ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

จากกรณีที่นายปรีชา วิเศษสิทธิ์  ผู้อำนวยการแขวงการทางนครศรีธรรมราชที่ 1 สำนักงานแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ได้ทำหนังสือชี้แจงไปยังสำนักข่าวทีนิวส์ ว่าทางหลวงสายดังกล่าวคือสาย 4013 ตอนปากพนัง-หัวไทร  ในการก่อสร้างแนวคันกั้นคลื่นทางแขวงได้ของบประมาณซ่อมแซมฉุกเฉินโดยการทิ้งหินใหญ่เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะผิวทาง ปี 2559 ไปยังกรมทางหลวงเป็นเงิน286,400 บาทและในขณะเดียวกันแขวงฯก็ได้จัดทำใบสั่งซื้อสั่งจ้างกับผู้รับจ้าง เพื่อให้ผู้รับจ้างดำเนินการอบ่างเร่งด่วนมิเช่นนั้นทางสายดังกล่าวจะขาดส่งผลกระทบกับผู้ใช้เส้นทาง และอาจจะทำให้บ้านเรือนราษฏรที่พักอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และเนื่องจากการก่อสร้างเป็นการกระทำที่ฉุกเฉินและเร่งด่วน จึงมิได้ศึกษาถึงผลกระทบและททำประชาพิจารณ์ ป้ายรายละเอียดระยะทางและงบประมาณใด ๆ ได้ทันท่วงทีและการกระทำได้ทำไปอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้

 

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

วันที่ 15 ส.ค.60 นายไพโรจน์ รัตนรัตน์  แกนนำเรียกร้องทวงคืนโฉนดทะเล ชมคนลุ่มน้ำพางพาตนเองเปิดเผยว่าทราบข่าวที่ผู้อำนวยการแขวงการทางนครศรีธรรมราชที่ 1 ชี้แจงต่อสำนักข่าวทีนิวส์แล้ว แต่เป็นเพียงการชี้แจงคร่าว ๆ ประชาชนไม่เข้าใจและยังสงสัยในหลายประเด็น  เพื่อให้หลายสงสัยในแต่ละประเด็น จึงได้ทำหนังถึงหน่วยงานที่ตรวจสอบ สตง. ปปช. รวมทั้งรัฐบาลและ คสช. เพื่อร้องเรียนให้ตรวจสอบการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนของหน่วยงานรัฐระหว่างกรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง แขวงทางหลวงหมายเลข 4013 ถนนปากพนัง-หัวไทร แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่  1

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

“ตนอยากเรียนเรื่องราวความเป็นมาว่าสืบเนื่องจากสภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (ฝั่งอ่าวไทย) น้ำทะเลมีการกัดเซาะชายฝั่งทำให้ที่ดินและบ้านเรือนของราษฎรถูกน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ที่ดินและบ้านเรือนราษฎรถูกน้ำทะเลกัดเซาะเป็นจำนวนมากและถนนสายปากพนัง-หัวไทร ทางหลวงหมายเลข 4013 (บริเวณพื้นที่ ตำบลขนาบนาก และตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช) ทางชมรมฅนลุ่มน้ำพึ่งพาตนเองเห็นความสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนตลอดแนวชายฝั่ง จึงได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา รัฐบาล คสช. เพื่อของบประมาณให้สร้างแนวเขื่อนหินป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งแบบแหลมตะลุมพุกโมเดล และรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่งบประมาณปลายปี 2559-ปีงบประมาณ 2560-2561 ได้มีการประมูลจัดซื้อจัดจ้างบางส่วนแล้วนั้นตามโครงการ เช่น กรมเจ้าท่า,กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างตลอดแนวชายฝั่งทะเลแล้วบางส่วน”

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

แกนนำเรียกร้องทวงคืนโฉนดทะเล ชมคนลุ่มน้ำพางพาตนเอง กล่าวว่า  แต่แขวงทางหลวงได้เข้ามาดำเนินการจัดสรรงบประมาณก่อสร้างแนวหินทิ้งริมทางร่องคูถนนหลวงตลอดระยะทางความยาวประมาณ 4-5 กิโลเมตร ระยะโครงการก่อสร้างห่างจากกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการเพียง 25.30 ซ.ม. เท่านั่น หรือเพียงแนวต้นเสาไฟฟ้าและแนวกำแพงคอนกรีตเป็นตัวกำหนดแนว ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าโครงการดังกล่าวก่อสร้างด้วยเงินภาษีของพี่น้องประชาชน  เป็นการก่อสร้างที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานรัฐต่อหน่วยงานรัฐ  และก่อสร้างไม่ได้ตามหลักวิชาการ ขนาดของหินก้อนเล็กไม่มีการดับเรียงเพียงแต่เอาหินมากองทิ้ง และขุดทรายหลังกำแพงคอนกรีตแล้วเอาหินมาใส่เป็นบางช่วงๆ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณจึงขอให้หน่วยงาน สตง. ปปช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบการก่อสร้างที่แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1   โดยชี้แจงตามหนังสือ คค.06094/ส.3/1577 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560  ตามที่แขวงการทางนครศรีธรรมราชที่ 1 แจ้งอ้างใช้งบประมาณฉุกเฉินในการเรียงหินป้องกันการกัดเซาะใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 286,400 บาท นั้นไม่เป็นความจริง ระยะทางการก่อสร้าง  4-5 กิโลเมตร ใช้งบประมาณจริงมากกว่า 286,400 บาท ซึ่งแขวงทางหลวงให้ข้อมูลไม่ตรงตามความเป็นจริง เรียกร้องให้มีการตรวจสอบในการใช้งบประมาณของแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ดังต่อไปนี้

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

1.)  แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ใช้งบประมาณมากกว่า 286,400 บาทอย่างแน่นอน   2. ) แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ก่อสร้างโครงการซ้ำซ้อนกับกรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการและผังเมืองจริงหรือไม่  3. )  แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ได้ก่อสร้างตรงกับแนวเดียวกับกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างห่างจากจุดก่อสร้างของแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ไปทางทิศตะวันออกซึ่งอยู่ติดกับทะเลจริงหรือไม่  4.)แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 อ้างสร้างใช้งบฉุกเฉินช่วงนี้ เวลานี้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่1 ยังก่อสร้างอยู่และอ้างสร้างงบฉุกเฉินได้อย่างไร งบฉุกเฉินการก่อสร้างช่วงภัยพิบัติใช่หรือไม่  5.) แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 อ้างสร้างเพื่อป้องกันบ้านเรือนชาวบ้าน บางจุดที่ก่อสร้างไม่มีบ้านเรือนของชาวบ้านเลย หรือบางจุดที่มีบ้านเรือนของชาวบ้าน แต่แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ได้ดำเนินการก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น แนวก่อสร้างกลับอยู่ด้านทิศตะวันตกของบ้านเรือนชาวบ้าน ไม่ทราบว่าป้องกันได้อย่างไร  6.) แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ก่อสร้างในขณะนี้ยังไม่มีป้ายโครงการและราคางบประมาณหากเปิดเผยให้ติดป้ายโครงการในช่วงระยะเวลาก่อสร้างในช่วงก่อสร้าง เพราะแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 เจตนาปกปิดงบประมาณใช่หรือไม่  7.)  แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 โครงการก่อสร้างแนวหินดับเรียงตลอดแนวชายฝั่งของถนน แต่แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 เอาหินมากองเรียงใช้หรือไม่ แล้วเปิดงบประมาณส่อในการทุจริตโครงการเชิงนโยบายใช่หรือไม่  8.) โครงการเรียงหินใหญ่ดับเรียงไม่ได้ตามรูปแบบหลักวิชาการหรือไม่และขนาดของหินที่นำมาก่อสร้างหินเล็ก ไม่ได้ตามแบบ  9.) โครงการของแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1ไม่มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ไม่สามารถตรวจสอบได้และที่มาของงบประมาณ ระยะดำเนินการ กว้าง ยาว ไม่ได้ติดประกาศตามโครงการไม่สามารตรวจสอบได้  10.) โครงการแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1ไม่ได้ทำประชาสัมพันธ์ก่อนก่อสร้างและไม่แจ้งผู้นำท้องถิ่นและประชาชนให้ทราบก่อนเข้าดำเนินการ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

  11.) โครงการแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 สร้างแนวกองหินเรียงชิดขอบถนนทำให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายต่อประชาชนในการสัญจรขับขี่รถไปมา เกิดอุบัติเหตุอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้  12.) โครงการแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ทำให้ปิดกั้นทางน้ำร่องคูถนนทำให้น้ำไม่สามารถถ่ายเทได้ในช่วงมีการระบายน้ำออกจากบ่อกุ้งและช่วงมรสุมและเสียภูมิทัศน์ริมถนนหลวง  13.) โครงการแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ทำให้ปิดทางเข้าออกบ้านประชาชน และเสียภูมิทัศน์ในที่ดินติดกับแนวกันหินของแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ไม่สามารถเข้าออกในที่ดิน เอกสารสิทธิ์ได้ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน  14.) ให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 หยุดดำเนินการก่อสร้างในส่วนเนื้องานที่ตรงกับแนวกันคลื่นน้ำกัดเซาะที่กรมเจ้าท่า และกรมโยธาดำเนินการก่อสร้างอยู่แล้ว หากมีการก่อสร้างต่อไปโครงการซ้ำซ้อนด้านชายฝั่งมีโครงการของกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่าอยู่แล้ว  15.) ให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1ได้ก่อสร้างหินทิ้งดับเรียงซึ่งอยู่ภายในด้านหลังกำแพงคอนกรีตของแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1ซึ่งได้ก่อสร้างมาก่อนแล้ว แนวคันหินที่ให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้แต่อย่างใด จึงทำให้ศูนย์เสียงบประมาณของรัฐแบบซ้ำซ้อน  16.) ให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1ได้ก่อสร้างคันหินตลอดแนวโครงการเมื่อแล้วเสร็จโครงการช่วงหนึ่งของโครงการให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 สั่งให้มีการรื้อสะพาน ซ่อมแซมคอสะพานบ้านหน้าโกฏิ ไม่มีการสร้างทางเบี่ยงทำให้รถสัญจรไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านและยานพาหนะสัญจรเส้นทางอื่นห่างออกไป 7-8 กิโลเมตร ทำให้ฝุ่นละอองและถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนสัญจรไปมาถนนสายดังกล่าวตลอดเส้นทาง ทำไม่แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ไม่สร้างทางเบี่ยง ตามหลักวิชาการในการก่อสร้างสะพานต้องมีทางเบี่ยง  17.) ถนนหมายเลข 4310 ไม่สามารถขยายเป็นถนนสี่เลนได้ เหตุเพราะให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 ได้เอาหินมาวางกองตลอดแนวโครงการหากมีการรื้อถอนเพื่อก่อสร้างขยายช่องจราจรเพิ่มใหม่ เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน เพราะเป็นภาษีของประชาชน   18.) ตรวจสอบโครงการแนวหินที่เบิกจ่ายแล้วไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดของสัญญาหรือไม่  จึงขอให้ดำเนินการตรวจสอบการก่อสร้างแนวกองเรียงหินว่าถูกต้องตามแบบหรือไม่  19.) ให้แขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 หยุดดำเนินการก่อสร้างแนวหินในร่องคูถนนให้กรมโยธาและกรมเจ้าท่าดำเนินการก่อสร้างตามโครงการก็เพียงพอแล้ว เพราะกรมโยธาธิการและผังเมือง  และกรมเจ้าท่าก่อสร้างนอกเขตทางหลวงอยู่แล้ว 20.)โครงการก่อสร้างของแขวงทางหลวงนครศรีธรรมราชที่ 1 เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเงินภาษีของประชาชน สร้างไปชาวบ้านไม่ได้รับประโยชน์ เห็นควรให้หยุดการก่อสร้าง    

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ                    

นายไพโรจน์ รัตนรัตน์ กล่าวอีกว่า ตนมั่นใจว่าแขวงการทางนครศรีธรรมราช ที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างแบบมีเบื้องหน้าเบื้องหลังไม่โปร่งใส  โดยฉวยโอกาสในช่วงที่กรมเจ้าท่า และกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างแนวคันกั้นคลื่นตามนโยบายของรัฐบาลและ คสช. การดำเนินการไม่อยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ใช้รถใช้ถนนและประชาชนเข้าใจว่ารถบรรทุกหินที่วิ่งพลุกพล่านเป็นของโครงการตามนโยบายรัฐบาลและ คสช. โดยเฉพาะการก่อสร้างทั้งหมดไม่ใช่ใช้งบแค่ 286,400 บาท แต่ใช้งบมากกว่าหลายเท่าอย่างแนนอน

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ

งานงอก !! แกนนำคนลุ่มน้ำปากพนังเตรียมยืนเรื่องให้รัฐบาล  คสช.,สตง.และ ปปช.ตรวจสอบโครงการสร้างแนวหินทิ้งกรมทางหลวงซ้ำซ้อนกรมเจ้าท่า-กรมโยธา ฯ                                                                                                                                                                               

ภาพ/ข่าว  ยุทธนะ เตมะศิริ   ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  สำนักข่าวทีนิวส์   จ.นครศรีธรรมราช