ครม.อนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือ "มอเตอร์เวย์" สายบางปะอิน-นครราชสีมา และ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยกำหนดให้เอกชน

วันที่ 22 สิงหาคม 2560 ทางด้าน นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรนอกสถานที่ จ.นครราชสีมา ว่า ครม.อนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือ "มอเตอร์เวย์" สายบางปะอิน-นครราชสีมา และ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยกำหนดให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา(Operate and Management) ในรูปแบบ PPP Gross Cost มีระยะเวลาร่วมลงทุนไม่เกิน 30 ปี โดยกรอบวงเงินโครงการบางปะอิน-โคราช วงเงินไม่เกิน 33,285 ล้านบาท และโครงการบางใหญ่-กาญจนบุรี วงเงินไม่เกิน 27,828 ล้านบาท โดยทั้งสองโครงการจะแล้วเสร็จในปี 2563

ทั้งสองโครงการเอกชนจะเป็นผู้ออกแบบและลงทุนค่าก่อสร้างงานระบบและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่เอกชนลงทุนก่อสร้าง รวมถึงรายได้ทั้งหมดจากค่าธรรมเนียมผ่านทาง และให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการทั้งหมด ทั้งในส่วนงานโยธาที่รัฐเป็นผู้ลงทุนและงานส่วนที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน ตลอดจนเป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางโดยเอกชนได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินค่าก่อสร้างงานระบบและองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง ค่าบำรุงรักษา และค่าบริหารจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง รวมถึงงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามขอบเขตงาน


เจาะลึก มอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี”  และ “บางปะอิน-โคราช” เชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ขยายเศรษฐกิจ  หลัง ครม.สัญจร อนุมัติเอกชนร่วมทุน

ดังนั้นวันนี้จะพาท่านผู้อ่านไปดูรายละเอียดทั้งสองโครงการ ...ดังนี้...
 

มอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี โครงข่ายคมนาคมสู่ภาคตะวันตกและท่าเรือน้ำลึกทวาย



เดินหน้างานก่อสร้างแล้วสำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 49,120 ล้านบาท โดยล่าสุดกรมทางหลวงได้ลงนามในสัญญากับบริษัทผู้รับเหมาไปแล้ว 9 ตอน จากที่ได้แบ่งสัญญาก่อสร้างทั้งหมดออกเป็น 25 ตอน ส่วนที่เหลือคาดว่าจะสามารถเซ็นได้ครบภายในเดือนธันวาคม 2559

ซึ่งหลังจากเซ็นสัญญาดังกล่าวแล้วจะทำให้ผู้รับจ้างสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ทันทีตามแผนงานที่วางไว้ โดยแต่ละสัญญาจะใช้เวลาในการก่อสร้างไม่เกิน 30 เดือนโดยเฉลี่ย และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2563

สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรีเป็นทางหลวงพิเศษ ที่จะทำให้การจราจรจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสามารถเดินทางไปภาคตะวันตกของประเทศได้โดยสะดวก และจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างฐานการผลิตและส่งออกของประเทศเพื่อนบ้านด้านตะวันตกได้เป็นอย่างดี (เชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมสู่ภาคตะวันตกและโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า)

แนวเส้นทางของมอเตอร์เวย์สายดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี และกาญจนบุรี โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แล้วไปสิ้นสุดที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 324 อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วงเงินค่าก่อสร้าง 43,700 ล้านบาท ค่าเวนคืน 5,420 ล้านบาท

 

 

เจาะลึก มอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี”  และ “บางปะอิน-โคราช” เชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ขยายเศรษฐกิจ  หลัง ครม.สัญจร อนุมัติเอกชนร่วมทุน

รูปแบบของโครงการเป็นทางหลวงพิเศษที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางเป็นระบบปิดตลอดเส้นทาง โดยมีขนาด 4-6 ช่องจราจร มีเขตทางกว้างตามแบบ 50 เมตร, 70 เมตร, 90 เมตร, 100 เมตร และบริเวณทางแยกต่างระดับซึ่งมีเขตทางกว้างตามแบบก่อสร้าง พร้อมทางแยกต่างระดับ 8 แห่ง ได้แก่
1) บางใหญ่
2) นครชัยศรี (ทล.3323)
3) นครชัยศรี (เชื่อมต่อสายนครปฐม-ชะอำ)
4) นครปฐมฝั่งตะวันออก (ทล.3036)
5) นครปฐมฝั่งตะวันตก (ทล.321)
6) ท่ามะกา (ทล.3394)
7) ท่าม่วง (ทล.3081)
8) กาญจนบุรี (ทล.324)


นอกจากนี้ยังมีพื้นที่บริการทางหลวงอีก 3 แห่ง คือ Rest Area จำนวน 1 แห่ง (ประมาณ กม.71) และ Service Area จำนวน 2 แห่ง (ประมาณ กม.20 และ กม.47)

เจาะลึก มอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี”  และ “บางปะอิน-โคราช” เชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ขยายเศรษฐกิจ  หลัง ครม.สัญจร อนุมัติเอกชนร่วมทุน

ส่วน มอเตอร์เวย์ “บางปะอิน-โคราช” เชื่อมต่อเพื่อนบ้าน “ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา-จีนตอนใต้” ขยายเศรษฐกิจภาคอีสาน

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเป็นประธานเปิดโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 6 สายบางปะอิน –สระบุรี – นครราชสีมา เมื่อวันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณทางต่างระดับแยกพุทธฉาย กม.99+300 ถนนพหลโยธิน อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี


สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน สระบุรี นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร จะแบ่งการดำเนินโครงการออกเป็น 40 ช่วง วงเงินรวม 76,600 ล้านบาท ซึ่งสามารถประกวดราคาและลงนามในสัญญาได้ภายในปีงบประมาณ 2559 จำนวน 25 ช่วง และภายในปีงบประมาณ 2560-2561 จำนวน 15 ช่วง ในเบื้องต้นจะก่อสร้างช่วงที่ 7 ซึ่งเป็นสะพานอยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ก่อน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีกำหนดแล้วเสร็จปี 2562 และเปิดให้บริการในปี 2563

 

มอเตอร์เวย์สายดังกล่าว จะมีทางวิ่งฝั่งละ 4-6 ช่องทาง โดยมีจุดเริ่มต้นที่ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณทางแยกต่างระดับที่เป็นจุดเริ่มต้นของถนนวงแหวนตะวันตก มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตัดกับทางหลวงหมายเลข 1 ที่บริเวณแนวทางเลี่ยงเมืองสระบุรี ด้านตะวันออกขนานไปทางด้านใต้ของทางหลวง หมายเลข 2 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 2 ที่บริเวณ อ.สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา แล้ววางตัวทางด้านเหนือของทาง หลวงหมายเลข 2 จนบรรจบกับแนวถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ไปทับกับแนวถนนวงแหวนดังกล่าว เลี้ยวเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ที่จุดตัดทางหลวงสายบ้านกุดม่วง-นครราชสีมา แล้วทับซ้อนไปกับแนวทางหลวงสายดังกล่าว สิ้นสุดที่จุดบรรจบทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา (By Pass)

โครงการก่อสร้างทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา ของกรมทางหลวง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และสามารถเปิดให้บริการภายในปี 2563

สำหรับมอเตอร์เวย์สายนี้ จะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ภาคกลางกับศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ด้วยระยะทาง 196 กม. ใช้เวลาเพียง 127 นาที อีกทั้งยังเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น “ลาว-เวียดนาม-กัมพูชา-จีนตอนใต้”

แนวเส้นทางเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับวงแหวนรอบนอกตะวันออก กับ ถ.พหลโยธินที่บริเวณทางแยกต่างระดับบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นแนวใหม่ขนานไปกับ ถ.พหลโยธินและ ถ.มิตรภาพ และบรรจบกับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา บริเวณหลัก กม.ที่ 2

เส้นทางพาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด 12 อำเภอ ได้แก่

1.จ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.วังน้อย อ.อุทัย

2.จ.สระบุรี อ.หนองแค อ.เมืองสระบุรี อ.แก่งคอย อ.มวกเหล็ก

3.จ.นครราชสีมา อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมืองนครราชสีมา

การก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ช่วง ใน 2 รูปแบบ ได้แก่

ช่วงที่ 1
• ทางพิเศษ 6 ช่องจราจร
• จากบางปะอิน-อ.ปากช่อง
• ระยะทาง 103 กม.

ช่วงที่ 2
• ทางพิเศษ 4 ช่องจราจร
• จากอ.ปากช่อง-นครราชสีมา
• ระยะทาง 93 กม.

โดยมีรูปแบบการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นทางระดับพื้น แต่จะมีทางยกระดับ 4 ช่วง ระยะทางรวม 32.1 กม. ได้แก่

1. ช่วงทางเลี่ยงเมืองสระบุรี
• ระยะทาง 7 กม.

2. ช่วงพื้นที่สัมปทาน TPI
• ระยะทาง 5.5 กม.

3. ช่วงเขาตาแป้น
• ระยะทาง 2.3 กม.

4. ช่วงอ่างเก็บน้ำลำตะคอง
• ระยะทาง 17.3 กม.



มีการควบคุมการเข้า-ออกแบบสมบูรณ์ (รั้วกั้น) ตลอดทาง

โดยใช้ระบบเก็บค่าผ่านทางระบบปิด ซึ่งมีด่านจัดเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด จำนวน 9 ด่าน ได้แก่

1. ด่านบางปะอิน
2. ด่านวังน้อย
3. ด่านหินกอง
4. ด่านสระบุรี
5. ด่านแก่งคอย
6. ด่านมวกเหล็ก
7. ด่านปากช่อง
8. ด่านสี่คิ้
9. ด่านนครราชสีมา

 

เจาะลึก มอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี”  และ “บางปะอิน-โคราช” เชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ขยายเศรษฐกิจ  หลัง ครม.สัญจร อนุมัติเอกชนร่วมทุน

 

มีจุดทางแยกต่างระดับที่เชื่อมต่อกับทางหลวง จำนวน 10 แห่ง ได้แก่

1. ทางต่างระดับบางปะอิน 1
2. ทางต่างระดับบางปะอิน 2
3. ทางต่างระดับวังน้อย
4. ทางต่างระดับหินกอง
5. ทางต่างระดับสระบุรี
6. ทางต่างระดับแก่งคอย
7. ทางต่างระดับมวกเหล็ก
8. ทางต่างระดับปากช่อง
9. ทางต่างระดับสีคิ้ว
10. ทางต่างระดับนครราชสีมา

 

เจาะลึก มอเตอร์เวย์ “บางใหญ่-กาญจนบุรี”  และ “บางปะอิน-โคราช” เชื่อมต่อเพื่อนบ้าน ขยายเศรษฐกิจ  หลัง ครม.สัญจร อนุมัติเอกชนร่วมทุน

พื้นที่บริการทางหลวง จำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย

1. ที่พักริมทางหลวง (Rest Area) 15 ไร่ จำนวน 5 แห่ง

2. สถานีบริการทางหลวง (Service Area) 20 ไร่ จำนวน 2 แห่ง

3. ศูนย์บริการทางหลวง (Service Center) 50 ไร่ จำนวน 1 แห่ง

กรมทางหลวงยังมีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหารจัดการและงานบำรุงรักษาตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล

 

กรมทางหลวงยังมีแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนการบริหารจัดการและงานบำรุงรักษาตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ด้วยรูปแบบ PPP Gross Cost หรือ DBFMO (Design, Build, Finance, Maintainand Operated) เพื่ออำนวยความสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชนผู้ใช้ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นมาตรฐานสากล