พม.สร้างความร่วมมือประชารัฐ สานต่อ Start up SE ธัญบุรีโมเดล ระยะที่ 2 มุ่งสร้างศูนย์เรียนรู้การแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่ง คนขอทานระดับประเทศ

พม.สร้างความร่วมมือประชารัฐ สานต่อ Start up SE ธัญบุรีโมเดล ระยะที่ 2 มุ่งสร้างศูนย์เรียนรู้การแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่ง คนขอทานระดับประเทศ

วันนี้ (18 ส.ค. 60) นายณรงค์ คงคำ โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ากระบวนการดำเนินงาน “Start up SE ธัญบุรีโมเดลระยะที่ 2

เพื่อฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานอย่างครบวงจร ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า รัฐบาลมอบหมายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) ให้เป็นหน่วยงานหลักเพื่อบูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่ง

คนขอทาน อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ตั้งแต่ต้นทางโดยการรณรงค์และป้องกันตามแนวคิด ให้ทานถูกวิธี ลดวิถี

การขอทานกลางทางโดยการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานอย่างเป็นระบบตามโครงการธัญบุรีโมเดล และปลายทางส่งต่อโครงบ้านน้อยในนิคมฝึกทักษะชีวิตเตรียมความพร้อมเพื่อคืนสู่สังคม

พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า หนึ่งในกระบวนการสำคัญ คือ การคุ้มครอง ฟื้นฟู พัฒนาศักยภาพ               ตามโครงการธัญบุรีโมเดล ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นดำเนินงานใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ พื้นที่ คน กองทุน และการบริหารจัดการรายได้ นำร่องในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ด้วยกิจกรรมด้านเกษตรกรรมแบบยั่งยืน พัฒนาทักษะอาชีพตามความสนใจ ซึ่งได้รับ

การสนับสนุนเงินทุนประเดิมเพื่อใช้ในโครงการจากนายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 ล้านบาท และขยายผลไปยังสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

10 แห่งรวมเป็น 11 แห่งทั่วประเทศ มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการผู้ใช้บริการในโครงการ ทั้งหมด 1,476 คน ซึ่งในจำนวนนี้ ได้เข้าร่วมโครงการบ้านน้อยในนิคม 246 คน เข้าสู่สถานประกอบการได้ 29 คน ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทักษะชีวิต

94 คน สามารถกลับสู่ครอบครัวได้ 305 คน         

พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่ออีกว่า การดำเนินงานดังกล่าวได้รับการตอบรับและการเยี่ยมชมศึกษาดูงาน

จากหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายประชารัฐในการขับเคลื่อนกิจกรรม ได้แก่ มูลนิธิวัดสวนแก้ว บริษัทปันฝันปันยิ้ม บริษัทวงศ์พานิช บริษัทบางกอกกลาส บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG) และบริษัท

ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ จากความสำเร็จในการดำเนินงานธัญบุรีโมเดลในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

ทั่วประเทศ จึงได้ขยายผลการดำเนินงานธัญบุรีโมเดล ระยะที่ 2 ในปี 2560 โดยอาศัยกลไกความร่วมมือประชารัฐ

ดร.มีชัย วีระไวทยะ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิประชาบดีกิจการเพื่อสังคม ดำเนินการในรูปแบบกิจการ Social Enterprise (SE) และ Corporate Social Responsibility (CSR) ขับเคลื่อนพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่ง คนขอทานมิติใหม่กับ Start up SE ธัญบุรีโมเดล เพื่อให้ภาคธุรกิจ เอกชน หนุนเสริมพัฒนางานในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งธัญบุรี สร้างแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคนในชุมชน และใช้วิธีเกษตรประณีต สร้างอาชีพตามแนวทางสวัสดิการเชิงธุรกิจกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อยกระดับรายได้ที่มั่นคงแก่คนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน

พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นการแสดงผลงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงาน Start Up SE ธัญบุรีโมเดล ระยะที่ 2 ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการการพัฒนารูปแบบ SE ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 โมเดล ได้แก่ นิคมเกษตรกรรมยั่งยืน Hope ผลิตภัณฑ์อาชีวะบำบัด และสินค้าต้นแบบสามชนเผ่าการจำลองกิจกรรมตามแนวคิด School-BIRD การเกษตรประณีต ร่วมกับมูลนิธิประชาบดีกิจการเพื่อสังคม การแสดงผลิตภัณฑ์ Bag Again ขยะรีไซเคิล ร่วมกับบริษัทปันฝัน ปันยิ้ม รวมทั้งการบริจาคเตียงจำนวน 89 เตียง จากสมาคมคลังปัญญาอาวุโสแห่งประเทศไทย

กระทรวง พม. มีความมุ่งมั่นสานพลังประชารัฐ พลังประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งคนขอทานอย่างยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนงาน Start up SE ธัญบุรีโมเดล ระยะที่ 2 โดยมีเป้าหมายในการสร้างศูนย์การเรียนรู้ ต้นแบบ SE ระดับประเทศ ทั้งนี้ ขอเชิญเที่ยวชม Start up SE ธัญบุรีโมเดล พร้อมร่วมอุดหนุนผลิตภัณฑ์จากคนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน เช่น ผักสดปลอดสารพิษไข่ไก่กระเป๋า Bag Again โดยเปิดบริการทุกวัน