันทั้งประเทศ นั่นก็คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 คือการเข้าสลายม็อบการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างรุนแรง จนมีคนบาดเจ็บและล้มตาย แน่นอนครับเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมืองได้ตัดสินยกฟ้อง แต่ภาระอันหนักหน่วงในขณะนี้แบกรับอยู่ที่ ปปช. แขกรับเชิญในวันนี้อยู่ในฐานะผู้เสียหายและเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ แน่นอนครับต้องการให้มีการอุทธรณ์ในขณะนี้ ท่านแรกก็คือ ดร.สุริยะใส กตะศิลา รองคณะบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตอันสำคัญที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก็คือ เป็นอดีตผู้ประสานงานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ส่วนอีกท่านหนึ่งคุณศิริชัย ไม้งาม อดีตหมาด ๆ ก็คือ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. แต่ตำแหน่งที่แท้จริงและเป็นเรื่องที่เจ้าตัวภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ก็คืออยู่ในฐานะอดีตผู้นำแรงงานผู้ที่ทำประโยชน์ต่อสู่ให้กับพี่น้องผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะในภาครัฐวิสาหกิจ นั่นก็คือ อดีตประธานสหภาพแรงงานไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อดีตสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สวัสดีครับคุณศิริชัย สวัสดีครับคุณสิริยะใส ทั้งสองท่านอยู่ในเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จะอุทธรณ์หรือไม่ และทำไมเหตุผลอะไรถึงต้องอุทธรณ์ก็ต้องมาทบทวนเรื่องให้ท่านผู้ชมได้เข้าใจเรื่องตามกันไปก่อน หลังจากที่พรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีที่ชื่อสมชาย วงษ์สวัสดิ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี มีพล.อ.ชวลิต บงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี มีนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ก็มีการนัดประชุมในการที่จะแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 กลุ่มพันธมิตรชุมนุมเพื่อที่จะคัดค้าน ปรากฏว่าวันนั้นได้เกิดเหตุอันเศร้าสะเทือนใจในการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างรุนแรง ซึ่งยังไม่ลงในรายละเอียด มีผู้บาดเจ็บล้มตายตามที่ได้เรียนไปแล้ว หลังจากนั้นอีกประมาณวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ก็มีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ 20 คน ยื่นเรื่องกล่าวหานายสมชาย วงษ์สวัสดิ์, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ, พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว 2 คนหลังเป็น ผบ.ตร. กับเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่าขอให้ ปปช. ช่วยชี้มูลความผิดอาญาฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายกับผู้หนึ่งผู้ใด ตามมาตรา 157 ปปช. ได้ใช้เวลาพิจารณา 1 ปี วันที่ 7 กันยายน 2552 ปปช. ได้ชี้มูลความผิดบุคคลทั้ง 4 ไม่เพียงเท่านั้น ปปช. ยังชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ, พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ยื่นเรื่องให้ทั้งสังกัดพิจารณามีการปลด พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากตำแหน่ง ผบ.ตร. ในเวลาถัดมา ตรงนี้ก็เป็นปมประเด็นค้างคาใจกันต่อมาอีก เกี่ยวเนื่องกับการอุทธรณ์หรือไม่ของ ปปช. เพราะว่ามีชื่อของ  พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งตัวละคร พล.ต.อ.วัชรพล เมื่อครั้งยังเป็นผู้ช่วย ผบ.ตร. ในยุคที่สมัยพล.ต.อ.พัชรวาท เป็น ผบ.ตร. ปรากฏว่าได้รับความไว้วางใจ พล.ต.อ.พัชรวาท ตั้งให้เป็นโฆษกถึงต้องถือว่าต้องไว้ใจมาก ๆ เข้ามาเป็นโฆษก เห็นถึงความสัมพันธ์ ไม่เพียงเท่านั้นปรากฏว่าเมื่อมีการยึดอำนาจของ คสช. ก็ตั้ง พล.ต.อ.วัชรพล มารักษาการ ผบ.ตร. แทน พล.อ.อดุลย์ แสงสีแก้ว ก็ค่อย ๆ ขมวดปมเข้ามานะครับ หลังจากนั้น พล.ต.อ.วัชรพล เมื่อเกษียณอายุราชการจากตำรวจ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เท่ากับเป็นเลขาของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ยิ่งผูกเข้าไปอีก เคยเป็นคนสนิทของน้องชาย ตอนนี้มาทำงานกับพี่ชาย หลังจากนั้นลาออกจากรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมาดำรงตำแหน่งประธาน ปปช. เรื่องมาจบสุดท้ายที่ตรงนี้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 พอมาเป็นประธาน ปปช. เรื่องที่ทำให้เกิดเหตุเป็นปัญหาใหญ่โตขึ้นมาถึงขนาดนี้ ทำให้คนเขาตั้งคำถามกับ ปปช. ว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ เนื่องจากว่าท่านมีแนวคิดในการที่จะให้มีการถอนฟ้องคดีที่มีผู้ร้องขอความเป็นธรรม แล้วเผอิญคดีสลายม็อบการชุมนุมของพันธมิตร พล.ต.อ.พัชรวาท และคณะ รวมทั้งคุณสมชายก็ร้องขอความเป็นธรรมมา แต่ตรงนี้ก็ให้ความเป็นธรรมก่อนเหมือนกัน เพราะหลังจากนั้นศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งคืนตำแหน่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท คสช. จึงมีคำสั่งคืนตำแหน่งให้ พล.ต.อ.พัชรวาท  นี่ต้องให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายว่ามีกระบวนการกฎหมายนี้ ผมเกริ่นมาให้แบบนี้ขอใช้เวลาช่วงแรกสักนิดนึง  คุณสุริยะใสฟังข้อมูลแบบนี้แล้วเห็นว่าเป็นอย่างไร 

 

สุริยะใส : ผมเติมเหตุการณ์สำคัญสัก 2 เหตุการณ์ได้ไหมครับ

 

สนธิญาณ : ด้วยความยินดีครับ

 

สุริยะใส : อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีโดยตรงแต่ว่าเป็นบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย หลัง 7 ตุลาคม 2551 ต่อมาวันที่ 9 ตุลาคม หลังเหตุการณ์ 2 วัน เราไปร้องศาลปกครองให้ไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้ตำรวจสลายการชุมนุม เพราะหลังวันที่ 7 ตุลาคม จบลง ข่าวที่จะลุกคืบไปสลายในทำเทียบมีข่าววงในค่อนข้างทางสูง ศาลปกครองท่านมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังเข้าไปสลายการชุมนุมในที่ใด ๆ ก็ตาม อันเนื่องจากวันที่ 7 ท่านก็เห็นว่ามากเกินไป เพราะหลังจากนั้นศาลปกครองกลางได้พิพากษา พอดีว่าเกินไปใช้กำลังใช้ความรุนแรงเกินไป นี่คือวันที่ 9 ตุลาคม หลังเกิดเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2 วัน ถัดมาอีก 9 วัน คือวันที่ 16 ตุลาคม 2551 ผู้บัญชาการสามเหล่าทัพนำโดยพล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. พล.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. และ พล.ต.อ.พัชรวาท  วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ก็ไปนั่งด้วยในรายการช่องสาม พล.อ.อนุพงษ์ท่านพูดผ่านรายการว่า ท่านไม่รู้เรื่องที่ตำรวจใช้ความรุนแรงเลย ถ้าท่านรู้มาก่อนท่านจะยับยั้งถึงที่สุดจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นเด็ดขาด ท่านพูดทำนองเสียใจมาก ถ้าท่านเป็นนายกท่านจะลาออก และท่านพูดทิ้งท้ายก่อนปิดรายการว่า เหตุการณ์แบบนี้จะไม่มีคนรับผิดชอบได้อย่างไร ความรุนแรงทางการเมืองแบบนี้ สองเหตุการณ์ที่ผมคิดว่ามีนัยยะที่เราดูเหตุการณ์เราก็ต้องดูทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะวันที่ 7 ตุลาคม  ส่วนเรื่องอุทธรณ์ที่คุณสนธิญาณชี้ประเด็น นี่เป็นข้อกังวลของเรา เรื่องที่กรรมการระดับท่านประธานอาจจะมีส่วนได้เสียกับจำเลยอะไรตรงนี้ นี่เป็นเรื่องใหญ่อยู่ผมก็นั่งคิดดูว่า วิธีพิจารณาของ ปปช. อาจจะต้องไปดูว่า กรณีกรรมการมีส่วนได้เสียจะต้องไต่สวนด้วยหรือไม่ หรือต้องถอนตัวออกมา ในแง่มารยาทเขาไม่ทำกัน  

 

สนธิญาณ : คุณศิริชัยขอช่วงแรกสักหน่อยก่อนครับ

 

ศิริชัย : จริง ๆ ก็คำพิพากษาออกมา ในฐานะที่เป็นผู้ที่ส่วนในการที่ดูแลมวลชนที่ไปชุมนุมที่รัฐสภา

 

สนธิญาณ : จริง ๆ คือผู้ที่รักษาความปลอดภัยในตอนนั้น

 

ศิริชัย : อยู่หน้าสภาเพราะเป็นแกนนำรุ่นสองด้วย แต่เราก็คิดว่าเราพยายามที่จะยกระดับก็คือการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธซึ่งพันธมิตรคิดเรื่องนี้มาโดยตลอดว่าจะไม่มีการใช้ความรุนแรง ในความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ กับผู้ชุมนุมที่มือเปล่า อาจจะมีรายละเอียดในการพูดคุยกันว่า ที่มีการบอกว่าเราจะบุกไปในรัฐสภานั้นไม่เป็นความจริง

 

สนธิญาณ : ยังเป็นข่าวอยู่ ยังไม่มีความจริง ยังไม่เกิดปรากฏขึ้นมา

 

ศิริชัย : พอเกิดความรุนแรงเกิดขึ้น ผมก็คิดว่ากระบวนการของเราที่จะใช้กลไกไม่ว่าจะเป็นองค์กรอิสระเพื่อจะทำหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับผู้ชุมนุมและผู้บาดเจ็บ ผู้สูญเสีย แต่สุดท้ายคำพิพากษาออกมาทำให้เห็นว่า แกนนำก็ต้องดูว่าจะให้ความเป็นธรรมกับญาติเขาให้เต็มที่

 

สนธิญาณ : ท่านผู้ชมครับช่วงแรกเป็นแบบนี้ ช่วงที่สองมาตามกัน เรื่องที่เรากำลังพูดคุยไม่ได้ก้าวล่วงไปถึงคำพิพากษาของศาลกำลังพูดถึงขั้นตอนต่อไปในการที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ และความเหมาะสมบางประการของ ปปช. รวมทั้งข้อเท็จจริงเบื้องลึกเบื้องหลังที่ยังไม่เคยปรากฏ เหมือนที่คุณสุริยะใสทบทวนให้เราฟัง เดี๋ยวช่วงหน้ากลับมาตามกันต่อครับ 
 

 

สนธิญาณ :  .... เนื่องจากว่า เหตุการณ์ในวันนั้น แกนนำพันธมิตรรุ่นหนึ่ง รวมทั้งตัวผู้ประสานงานคือคุณสุริยะใสถูกออกหมายจับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง โดนจับไปแล้ว เมื่อไปเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อีก  4- 5 คนก็อยู่กันในทำเนียบ มีการตั้งแกนนำพันธมิตรรุ่นสองออกมา คุณศิริชัย ไม้งาม, คุณสำราญ รอดเพชร, คุณสาวิทย์ แก้วหวาน ก็นำมวลชนเคลื่อนไหวอยู่ในเหตุการณ์ อยากให้คุณศิริชัยทบทวนเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่เช้าเป็นอย่างไร การยิงเป็นอย่างไร สภาพการณ์เป็นอย่างไร ขอให้ทวนอีกครั้งนะครับ

 

ศิริชัย : ก็เป็นไปตามมติของแกนนำรุ่นหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถออกจากทำเนียบรัฐบาลได้ ก็มีการตั้งรุ่นสองตามที่พี่สนธิญาณบอกสามท่าน เราได้แถลงกับพี่น้องประชาชนและพันธมิตรที่ในทำเนียบ เราบอกไปถึงประชาชนให้เข้าใจว่า วัตถุประสงค์ที่มีความจำเป็นที่ต้องไปที่หน้ารัฐสภา วันนั้นเป็นวันที่ 6 ตุลาคม เกือบค่ำ พอวันที่ 7 ตุลาคม คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ จะต้องแถลงกับรัฐสภาก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ก็เลยทำให้พี่น้องเองก็มีมติเห็นชอบว่าคุณสมชายหมดความชอบธรรม ไม่สมควรที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย เพราะเป็นนอมินีของคุณทักษิณ วันนั้นเราเคลื่อนกันสักหกโมงเย็นของวันที่ 6 ตุลาคม นัดเจอกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ก็เดินกันไปประมาณครึ่งกิโลเมตร ก็ไปที่หน้ารัฐสภาไปถึงประมาณ 6 โมงครึ่ง ก็ใช้รถไม่ได้ตั้งเวที ใช้รถเครื่องขยายเสียงกลายเป็นเวที เพื่อแสดงความเห็นทางการเมืองสลับกับการเล่นดนตรีอะไรต่าง ๆ คืนนั้นเราปักหลักกันทั้งคืนก็มีคนนอนกันอยู่ในพื้นที่ และเราบอกเสมอว่า อย่าไปโดนประตูรั้วโดยเด็ดขาดจองรัฐสภา มีทั้งตำรวจอยู่ด้านใน มีแผงเหล็ก และบอกเสมอว่าใครก็ตามที่ปีนเข้าไปนั้นไม่ใช่พันธมิตร เป็นผู้ที่จะเตรียมสร้างสถานการณ์

 

สนธิญาณ :  ผมยืนยันให้ด้วย เพราะผมไปรายงานข่าวอยู่ในขณะนั้น 

 

ศิริชัย : เราก็ปักหลังกัน จนข้ามคืนตลอดเวลาก็มีการประสานกันไม่ว่าจะเป็นกับคุณสุริยะใส หรือแม้กระทั่งหน่วยผู้พันจ๊อด คุณกิตติชัย ใสสะอาด ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก็คุยโทรศัพท์กันประมาณหกโมง ผมเองก็หวั่น ไม่มีเหตุการณ์อะไรเลยที่ว่าไม่มีการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับแกนนำเลย 

 

สนธิญาณ :  ไม่ได้มีการประสานงาน ผมเรียนท่านผู้ชมแบบนี้ก่อนนะครับ ปกติเวลามีการชุมนุมเขาจะมีการประสานงาน คุณสุริยะใสเป็นคนหนึ่งผมเคยไปยืนสังเกตการจะต้องมีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ ระดับผู้บังคับการ หรือระดับผู้บัญชาการต้องมาคุย แต่นี่ไม่มี วันนั้นมวลชนมีเท่าไหร่ครับ

 

ศิริชัย : ตอนนั้นที่เคลื่อนไปผมว่าประมาณ 4,000 - 5,000 คน แต่พอคืนนั้นอยู่เหลือประมาณ 600 คน ผมก็ถามว่ามีการประสานไหม เขาบอกพี่ไม่มีการประสานอะไรเลย  ไม่มีเหตุการณ์อะไรนะครับ ตอนหกโมงคุยกันครั้งสุดท้ายก็หกโมงก็โอเคฟ้าสว่างแล้ว คงผ่านคืนนี้ไปได้ด้วยดี แต่ที่ไหนได้ พอหกโมงสิบนาทีเสียงแก๊สน้ำตาลูกแรกดังขึ้น จากแยกการเรือนยิงมาตรงถนนอู่ทองใน  ก็เริ่มรู้ว่ามีการยิงอย่างต่อเนื่อง คุณสาวิทย์อยู่ด้านหน้าผมก็ขึ้นเวที ก็ให้พี่น้องถอยมา ผมไม่รู้ว่าความรุนแรงเป็นอย่างไร จนสุดท้ายก็คือการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผมคิดว่าที่อ้างแผนกรกฎ48 ผมคิดว่าทำตามผิดขั้นตอนในทุกเรื่อง

 

สนธิญาณ :  ผมถามนิดนึงครับ ตอนหกโมงสิบนาทีมีการตั้งแผงมาดันด้วยโล่อะไรก่อนไหมครับ

 

ศิริชัย : ไม่มีเลยครับ

 

สนธิญาณ :  มวลชนในขณะนั้นเหลืออยู่ 600 คน แน่นอนครับเรียนย้ำและยืนยันในฐานะที่มีประสบการณ์ในการชุมนุมมาบ้าง ปกติการชุมนุมจะขึ้นสูงสุดจะอยู่ในช่วงทุ่ม - สองทุ่ม เนื่องจากว่าเลิกงานมาร่วมชุมนุมกันได้ พวกที่มาพักค้างแรมค้างคืนก็มีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้นช่วงเช้าเรียกว่าเป็นช่วงที่ปลอด แรกว่าเป็นช่วงที่มีช่องว่างของม็อบทุกม็อบ ของการชุมนุมทุกชุมนุม เขาจึงเลือกช่วงนั้น แต่ไม่มีการผลักดัน ใช้กระบอง ใช้โล่ ใช้น้ำฉีดไม่มี ยิงแก๊สน้ำตาเลย

 

ศิริชัย : ไม่มีครับ เปิดด้วยแก๊สน้ำตาเลย ตามขั้นตอนที่พี่สนธิญาณพูดคือ หนึ่งต้องเจรจา อันที่สองก็คือใช้โล่ ถ้าเกิดไม่อย่างนั้นก็ต้องใช้น้ำฉีด จนถึงขั้นตอนสุดท้ายก็คือยิงแก๊สน้ำตาก็ต้องเป็นในลักษณะวิถีโค้ง เพราะแก๊สน้ำตาเวลาลงไป คนอยู่ไม่ได้เพราะแสบตาแทบจะต้องคลานหนี ก็ทำให้เรารู้ว่ามีคนเริ่มบาดเจ็บ 

 

สนธิญาณ :  บาดเจ็บเพราะยิงตรงนะครับ ต้องเรียนอีกว่าแก๊สน้ำตาที่คุณศิริชัยว่า ต้องขยับให้เข้าใจว่า ต้องยิงแบบโค้งเข้าไปก็จะกระจาย คนที่เคยโดนจะรู้ว่าอยู่ไม่ได้หรอก แต่นี่เป็นการยิงวิถีตรง เมื่อปะทะกับใครคนนั้นต้องเจ็บ

 

ศิริชัย : ก็เสียทั้งขา เสียทั้งแขน และบาดเจ็บผมคิดว่าประมาณ 50 คน ที่ส่งโรงพยาบาลและตำรวจก็เข้ามาถึงพื้นที่จนได้ วันนั้นก็มีนายทหารท่านหนึ่ง ก็คือท่าน พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ท่านเองก็พยายามเจรจาแต่สุดท้ายก็เจ้าหน้าที่เปิดทางเพื่อจะให้ ส.ส.ไปแถลงต่อสภา คุณก็เปิดให้ท่านก็ไม่เป็นไรก็ยุติกันครับ แต่ภาพที่ไปปรากฏกับสื่อมวลชน ไปถึงพี่น้องพันธมิตรที่ติดตามสถานการณ์รู้ว่าการสลายการชุมนุมทำให้มวลชนไหลกลับเข้ามา ตั้งแต่ประมาณแปดโมงเช้า

 

สนธิญาณ :  ลองลำดับเหตุการณ์นะครับ เขายิงตั้งแต่ 06.10 น. ไปจนถึงเวลาเท่าไหร่ครับ

 

ศิริชัย : ประมาณครึ่งชั่วโมง ก็ประมาณ 07.00 น. ก็เข้าตรึงพื้นที่

 

สนธิญาณ :  พอตรึงพื้นที่ข่าวกระจายออกไปมวลชนก็เริ่มไหลเข้ามา แล้วอย่างไรต่อครับ

 

ศิริชัย : ตอนนั้นเราเองคิดว่า ในเมื่อ ส.ส. เข้าสภา 08.00 น. ตอนนั้นก็ไม่มีอะไรนะครับ เขาก็ยิงปาใส่และพูดปกติ แต่ด้านหน้าโอเคผู้ชุมนุมอยู่เขาเข้าทางด้านประตูข้าง ถนนราชวิถี เราเองก็พยายามที่จะปราศรัยและทำความเข้าใจว่า เรามาเรียกร้องอะไร เรามาทำหน้าที่อะไร เราไม่ได้มาเพื่อที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง นี่คือใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมและใช้คำว่าอารยะขัดขืน เราไม่สามารถที่จะรับผู้ที่มาบริหารบ้านเมืองซึ่งเป็นเหมือนกับร่างทรงของคุณทักษิณ

 

สนธิญาณ :  ของคนที่ทุจริตคอร์รัปชั่น ของคนที่สร้างปัญหาให้กับประเทศ

 

ศิริชัย : ก็มีการยิงต่อเนื่อง ช่วงเที่ยงก็ยิงจนมายิงอีกรอบหนึ่งก็คือตอนเปิดเพื่อที่จะเอา ส.ส. ออกทั้ง ๆ ที่มีการแถลงต่อสื่อเสร็จแล้ว เสร็จไปประมาณ 10.00 น. ตอนนั้นมีการยิง พล.อ.ชวลิต ท่านได้ประกาศลาออกเลยนะครับ 

 

สนธิญาณ :  ผมย้ำแบบนี้นะครับ พล.อ.ชวลิต นี่ก็เป็นความน่านับถือของท่านนะครับ แสดงสปิริต แต่การแสดงสปิริตนั้นก็แสดงว่ามีความรู้สึกผิดในใจที่เกิดขึ้นแล้วจึงลาออก ตัดมาที่คุณสุริยะใสในขณะนั้นมีการประสานงานกันไหมว่า สำหรับทีมที่อยู่ที่ทำเนียบจะหนุนช่วยทำอย่างไร หรือจะประสานให้เรื่องเบาบางอย่างไร

 

สุริยะใส : โดยเซนส์ของคนประสานงานที่ต้องเจรจาทั้งในภาคสนามและบัญชาการ สัญญาณหายไปตั้งแต่เช้าตรู่แล้วครับคุณสนธิญาณ คือผมมีโทรศัพท์ ปกติเขาก็โทรกลับมาเอง ตอนนั้นเป็นฝ่ายโทรไปไม่มีใครรับสาย สายที่เคยรับกันหรือที่เคยติดต่อกันไม่ได้ ผมก็เลยประสายไปที่คุณวีระ สมความคิด ซึ่งไม่ได้อยู่บนรถ คนที่อยู่บนรถบัญชาการจะเป็นคุณบุญศรีชัย

 

ศิริชัย : พี่วีระอยู่แถวสวนดุสิต

 

สุริยะใส : แล้วก็ไปเจรจา ยังไงตำรวจไม่มาเราขอเจรจา ปรากฏว่าตำรวจไม่เจรจาแล้วผลักคุณวีระออก คุณวีระก็ต้องหนีแก๊สน้ำตาและควันเต็มเลย ก็ไม่มีการเจรจา แบบนี้ชัดแล้วสอดคล้องกับรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่อาจารย์เสน่ห์ จามริก เป็นประธานฯ ในรายงานผลการสอบสวนพบว่าเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในสื่อมวลชนแล้วว่า ตำรวจเตรียมสลายตั้งแต่คืนวันที่ 6 ตุลาคมแล้ว การข่าวรู้กันหมดแล้ว แต่เรายังไม่รู้ด้วยซ้ำไป เราก็คิดว่าเราไปชุมนุมโดยสงบ หน้าสภามีอยู่ไม่ถึงพันคนไม่ได้จะไปปีนอะไร และตำรวจในทำเนียบในสภาต้องบอกเลยว่ามากกว่าเราหลายเท่า

 

สนธิญาณ :  นี่ยืนยันได้ตลอดนะครับ เพราะตามรายงานอยู่นะครับ

 

สุริยะใส : แล้วที่ยิงแก๊สน้ำตาแล้วมาโดนตรงเราทำกำแพงเป็นล้อรถเพราะเรากลัวตำรวจจะบุกเข้ามา และเป็นที่กันที่หลบอะไรสารพัดของตำรวจ แก๊สน้ำตาที่หล่นไปตรงกองล้อรถยางรถยนต์ฉีกกระจุยขึ้น อดีต ผบ.ทบ.ท่านหนึ่ง ผมไม่เอ่ยชื่อท่านนะครับ ท่านบอกว่าประสบการณ์ของท่านอานุภาพขนาดนี้ เขาไม่ได้เรียกแก๊สน้ำตา มันคือระเบิดชนิดหนึ่ง อดีต ผบ.ทบ. ท่านนั้นพูดกับผมแบบนี้เลย หลังจากนั้นหมอพรทิพย์ก็ติดต่อเข้ามาขอเข้ามาตรวจสอบก็พบว่าเป็นแก๊สน้ำตาที่หมดอายุ

 

สนธิญาณ :  นี่เป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่งที่ปรากฏตามหลักนิติวิทยาศาสตร์

 

สุริยะใส : ของแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์

 

สนธิญาณ :  กลับมาที่คุณศิริชัย  การยิงไปยุติลงในช่วงไหน

 

ศิริชัย : พอประมาณสักเที่ยง ผมสามคนก็มาคุยกับแกนนำที่ทำเนียบเพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ ทั้งสามท่านนั่งแท็กซี่มา เราก็คุยกันว่ามีข่าวที่บอกว่าเราจะเข้าสภา ไม่มีนะครับ แล้วพี่พิภพก็บอกว่าทั้งหมดให้สามคนตัดสินใจ พวกเขาอยู่หน้าเหตุการณ์ สามคนตัดสินใจเลย เราเองก็ตัดสินใจว่าจะกลับหรือไม่กลับ มายิงอีกรอบหนึ่งตอนผมกลับจากทำเนียบ สารวัตรจ๊าบก็มาถูกระเบิดที่หน้าพรรคชาติไทย ผมหลังจากนั้นเดินมาที่รถก็ถูกเปิดยิงรอบที่สอง รอบที่สามเกือบประมาณสี่โมงเย็น ยิงรอบนี้เพื่อเปิดเอา ส.ส. ออกและหนักกว่ารอบแรก พูดง่าย ๆ ว่าวันนั้นก็หลายพันคนที่อยู่ในเหตุการณ์

 

สนธิญาณ :  ประเด็นที่คุณสุริยะใสกับคุณศิริชัยเล่านะครับ ผมขอยืนยันกับท่านผู้ชมด้วยตัวเองว่าพันธมิตรวันนั้นไม่คิดบุกรัฐสภาแน่นอน คุณสุริยะใสบอกว่าพี่ต้อยไม่ต้องพูดก็ได้ แต่ผมจะพูดให้ฟังว่า วันที่ 6 ตุลาคม ผมอยู่ในรัฐสภา วันที่ 7 สิงหาคม ผมไปสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้าได้ประสานงานไปที่คุณสุริยะใสถามว่าจะบุกรัฐสภาไหม คุณสุริยะใสบอกว่าผมไม่บุกแน่นอน ผมบอกว่าดีแล้วเพราะนอกเหนือจากตำรวจแล้ว ผู้ติดตาม ส.ส. พกพาอาวุธปืนทั้งนั้น มีการเตรียมการการเอาจริง มาพูดยืนยันกันต่อหน้าต่อสาธารณชน ฉะนั้นความคิดที่จะบุกรัฐสภาของพันธมิตรไม่มีแน่นอน ช่วงหน้าเรามาตามกันดูว่า เหตุผลแต่ละข้อที่พันธมิตรเขาจะขอความเห็นใจต่อ ปปช. ให้อุทธรณ์ ผมใช้คำว่าขอความเห็นใจ แต่มีเหตุผลของมันมีหลักการที่ ปปช. ควรจะพิจารณาหรือไม่ ช่วงหน้าติดตามกันต่อครับ

 

สนธิญาณ :  และข้างในได้คุยกับคุณสุริยะใส คุณสุริยะใสบอกว่าไม่ต้องเปิดเผยก็ได้เดี๋ยวกระทบกระเทือน เป็นเรื่องข้อเท็จจริงปฏิบัติการทั้งหลายที่ตำรวจปฏิบัติการในวันนั้นไม่ได้มีการเจรจามาก่อน เมื่อกี้เราค้างตอนที่ยิงกันตอนช่วงเย็นแล้วนะครับ อยากให้คุณศิริชัยสรุปจบท้ายหน่อย ว่าเหตุการณ์ในวันนั้นจบลงอย่างไร

 

ศิริชัย : แม้กระทั่งหน่วยทหารเสนารักษ์ เป็นทหารมีปลอกแขนชัด

 

สนธิญาณ :  หมายถึงถูกส่งเข้ามา ไม่ได้มาเอง

 

ศิริชัย : มาช่วยคนเจ็บ มาช่วยประชาชน

 

สนธิญาณ :  ทหารเสนารักษ์หน่วยส่งมานะครับไม่ได้มาส่วนตัว

 

ศิริชัย : มาเป็นรถเลยครับ ขนาดลงไปช่วยยังถูกยิงจนเราเองเห็นแล้วว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้น เราเองก็รอเวลาในการที่มวลชนเพื่อจะนำกลับ เพราะไม่ได้มีอะไรแล้ว หน้ารัฐสภาเราก็กลับไม่ได้เพราะทาง บช.น. ก็ยิงตัดแถวตัดขบวนแล้วเราก็ห่วงมวลชนจะบาดเจ็บก็เป็นที่มาของน้องโบว์ที่เสียชีวิต

 

สนธิญาณ :  น้องโบว์เสียชีวิตตอนไหน 

 

ศิริชัย : ประมาณหกโมงเย็น เขาเลิกงานเข้ามาร่วมชุมนุม

 

สนธิญาณ :  ยิงตั้งแต่เช้า เช้าก็บาดเจ็บแขนขาดขาขาด น้องโบว์มาเสียชีวิตในตอนเย็นย้ำกับคุณผู้ชมให้ชัดเจนว่าในความจริงภารกิจในการแถลงนโยบายเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งที่ห่วงที่คิดเอาแบบให้พอเข้าใจได้ว่ามาปฏิบัติการรุนแรง เพื่อให้แถลงนโยบายให้รัฐบาลเดินไปตามรัฐธรรมนูญอย่างสมบูรณ์คุณก็ได้ผลแล้วยังยิงกันทำไมในตอนเย็น

 

ศิริชัย ก็จบด้วยการยิงจนถึงสามทุ่ม สามทุ่มจึงมีการเจรจาเพื่อหยุดยิง ตั้งแต่หกโมงเช้ายันสามทุ่ม

 

สนธิญาณ :  ใครเจรจาครับ

 

ศิริชัย : ก็อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่แล้วฝ่ายทหาร บอกว่าพอได้แล้ว

 

สนธิญาณ : โดยข้อเท็จจริงฝ่ายทหารเข้าไปกดดันแล้วกลับบ้านกันได้

 

ศิริชัย : ก็กลับมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบต่อ

 

สนธิญาณ :  สำหรับคนที่กลับบ้านวันนั้นก็ทยอยกันออก แก๊สน้ำตาก็คละคลุ้ง ก็กลับมาที่ทำเนียบรัฐบาล ช่วงเวลาที่เหลือคุณสุริยะใสประเด็นต่าง ๆ กี่ข้อที่คิดว่าควรจะอุทธรณ์ช่วยแจกแจง

 

สุริยะใส : เอาอุทธรณ์ที่เป็นความรู้สึกก่อน อุทธรณ์ความรู้สึกก่อนต่อท่านนายก

 

สนธิญาณ :  รู้สึกกับกฎหมายนะ

 

สุริยะใส : คนละเรื่องเอาความรู้สึกก่อนว่า

 

สนธิญาณ :  ถึงใครนะครับ

 

สุริยะใส : ถึงท่านนายกรัฐมนตรี

 

สนธิญาณ :  ชื่อ

 

สุริยะใส : พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 

 

สนธิญาณ : ผมต้องให้ชัด คุณสุริยะใสจะอุทธรณ์ความรู้สึกต่อพล.อ.ประยุทธ์

 

สุริยะใส : เพราะว่าข่าวที่เราประชุมวันที่ 4 ด้วยกำหนดแนวทางสู้คดี ไปทำนองว่าเราเตรียมเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งต้องอุทธรณ์ความเห็นใจท่านว่าไม่ใช่ เป็นเรื่องของการปรึกษาการต่อสู้คดี

 

สนธิญาณ :  สู้แต่ไม่ได้คิดไปชุมนุมทางการเมือง 

 

สุริยะใส : เป่านกหวีด ออกมาชุมนุมกดดัน ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลเลย เรื่องนี้เกี่ยวกับ ปปช. และกระบวนการยุติธรรม เราก็วางแนวกันเพราะผู้เสียหายเยอะ คนเจ็บคนตายกัน 400 - 500 คน ต้องปรึกษาเขาไม่ใช่แกนนำมาตัดสินใจ พอข่าวไปถึงท่านเหมือนเรากลายเป็นเตรียมเคลื่อนไหว รอง ผบ.ทบ. พล.ต.อ.ประวิตร ออกมาปรามกันจนเหมือนเราทำผิดกฎหมายกันไปนู่น ต้องขอความอุทธรณ์ความเห็นใจกันก่อน ส่วนอุทธรณ์ ปปช. 6 ข้อที่เราเสนอไป มี 3 กรอบใหญ่ ๆ กรอบแรกคือเรื่องเจตนา เพราะศาลฎีกาคดีนักการเมืองท่านชี้ว่าไม่ได้มีเจตนาเราก็เอาคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ผลสอบกรรมการสิทธิ์ ผลสอบกรรมการวุฒิสภาผลการชี้มูล ปปช. ถ่ายหน้าไปให้เห็นว่า ผลสอบขององค์กรอิสระของกลไกตรวจสอบในระบบรัฐสภาชี้ตรงกันว่า เจตนาและใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุและไม่เป็นไปตามหลักสากล อันที่สามเรื่องการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุเราพยายามชี้ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ก่อน ส่วนอีกประเด็นหนึ่งเรื่องของกฎหมาย เนื่องจากเคสนี้เป็นเคสประวัติศาสตร์และผลคำวินิจฉัยของศาลจะผูกมัดกับทุกกลุ่มเลย จะเป็นแนวบรรทัดฐานในการชุมนุมของประชาชนต่อไป เพราะฉะนั้นการอุทธรณ์ของเราไม่ใช่แค่เพื่อความเป็นธรรมให้กับเหยื่อนะครับ แต่คือการวางบรรทัดฐานที่ควรจะเป็น โดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่บอกว่าสิทธิในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิทธิ์ของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ใช่แค่เสื้อเหลืองเสื้อแดง ที่สู้ยู่นี้เพื่อวางบรรทัดฐานที่ดีกับทุกฝ่ายด้วยซ้ำไป เรายอมเป็นเหยื่อ ฉะนั้นผมคิดว่าเรื่องนี้จึงมีความจำเป็นที่ ปปช. ไม่ควรตัดสินของคนที่มีญาติเป็นเหยื่อ

 

สนธิญาณ : ให้ศาลได้วินิจฉัย ผมทวนก่อนนะครับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและบรรดาผู้เสียหายไม่ได้ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลนะครับ เรายอมรับอย่างแน่นอนในคำวินิจฉัยของสถาบันหนึ่ง 

 

ศิริชัย แต่กระบวนการยุติธรรมยังไม่สิ้นสุด เพราะรัฐธรรมนูญให้อุทธรณ์ได้ ฉะนั้นก็ไม่มีเหตุผลที่ ปปช. จะไม่อุทธรณ์ ผมงงว่าจะมีเหตุผลอะไรที่จะไม่อุทธรณ์ เว้นเสียแต่..

 

สนธิญาณ :  ขยายเรื่องข้อกฎหมายได้ไหมครับ

 

ศิริชัย : ข้อกฎหมาก็เช่นเรื่องของเรายืนยันสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาศาลปกครองกลาง คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว รายงานของกรรมการสิทธิ์ และที่สำคัญที่สุดการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มีหลักอยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริงก็ส่วนหนึ่ง หลักปฏิบัติที่อยู่ตามกรอบกฎหมายในการใช้กำลังกับประชาชนที่ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ควรทำได้ขนาดไหนอย่างไร 

 

สนธิญาณ :  ผมก็ต้องเรียนแบบนี้ เมื่อกี้คุณสุริยะใสเรียนไปถึงท่านนายกรัฐมนตรี อุทธรณ์ด้วยความรู้สึก ผมก็ช่วยสนับสนุนคุณสุริยะใสถึงเรียนต่อท่านพลอ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะ คสช. และนายกรัฐมนตรี ย้ำนะครับหลังจากนั้นสองวัน คือวันที่ 9 ตุลาคม ศาลปกครองคุ้มครองชั่วคราว

 

ศิริชัย : แต่ 9 วันคือ 16 ตุลาคม 

 

สนธิญาณ :  และต่อมาวันที่ 16 ตุลาคม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น คือ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ แต่คนสำคัญที่สำคัญที่สุดคือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้ออกมาแถลงและในขณะนั้นท่านนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ พล.อ.อนุพงษ์ วันนี้เป็นผู้บังคับบัญชาของ พล.อ.อนุพงษ์ สอบถามติดตามกันได้ ในฐานะประชาชนที่ติดตามข่าวสารอยู่ในขณะนั้นถึงขนาดคิดกันว่าทหารจะยึดอำนาจแล้วนะ เพราะสิ่งที่ พล.อ.อนุพงษ์ ออกมาแถลงเต็มไปด้วยข้อเท็จจริง แล้วได้แสดงอาการที่ท่านก็รู้สึกสะเทือนใจ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนะครับ นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถึงเวลานี้ นาทีนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียนไปชัดเจนว่าไม่ได้คิดเคลื่อนไหวตามที่มีรายงานข่าวใด ๆ ไปถึงท่าน แล้วท่านได้ออกมาพูดผมก็เรียกว่าทำให้เสียมวลชนไปส่วนหนึ่งโดยใช่ที่ ดังนั้นสิ่งที่เราจะช่วยกันดูต่อไปนี้คือ ผู้ที่มีอำนาจก็รับข่าวสารอย่างตรงไปตรงมาให้ชัดเจน เพราะเรื่องที่ผมได้เกริ่นมาตั้งแต่ต้นมีเรื่องของการมีส่วนได้เสีย การมีส่วนได้เสียนั้นจะช่วยกันหรือไม่ก็ตามแต่ แต่แน่นอน พล.ต.อ.วัชรพล, พล.ต.อ.พัชรวาท, พล.อ.ประวิตร มีภาพอย่างนี้ขึ้น ผมเรียนในแง่ศาลปกครองสูงสุดคืนตำแหน่ง พล.ต.อ.พัชรวาท ก็นำมาพิจารณากันแต่ขอให้ได้เดินเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย เหลือเวลาอีกเล็กน้อย ทั้งสองท่านช่วยสรุปกันคนละเล็กคนละน้อย

 

สุริยะใส : โดยส่วนตัวผมก็คิดว่ากระบวนการยุติธรรมในกรณีสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม ยังมีข้อเท็จจริงที่เห็นต่างกัน ข้อกฎหมายที่มองต่างกัน ฉะนั้นทำให้เรื่องนี้สิ้นกระแสความต้องไปสู่ศาลอุทธรณ์อีกที แล้วจะเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

 

ศิริชัย : ผมคิดว่าเกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้ง ตอนนั้นเราก็คิดว่าพฤษภา35 จะเป็นครั้งสุดท้าย แต่ก็มาเกิดตอน 7 ตุลาคม ก็อยากให้เห็นว่าเหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะครั้งสุดท้ายจริง ๆ กับสังคมไทย ที่ไม่ควรที่จะถูกฝ่ายรัฐกระทำให้เกิดความรุนแรงกับประชาชนผู้ชุมนุมที่ออกมา อยากจะฝากเรื่องนี้

 

สนธิญาณ : ชัดเจนครับสองท่านสรุปแล้ว สวัสดีครับ