นายประทีป กีรติเรขา อธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ออกมาชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารที่กระทรวงมหาดไทยเซ็นยกป่าชุมชนในที่สาธารณะห้วยเม็ก

ความจริงจากปากชาวบ้าน ราชการหมกเม็ด ร้องเรียนเรื่องเงียบ แต่อธิบดีกรมที่ดิน กลับมาอ้างชาวบ้านยินยอมเซ็นยกป่าชุมชนให้ ‘กระทิงแดง’ สร้างโรงงาน

จากรณีเมื่อวันที่ 8 กันยายน ทางเพจ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน ได้โพสต์ข้อมูลและภาพเอกสารข้อมูล เกี่ยวกับกรณีที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนามในคำสั่งอนุมัติให้ บริษัท เคทีดี พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ใช้ที่ดินสาธารณะที่ขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนเพื่อขยายเขต ระบุข้อความว่า...

“อนุพงษ์” เซ็นยกป่าชุมชนให้ “กระทิงแดง” สร้างโรงงาน

เปิดเอกสารมหาดไทย มท.1 เซ็นอนุมัติให้กระทิงแดงใช้ที่ดินสาธารณะที่ขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนเพื่อขยายเขตโรงงาน อ้างสภาพแห้งแล้งชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ขณะระเบียบ มท. กำหนดอนุญาตได้ไม่เกิน 10 แต่จัดเต็ม 31 ไร่ อ้างการขยายโรงงานเป็นเหตุผลที่สมควร
เมื่อ
1 มิถุนายน 2559 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ลงนามอนุมัติให้ บริษัท เคทีดี พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (กระทิงแดง) ใช้ “ที่สาธารณะห้วยเม็ก” เนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ 2 งาน เป็นที่กักเก็บน้ำสำหรับโรงงานน้ำดื่มและเครื่องดื่ม ตามหนังสือของมหาดไทย ที่ มท 0208.4/886 ของสำนักกฎหมาย สป. เป็นการอนุมัติตามระเบียบมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 ของประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2543 ข้อ 22 (2) โดยให้เหตผลว่าที่แปลงสาธารณะประโยชน์แปลดังกล่าว “..ปัจจุบันมีสภาพแห้งแล้งไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ราษฎรไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว และไม่ได้เป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูฝนแต่อย่างใด..” และระบุต่อไปว่าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ราษฎรในพื้นที่ สภา อบต. พิจารณาแล้วเห็นควรอนุมัติ กับได้มีการประกาศการขออนุญาตใช้ที่ดินแล้ว “ไม่มีผู้ใด” คัดค้าน ทั้งนี้ ระเบียบมหาดไทยฉบับเดียวกัน ข้อ 23 (3) กำหนดว่าในแต่ละจังหวัดจะอนุญาตให้ได้ต้องไม่เกิน 10 ไร่ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร ซึ่งเหตุอันสมควรที่อนุมัติที่ดิน 31 ไร่ ให้เอกชนในครั้งนี้คือป่าชุมชนอยู่กึ่งกลางในเขตพื้นที่โรงงานและบริษัทมีความจำเป็นในการขยายโรงงาน ที่สาธารณะห้วยเม็กอยู่ในเขตบ้านหนองแต้ หมู่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น คณะกรรมการชุมชนได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณะประโชยชน์มาตั้งแต่ปี 2526 ตาม นสล. เลขที่ ขก 2321 และได้มีการอนุรักษ์เป็นป่าชุมชน กำหนดกติกาการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ทั้งนี้ บริษัทได้เข้าไปซื้อที่ดินบริเวณโดยรอบป่าชุมชุนตั้งแต่ช่วงปี 2555 และขอใช้ที่ดินเพื่อขยายโรงงานช่วงปี 2558 ซึ่งเรื่องคาราคาซังเรื่อยมา โดยถูกคัดค้านจากสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านดงมาตลอด ก่อนที่ มท.1 จะอนุมัติให้ใช้ “ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน” แปลงดังกล่าวเพื่อกิจการของเอกชน

ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า บริษัท เคทีดี พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้ง 13 มกราคม 2554 ทุนปัจจุบัน 5 ล้านบาท ตั้งอยู่เลขที่ 288 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร แจ้งประกอบธุรกิจบริการดูแลและรักษาหลักทรัพย์ ปรากฎชื่อ นายสราวุฒิ อยู่วิทยา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจถือหุ้นใหญ่สุด 16.6670% มูลค่า 833,350 บาท ส่วนนาย จิรวัฒน์ อยู่วิทยา นางสาวนุชรี อยู่วิทยา และนางสาวสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ร่วมเป็นกรรมการ ถือหุ้นอยู่คนละ 16.6666% มูลค่าหุ้นที่ถืออยู่คนละ 833,330 บาท (อ้างอิงจากรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ 25 เมษายน 2560 )

โดยนายสราวุฒิ อยู่วิทยา เป็นบุตรชายคนเล็กของนายเฉลียว อยู่วิทยา นักธุรกิจเจ้าของบริษัทเครื่องดื่มชูกำลัง กระทิงแดง เกิดวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 มีตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจกระทิงแดง ซึ่งเป็นบุคคลที่มีบทบาทมากที่สุดในการบริหารงานของบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดงในปัจจุบัน

ซึ่งทางด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังไม่ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด




ความจริงจากปากชาวบ้าน ราชการหมกเม็ด ร้องเรียนเรื่องเงียบ แต่อธิบดีกรมที่ดิน กลับมาอ้างชาวบ้านยินยอมเซ็นยกป่าชุมชนให้ ‘กระทิงแดง’ สร้างโรงงาน

ความจริงจากปากชาวบ้าน ราชการหมกเม็ด ร้องเรียนเรื่องเงียบ แต่อธิบดีกรมที่ดิน กลับมาอ้างชาวบ้านยินยอมเซ็นยกป่าชุมชนให้ ‘กระทิงแดง’ สร้างโรงงาน

ความจริงจากปากชาวบ้าน ราชการหมกเม็ด ร้องเรียนเรื่องเงียบ แต่อธิบดีกรมที่ดิน กลับมาอ้างชาวบ้านยินยอมเซ็นยกป่าชุมชนให้ ‘กระทิงแดง’ สร้างโรงงาน

ล่าสุด นายประทีป กีรติเรขา อธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ออกมาชี้แจงกรณีมีการเผยแพร่เอกสารที่กระทรวงมหาดไทยเซ็นยกป่าชุมชนในที่สาธารณะห้วยเม็ก 31 ไร่ใน อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ให้กับบริษัทกลุ่มกระทิงแดงว่า การอนุญาตดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบและกฎหมายครบถ้วนถูกต้องตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2543 และที่ผ่านมา

โดยทางด้าน บริษัท เคทีดี พร็อพเพอร์ตี้ดีเวลลอปเมนท์ (กระทิงแดง) จำกัด ได้ยื่นขอนุญาตประกอบกิจการในที่ดินแปลงห้วยเม็กสาธารณประโยชน์ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ ขก 2321 หมู่ที่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น เนื้อที่ประมาณ 31-2-63 ไร่นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่เก็บกักน้ำสำหรับประกอบกิจการอุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นลักษณะแหล่งน้ำตามวัตถุประสงค์เดิมของที่สาธารณประโยชน์ ทางจังหวัดขอนแก่นได้รายงานข้อเท็จจริงว่าได้ปฏิบัติตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ครบถ้วนแล้ว ได้ข้อสรุปคือสภาพที่ดินแห้งแล้ง ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ปัจจุบันราษฎร ไม่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ไม่มีทรัพยากรอันมีค่าในที่ดิน โดยทางอบต.บ้านดงและชาวบ้านในพื้นที่ ได้มีการประชุมลงมติเห็นชอบให้บริษัทเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณะห้วยเม็กได้ โดยไม่มีการคัดค้าน

จากเรื่องข้างต้น นั้นพบข้อมูลว่าปลายปี
2559 สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านดง อ.อุบลรัตน์ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายพงศ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอให้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการตรวจสอบแนวเขตหนังสือสำคัญที่หลวง ป่าห้วยเม็ก ในเขตหมู่ 6 ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ โดยอ้างว่า บริษัทเคทีดี พร็อบเพอ์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งกำลังก่อสร้างโรงงาน ได้ก่อสร้างโรงงานรุกล้ำที่สาธารณะรวมทั้งปิดกั้นเส้นทางที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ในขณะนั้นนายไพบูลย์ บุญลา ประธานสภาองค์กรชุมชน ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ได้ให้ข้อมูลว่า สภาองค์กรชุมชนบ้านดงบัง ได้รับเอกสารของทางราชการโดยกระทรวงมหาดไทย ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับบริษัทเคทีดี พร็อบเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด ได้ขออนุญาตประกอบกิจการในที่ดินของรัฐในพื้นที่ตำบลบ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะป่าห้วยเม็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 บ้านหนองแต้ ต.หนองแต้ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

และชาวบ้านได้ทำหนังสือคัดค้านการดำเนินการ และการปิดเส้นทางเดิมผ่านนายอำเภออุบลรัตน์ โดยให้เหตุผลว่า เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางดั้งเดิมที่ชาวบ้านใช้สัญจรเพื่อทำไร่นา ทำการเกษตรหาเลี้ยงชีพเป็นประจำ

ที่ผ่านมานั้นทางบริษัทฯ ดังกล่าวได้กว้านซื้อที่ดินในพื้นที่ใกล้เคียงในลักษณะปิดล้อมพื้นที่ป่าโคกห้วยเม็ก และเป็นการปิดล้อมพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรบางราย เพื่อประสงค์จะเช่าพื้นที่ป่าห้วยเม็กประกอบกิจการ และเชื่อมต่อระบบท่อบำบัดน้ำเสีย


ชาวบ้านจึงได้ยื่นหนังสือคัดค้าน แต่ไม่ปรากฏว่ามีการแก้ไขปัญหา และยังพบว่าแผนผังสร้างโรงงานรุกล้ำเข้ามายังพื้นที่ที่สาธารณะ รวมทั้งยังมีการแผ้วถางปรับพื้นที่ป่าบางส่วน โดยสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านดงได้เสนอแนะต่อผู้นำท้องที่ ผู้บริหาร อปท. ด้วยวาจาหลายครั้งแต่ยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรม
 

ที่ผ่านมาชาวบ้านไม่เคยเห็นด้วย เนื่องจากเป็นพื้นที่ดังกล่าวนั้นชาวบ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านได้กันไว้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ หาของป่าและอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลโดยได้สร้างกติกาในการใช้พื้นที่ป่าแห่งนี้รวมทั้งร่วมกันรักษาปกป้องการบุกรุกมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2500


เมื่อ พ.ศ. 2555 ได้มีการเข้าไปกว้านซื้อที่ดินรอบ ๆ ป่า เพื่อเสนอให้บริษัทกระทิงแดงจัดตั้งโรงงานผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวด และปลายปี 2558 ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ทางบริษัทกระทิงแดง จะทำการขอเช่าพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้เป็นพื้นที่โรงงาน และจะมีการปิดเส้นทางสาธารณะบางส่วนซึ่งจะเริ่มก่อสร้างโรงงานในปี พ.ศ. 2559 และชาวบ้านได้ร้องไปยังสำนักงานที่ดินจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ตรวจสอบ แต่ทว่าเรื่องก็เงียบหายไป ปรากฏเป็นข่าวอีกครั้งคือมีการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวกันไปเรียบร้อยแล้ว

 


ความจริงจากปากชาวบ้าน ราชการหมกเม็ด ร้องเรียนเรื่องเงียบ แต่อธิบดีกรมที่ดิน กลับมาอ้างชาวบ้านยินยอมเซ็นยกป่าชุมชนให้ ‘กระทิงแดง’ สร้างโรงงาน