ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดินเป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ ๑๖"อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา" ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ ๑๘) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ

รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง ภายในบรรจุทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเทวรูปสีดำองค์หนึ่ง ประมาณกันว่าเป็นศาลประจำเมืองก็ว่าได้

เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณถูกประดิษฐานภายในศาลพระกาฬ

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองลพบุรีในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับศาลสูง ความว่า "ออกจากพระปรางค์สามยอดเดินไปสักสองสามเส้น ถึงศาลพระกาล ที่หน้าศาลมีต้นไทรย้อย รากจดถึงดิน เป็นหลายราก ร่มชิดดี เขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก...ที่ศาลพระกาลนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันใดหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงแต่ผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ๔ ศอก เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา มีเทวรูปเล็ก ๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก ๒ รูป ออกทางหลังศาลมีบันไดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่ง มีรูปนารายณ์ประทมสินธุ์แผ่นหนึ่งวางเปะปะ ไม่ได้ตั้งเป็นที่..."

"ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาแต่โบราณ..คนทั่วทุกภาคนับถือ คุ้มครองป้องกันภัย โชคลาภ ภูตผีเกรงกลัว..

เจ้าพ่อพระกาฬ

ราวปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ศาลเทพารักษ์หลังเดิมขนาดสามห้องได้ทรุดโทรมลงมาก จึงมีการอัญเชิญเทวรูปองค์ดำดังกล่าวลงมาประดิษฐาน ณ เรือนไม้มุงสังกะสีบริเวณพระปรางค์ชั้นล่าง มีต้นไทรและกร่างปกคลุมทั่วบริเวณ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงมีการสร้างกำแพงเตี้ย ๆ ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ บ้างว่า พ.ศ. ๒๔๙๕ได้มีการสร้างศาลพระกาฬขึ้นใหม่เนื่องจากเรือนไม้สังกะสีเดิมได้ทรุดโทรมลง บางแห่งว่ามาจากการริเริ่มของศักดิ์ ไทยวัฒน์ ข้าหลวงประจำจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นจากการสนับสนุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บางแห่งว่าชลอ วนะภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญร่วมกับองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งชาวลพบุรีและผู้ศรัทธาจำนวนมาก เงินสำหรับก่อสร้างได้มาจากการเรี่ยไรจากชาวลพบุรีและใกล้เคียง รวมทั้งสิ้น ๓๐๔,๕๘๖.๒๒ บาท ศาลพระกาฬหลังใหม่จึงถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยร่วมสมัยของกรมศิลปากรสมัยหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นหัวหน้ากองสถาปัตยกรรมก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ซึ่งดูเด่นเป็นสง่า ณ บริเวณหน้าฐานพระปรางค์โบราณ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕

เจ้าพ่อพระกาฬ

เจ้าพ่อพระกาฬเป็นเทวรูปรุ่นเก่าซึ่งอาจเป็นพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นเทวรูปรุ่นเก่าศิลปะลพบุรีแต่เดิมเจ้าพ่อพระกาฬมีพระกายสีดำ ไม่มีพระเศียร และพระกรทั้งหมดกล่าวกันว่าเจ้าพ่อพระกาฬได้ไปเข้าฝันผู้ประสงค์ดีท่านหนึ่ง นัยว่าขอพระเศียรและพระกรเท่าที่จะหามาได้ ซึ่งได้มีผู้ศรัทธาได้จัดหาเศียรพระศิลาทรายศิลปะสมัยอยุธยาส่วนพระกรนั้นได้เพียงสองข้างจากทั้งหมดสี่ข้าง

ปัจจุบันเจ้าพ่อพระกาฬไม่เหลือเค้าเดิมซึ่งมีสีดำอีกแล้ว ด้วยถูกปิดทองจากผู้ศรัทธาแลดูเหลืองอร่ามจนสิ้นกล่าวกันว่าปีหนึ่งมีผู้มานมัสการไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนคน

ลิงศาลพระกาฬ

ลิงที่อาศัยในบริเวณศาลพระกาฬ

ลิงศาลพระกาฬ หรือ ลิงเจ้าพ่อพระกาฬ ดั้งเดิมเป็นลิงแสมปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมดกว่า ๕๐๐ ตัวไม่นับรวมลิงกลุ่มอื่น ๆ ในลพบุรีที่มีกว่า ๒,๐๐๐ ตัว ทั้งนี้ทั้งนั้นลิงฝูงดังกล่าวมิได้มีความเกี่ยวข้องกับศาลพระกาฬเลยแต่อย่างใด แต่เดิมบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬเป็นป่าคงมีลิงป่าอาศัยอยู่ ลิงดังกล่าวยังชีพด้วยของถวายแก้บน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลไม้ ปัจจุบันลิงทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ

  ลิงศาล หรือ ลิงเจ้าพ่อ เป็นลิงฝูงใหญ่อาศัยบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬช่วงเที่ยง และอาศัยที่พระปรางค์สามยอดและบางส่วนของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยช่วงเช้าและเย็น เมื่อพลบค่ำพวกมันจะกลับมานอนที่ศาลพระกาฬ กลุ่มนี้มีความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มักได้รับของเซ่นไหว้จากผู้ศรัทธาเสมอ ซึ่ง ลิงศาล อาจแบ่งย่อยได้อีกสามกลุ่มคือ กลุ่มศาลพระกาฬ, กลุ่มพระปรางค์สามยอด และกลุ่มโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย

"ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาแต่โบราณ..คนทั่วทุกภาคนับถือ คุ้มครองป้องกันภัย โชคลาภ ภูตผีเกรงกลัว..

"ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาแต่โบราณ..คนทั่วทุกภาคนับถือ คุ้มครองป้องกันภัย โชคลาภ ภูตผีเกรงกลัว..

คาถาบูชาศาลพระกาฬ จังหวัดลพบุรี

ตั้งนะโม ๓ จบ (นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ )

โอม ทักขิณะทิสะ ยะมะเทวะตา สะหะคะณะปริวารา

อาคุจฉันตุ ปริภุญชันตุ สะวาสะหายะฯ

โอม สัพพะอุปาทะวะ สัพพะทุกขะ สัพพะโศกะ

สัพพะโรคะ วินาสายะ สัพพะศัตรู ปะมุจจะติฯ

โอม ยะมะเทวตา สะตะรักขันตุ สะวาหะสะวาหา

สะวาสะหายะฯ

คำอธิษฐาน

สาธุข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าองค์พระกาฬอันศักดิ์สิทธ์ ข้าพเจ้าขอถวายบุญกุศลที่ได้สร้างข้ามชาติข้ามภพแด่องค์พระกาฬและดวงพระวิญญาณของอดีตบูรพกษัตรา กษัตรีแห่งเมืองลพบุรี โดยเฉาะดวงวิญญาณของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและดวงพระวิญญาณของพระกษัตริย์ทุก ๆ พระองค์และเทพเทวาทั้งหลาย ขอพรอันประเสริฐจงปัดเป่าเหตุเพศภัยทั้งทุกข์ทางกายทุกข์ทางใจโรคทางกายโรคทางใจตลอดจนคุณไสยอวิชายาพิษเล่ห์กลอันเกิดจากเจ้ากรรมนายเวรและผู้คนที่คิดอกุศลและบุคคลที่คิดอกุศลแก่ข้าพเจ้า เหตุเพศภัยทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงหายไปจากนี้ด้วยเทอญ สาธุ จงพ้นจากอุบัติเหตุอุบัติภัย โจรภัย อัคคีภัย ฝันร้ายและยาพิษ จงประสิทธิพรให้เป็นมงคล จากนี้จงประสบความสำเร็จดั่งประสงค์การงานรุ่งโรจน์ เจริญก้าวหน้า หากใครอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนมาอธิฐานจงสำเร็จในการเรียนดั่งประสงค์ ใครที่ป่วยเจ็บให้หายป่วยหายเจ็บ และจากนี้สืบไปให้แก้วแหวนเงินทองไหลมาเทมากการงานที่ทำด้วยความวิริยะอุตสาหะ จงทำให้เกิดทรัพย์สินเงินทองความสำเร็จดั่งปารถนามีบ้านที่อยู่อาศัยที่มั่นคง จงมุ่งตรงสำเร็จแก่ข้าพเจ้าและท่านได้อธิษฐานจากนี้สืบไปเมื่อหน้าด้วยเทอญ สาธุ

"ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาแต่โบราณ..คนทั่วทุกภาคนับถือ คุ้มครองป้องกันภัย โชคลาภ ภูตผีเกรงกลัว..

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

https://www.facebook.com