ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๒ (สายสิงห์บุรี - สุพรรณบุรี) ระยะทางประมาณ ๔ กม.

 

สันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย ที่มีความงดงามมาก

เบื้องหลังอันแสนเศร้า ของพระนอนเมืองสิงห์ “พระนอนจักรสีห์” ! ตำนานโศกนาฏกรรม “ลูกฆ่าพ่อ” จนเมื่อสำนึกบาป จึงหวังสร้างพระเพื่อไถ่โทษ!!

ตำนานการสร้างพระดังกล่าวมีอยู่ว่า ...

ณ หมู่บ้านหนึ่ง มีเศรษฐีคนหนึ่งมีลูกสาวสวย เป็นที่เลื่องลือภรรยาของเศรษฐี เป็นช่างทอผ้าฝีมือดี มีกระสวยทองคำอันหนึ่งเป็นที่หวงแหนของลูกสาวเศรษฐีมาก อยู่มากระสวยทองคำเกิดหายไปหาไม่พบ ลูกสาวเศรษฐีถึงกับออกปากว่า ถ้าใครหา กระสวยทองคำมาคืน ให้ได้จะยอมแต่งงานด้วย โดยที่ไม่มีใครคาดคิด จู่ ๆ ก็มีสิงห์ตัวหนึ่ง นำกระสวยทองคำมาให้ลูกสาวเศรษฐีจึงต้องไปอยู่กับสิงห์อย่างจำใจ สิงห์พาลูกสาวเศรษฐี กลับมาอยู่ถ้ำของตนที่เมืองสิงห์

กาลเวลาผ่านไป ลูกสาวเศรษฐีมีลูกกับสิงห์คนหนึ่งเป็นเพศชาย ชื่อ สิงหพาหุ พ่อสิงห์รักลูกของเขามาก พาลูกออกเที่ยวเสมอ จนคนในหมู่บ้านรู้ว่าสิงหพาหุเป็นลูก ของสิงห์ เพื่อน ๆ มักล้อเลียนว่าสิงฆพาหุเป็นลูกสัตว์ ทำให้สิงฆพาหุอับอาย รู้สึกเกลียดชังพ่อ และคิดจะ ฆ่าพ่อให้ตาย จนในที่สุดก็สบโอกาส สิงหพาหุจึงฆ่า พ่อสิงห์ตาย

ต่อมาสิงหพาหุได้เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองสิงห์ เขารู้สึกนึกถึงความผิด ที่ได้กระทำมา จึงได้สร้าง พระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ซึ่งต่อมาเรียกว่าพระนอนจักรสีห์และสถานที่ตรงนั้นเรียกว่า สระล้างบาป

โดยพระนอนจักรสีห์นี้เป็นที่กราบไหว้บูชามาหลายชั่วอายุคนจนองค์พระได้พังทลายลงเป็นเนินดิน ในกาลต่อมานั้นท้าวอู่ทองได้นำพ่อค้าเกวียนผ่านมาพบก็เกิดความเลื่อมใสและเห็นประโยชน์พระศาสนา จึงชักชวนพ่อค้าเกวียนสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นอีกครั้ง โดยใช้แท่งทองคำที่พบนั้นเป็นแกนองค์พระดังเดิม

ความสำคัญเป็นเพราะพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุด ในประเทศไทย มีขนาดความยาว ๑ เส้น ๓ วา ๒ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว ประดิษฐ์ฐานอยู่ในวิหาร ขนาดใหญ่เป็นพระนอนที่พระกรขวาศอกยื่นไปด้านหน้าไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้น รับเศียรเหมือนพระนอนไทย พระเศียรหันไปทางทิศตะวันออก พระพักตร์หัน ไปทางทิศเหนือ เข้าใจกันว่าก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะเมื่อสมัย ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงประทับแรมในปี พ.ศ.๒๒๙๗ เข้าใจว่าในคราวนั้นได้ทรงให้ปฏิสังขรณ์ พระพุทธไสยาสน์ พร้อมทั้งกุฎิวิหารซึ่งอีก ๘ ปี ต่อมาได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงสมโภชฉลองเป็นการใหญ่นอก จากนั้นแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสมณฑล อยุธยาได้ทรงมนัสการพระนอน อีกรวมทั้งให้ปฏิสังขรณ์เนื่อง จากชำรุดทรุดโทรม และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็ทรงเสด็จมานมัสการพระนอนแต่ไม่ปรากฏทรงปฏิสังขรณ์ หรือสร้างสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติม

 

 

ที่มา : dhammathai.org