เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดได้ทั้งมีสาเหตุ

เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

ถ้าหากคุณมีอาการเช่นนี้หลายข้อ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า


1.รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
2.ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต
3.น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
4.นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
5.รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
6.ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
7.อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
8.กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
9.คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย

เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

วิธีการรักษา
สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน
บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี "ภูมิคุ้มกัน" สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างไร
เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป เช็คด่วน!! อาการบ่งบอกโรคซึมเศร้าพร้อมวิธีรักษา ก่อนที่จะสายเกินไป

ขอบคุณข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียบเรียงโดย   เดชา บัวน้อย : สำนักข่าวทีนิวส์