ย้อนทวนความ "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล" กับวาทกรรม "หักไม้เรียว" แล้วนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นมั้ย  สมัยไม้เรียว กับ สมัยปัจจุบัน ??

ย้อนทวนความ "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล" กับวาทกรรม "หักไม้เรียว" แล้วนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นมั้ย สมัยไม้เรียว กับ สมัยปัจจุบัน ??

เรียกได้ว่าวาทกรรมหักไม้เรียว ของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ผ่านมานานกว่า 10 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ลงนามแก้ไขระเบียบการลงโทษนักเรียน หรือนักศึกษาใหม่ โดยยกเลิกการใช้ไม้เรียว จึงมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้

ย้อนทวนความ "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล" กับวาทกรรม "หักไม้เรียว" แล้วนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นมั้ย  สมัยไม้เรียว กับ สมัยปัจจุบัน ??

ระเบียบการลงโทษเดิมที่วางไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นั้น กำหนดให้ครูทำโทษนักเรียนด้วยการตีเด็กได้ โดยใช้ไม้เรียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๐.๗ เซนติเมตร และตีไม่เกิน ๖ ทีติดต่อกัน

 

ส่วนระเบียบการลงโทษใหม่ ที่ยกเลิกการลงโทษเด็ก โดยการใช้ไม้เรียวนั้น แบ่งประเภทการลงโทษออกเป็น ๕ ประเภท คือ ว่ากล่าวตักเตือน ทำกิจกรรม ทำทัณฑ์บน พักการเรียน และให้ออก โดยบังคับใช้กับนักเรียนและนักศึกษาแตกต่างกันไปตามระดับชั้น กล่าวคือ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กำหนดโทษไว้เพียง ๓ ประเภท คือ ว่ากล่าวตักเตือน ทำกิจกรรม และทำทัณฑ์บน ไม่มีการพักการเรียนและให้ออก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและสายอาชีพ กำหนดโทษไว้ ๔ ประเภท คือ ว่ากล่าวตักเตือน ทำกิจกรรม ทำทัณฑ์บน และพักการเรียน ส่วนระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี กำหนดโทษไว้ทุกประเภท

ย้อนทวนความ "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล" กับวาทกรรม "หักไม้เรียว" แล้วนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นมั้ย  สมัยไม้เรียว กับ สมัยปัจจุบัน ??

สำหรับโทษว่ากล่าวตักเตือน ครูอาจารย์จะเป็นผู้ตัดสินทำโทษเอง ในกรณีที่นักเรียนนักศึกษาทำความผิดไม่ร้ายแรง ส่วนโทษตั้งแต่ทำกิจกรรมจนถึงให้ออก จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของโรงเรียนก่อน ว่ามีความผิดจริง โดยผู้บริหารโรงเรียน จะต้องตั้งคณะทำงานพิจารณาโทษเด็ก เพื่อป้องกันการใช้อารมณ์ของครู

แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ จะเห็นด้วยกับระเบียบใหม่ดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยลดการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนลง ทว่าครูอาจารย์ และผู้ที่ทำงานด้านเด็กหลายท่าน กลับออกมาแสดงความเห็นในทางตรงกันข้ามว่า มาตรการดังกล่าว อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรง รูปแบบใหม่ที่ซับซ้อนกว่าเดิม

มาตรการยึดไม้เรียวครู จะช่วยยุติความรุนแรง หรือจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงรูปแบบใหม่ ? นี่เป็นเรื่องที่สังคมไทยควรจะต้องนำมาขบคิดพิจารณาให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ให้แก่ลูกหลานของเรา

ย้อนทวนความ "สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล" กับวาทกรรม "หักไม้เรียว" แล้วนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นมั้ย  สมัยไม้เรียว กับ สมัยปัจจุบัน ??

ขณะที่ล่าสุดกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้นระหว่างครูและนักเรียนโรงเรียนวัดนวลนรดิศ กับพฤติกรรมก้าวร้าว

หลังจากเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา มีการแชร์คลิปเหตุการณ์การปะทะคารมอย่างรุนแรงของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดนวลนรดิศ มีปากเสียงกับครูผู้หญิง 2 คน โดยต้นเหตุมาจากการที่นักเรียนชายรายนี้มาโรงเรียนในเวลาเที่ยงโดยอ้างเหตุผลว่าทะเลาะกับแม่ ซึ่งครูทั้ง 2 คน พยามนำตัวเด็กไปยังห้องปกครองแต่เหมือนเด็กจะไม่ฟังกลับเดินหนีก่อนที่ครูคนหนึ่งจะเข้าไปดึงกระเป๋าจนถูกนักเรียนชายปัดแขนออกตามด้วยผลักลำตัวจนคุณครูผู้หญิงอีกท่านตะโกนให้เพื่อนนักเรียนจับตัวไว้

ทั้งนี้มีรายงานว่านักเรียนชายม.6 คนดังกล่าวเคยมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดปัจจุบันได้เลิกไปแล้ว แต่ยังมีการโดดเรียนหรือเข้าเรียนสายอยู่บ้างเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตามความเห็นชาวเน็ตต่างแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายแรกเห็นว่าพฤติกรรมของนักเรียนมีความก้าวร้าว ดื้อรั้น และไม่เคารพผู้เป็นครูทั้งที่ตนเองทำผิดกฎเกณฑ์ของโรงเรียน ส่วนอีกฝั่งมองว่าครูใช้วาจารุนแรงยั่วยุเด็ก และการคาดโทษไล่ออกดูจะเป็นสิ่งที่รุนแรงเกินไปหรือไม่กับอนาคตของนักเรียนม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษา

นี่ก็ถือว่าเป็นตัวอย่างอีกหนึ่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ที่ครูไม่สามารถลงโทษนักเรียนเหมือนสมัยก่อนได้ ซึ่งปัจจุบันครูทำได้เพียง ว่ากล่าวตักเตือน ทำกิจกรรม ทำทัณฑ์บน พักการเรียน และให้ออก เพียงเท่านั้น

CR.sarakadee.com,brightv