ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

วิจารณ์แรง!! กรณี บูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ สิ้นความขลัง ย้อน..พระราชดำรัสในหลวง "อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า" รากเหง้าความเป็นไทยที่ในหลวงหวงแหน

               กรณีที่เกิดเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับ พระปรางค์วัดอรุณฯ ที่มีสีขาวแปลกตาไม่เหลือเค้าโครงเดิม แถมจานและกระเบื้องหลากสีถูกแกะออกไป หลังมีการบูรณะใหม่นั้น พระศากยปุตติยวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ที่รับผิดชอบงานบูรณะปฏิสังขรณ์ ได้ออกมาชี้แจงถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่า ที่เห็นเป็นสีขาวนั้นเกิดจากการทำความสะอาดคราบตะไคร้และทาสีน้ำปูน ซึ่งเป็นสีเดิมขององค์พระปรางค์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ส่วนกระเบื้องหลากสีที่ไม่พบนั้นเป็นเพราะภาพที่ถูกเผยแพร่เป็นภาพส่วนหนึ่งของมณฑปทิศ ไม่ใช่องค์พระปรางค์ จึงไม่มีชิ้นส่วนกระเบื้องประดับอยู่แล้ว

วิจารณ์แรง!! กรณี บูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ สิ้นความขลัง ย้อน..พระราชดำรัสในหลวง "อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า" รากเหง้าความเป็นไทยที่ในหลวงหวงแหน

                สำหรับพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกสั้นๆว่า พระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นพระปรางค์ทรงขอมขนาดใหญ่ ประกอบด้วยปรางค์ประธานและปรางค์รองอีก ๔ ปรางค์ ตั้งอยู่ที่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร  ตัวพระปรางค์ปัจจุบันนี้มิใช่พระปรางค์เดิม ที่สร้างขึ้นราวสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีความสูงเพียง ๑๖ เมตร โดยปรางค์ปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นแทน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แต่ก็ได้แค่รื้อพระปรางค์องค์เดิม และขุดดินวางราก ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการสร้างต่อ โดยพระองค์เสด็จมาวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๓๘๕ จนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ใช้เวลารวมกว่า ๙ ปี

 

วิจารณ์แรง!! กรณี บูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ สิ้นความขลัง ย้อน..พระราชดำรัสในหลวง "อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า" รากเหง้าความเป็นไทยที่ในหลวงหวงแหน

               นอกจากนี้ พระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการบูรณะเสมอมา จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทำการบูรณะพระปรางค์ครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือแบบที่เห็นในปัจจุบัน องค์พระปรางก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นเปลือกหอย กระเบื้องเคลือบ จานชามเบญจรงค์สีต่าง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน เป็นจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งด้วย กินนร กินรี ยักษ์ เทวดา และพญาครุฑ ส่วนยอดบนสุดของพระปรางค์ติดตั้งยอดนภศูลปิดทอง

              นับว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของประเทศไทยเราเป็นอย่างมาก การบูรณะครั้งนี้ควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรที่มีความรู้ความชำนาญ และอยู่ในความดูแลของวัดทุกขั้นตอน เพื่อการดำเนินการเพื่อให้คงของแท้ดั้งเดิมมากที่สุด ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมและวัสดุ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ ถึงความสวยงามของโบราณสถานในอดีต

วิจารณ์แรง!! กรณี บูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ สิ้นความขลัง ย้อน..พระราชดำรัสในหลวง "อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า" รากเหง้าความเป็นไทยที่ในหลวงหวงแหน

               ในฐานะคนไทย ได้ทรงแสดงให้พสกนิกรเห็นว่า พระองค์ทรงมีความซาบซึ้งในคุณค่าของโบราณสถาน โบราณวัตถุ ทรงเห็นความจำเป็นในการคุ้มครองดูแล และอนุรักษ์ สมบัติวัฒนธรรมของชาติ ไว้ให้เป็นหลักฐาน ในการศึกษาหาอดีต เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจ ให้คนไทยตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ที่บรรพบุรุษได้สั่งสมไว้ให้เป็นสมบัติตกทอดมาถึงคนรุ่นปัจจุบัน ดังพระราชดำรัส ที่คนไทยทั้งผอง ต่างจดจำมาเป็นแนวคิด ในการดำเนินแนวทางการพัฒนาประเทศสืบมา 

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสนี้ในคราวเสด็จประพาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยความสนพระทัยในอดีตของชาติ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ และได้ทอดพระเนตรเห็นอาคารสมัยใหม่หลังหนึ่ง สร้างขึ้นบนที่ซึ่งเคยเป็นซากโบราณสถาน ทรงตรัสว่า 

“...การสร้างอาคารสมัยนี้คงจะเป็นเกียรติสำหรับผู้สร้างคนเดียว แต่เรื่องโบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพ ฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย...ในการที่มีโบราณวัตถุสถาน และปูชนียสถานอยู่เป็นอันมาก ถ้าเรารู้จักวิธีนำมาใช้เกี่ยวกับการอบรมจิตใจของเยาวชน ก็จะเป็นประโยชน์มาก...”

กระแสพระราชดำรัสดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึง ความรักที่พระองค์มีต่อชาติ ต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนไทย ความภาคภูมิใจที่พระองค์มีต่ออารยธรรมที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ เพื่อสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบันสมัย

             พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของโบราณสถานและโบราณวัตถุ ทรงพระปรีชาสามารถและเข้าพระราชหฤทัยถึงประโยชน์ของทรัพยากรทุกประเภทอย่างลึกซึ้ง จนเกิดโครงการ "พัฒนา" ในพระราชดำริ มากมาย

 

 

 

ที่มาจาก : https://news.mthai.com

              เว็บไซต์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

              Watanyoo Thephuttee