ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

 นายณัฐพัชร์ อภิชาตรัตนกุล ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีปักษ์ใต้ นายเกษม บุญชนะ เครือข่ายเกษตรเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร นายสุนทร รักษ์รงค์  นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และตัวแทนกลุ่มต่างๆประมาณ 15 คน เข้ายื่นหนังสือเรื่อง ขอให้ยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง  โดยมีนายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ รอง.ผวจ.ชุมพรเป็นผู้รับหนังสือ ณ บริเวณทางขึ้นศาลากลางจังหวัดชุมพร ต.นาชะอัง อ.เมืองชุมพร โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรได้กล่าวว่าท่านจะนำหนังสือฉบับนี้นำเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป กลุ่มผู้ยื่นหนังสือได้เดินทางกลับในเวลา 09.40 น.
 

ร้องนายกฯ ชุมพร เครือข่ายเกษตรเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยื่นหนังสือ ถึงนายกฯ ขอให้ยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง (มีคลิป)


นายณัฐพัชร์ อภิชาตรัตนกุล ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีปักษ์ใต้ กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงที่มี 4 กระทรวงหลัก ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ ได้มีมติ เมื่อ 5 เม.ย.2560 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

ร้องนายกฯ ชุมพร เครือข่ายเกษตรเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยื่นหนังสือ ถึงนายกฯ ขอให้ยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง (มีคลิป)

(1)ให้เพิกถอนทะเบียนและไม่ต่ออายุทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง 2 ชนิด ได้แก่ พาราควอต สารเคมีกำจัดวัชพืชซึ่ง 48 ประเทศยกเลิกการใช้แล้วเพราะพิษเฉียบพลันสูงและเป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน และคลอร์ไพริฟอส สารเคมีกำจัดแมลงซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองเด็กทารกอย่างถาวรและหลายประเทศทั่วโลกห้ามการใช้ในพืชผักและอาหาร (2)ให้มีการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต สารเคมีกำจัดวัชพืช ซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นสารน่าจะก่อมะเร็ง สอดคล้องกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในประเทศไทย โดยห้ามใช้ในเขตชุมชน พื้นที่ต้นน้ำ แหล่งน้ำ เป็นต้นฯ นั้น

 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กลับแถลงอย่างเป็นทางการ จะไม่ดำเนินการตามมติดังกล่าวในข้อที่( 1)โดยอ้างว่า กระทรวงเกษตรฯ ขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพอนามัย แต่จะส่งเรื่องให้กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาก่อนที่จะดำเนินการใดๆตามข้อเสนอ การกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นการถ่วงเวลาในการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานฯ ให้เนิ่นช้าออกไปและอาจมีเจตนาที่จะเอื้อประโยชน์กับบริษัทเอกชนที่ค้าสารพิษโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐเองได้เสนอให้มีการยกเลิกสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2 ชนิด คือ เมโทมิล และคาร์โบฟูราน แม้ผ่านเวลาผ่านไปกว่า 4 ปีแล้ว แต่กระทรวงอุตสาหกรรม กลับมิได้ดำเนินการยกเลิกสาร ดังกล่าว แต่อย่างใด
            “ หนังสือฉบับนี้ขอให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการดังนี้ คือ (1) ให้กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมวิชาการเกษตร ไม่ต่อใบอนุญาตแก่ สารพาราควอต และคลอร์ไพรีฟอส (2) ให้กรมวิชาการเกษตรลดจำนวนการนำเข้าสารทั้ง 2 ชนิด ลงเป็นลำดับ ตาม Road Map ของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ (3) ให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดประชุมคณะกรรมการฯ โดยนำเอาข้อมูลของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เข้าร่วมพิจารณา โดยห้ามคณะกรรมการที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับสมาคมค้าสารเคมีฯ เข้าประชุม และ (4) ในระหว่างที่อยู่ระหว่างดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้สั่งการให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้มีการห้ามหรือจำกัดการใช้สารเคมีศัตรูพืช ทั้ง 3 ชนิด ตามความเหมาะสม เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัย ของประชาชน ” นายณัฐพัชร์ กล่าว
 

ร้องนายกฯ ชุมพร เครือข่ายเกษตรเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยื่นหนังสือ ถึงนายกฯ ขอให้ยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง (มีคลิป)

ภาพ/ข่าว พงศกร นวนละมัย / ทีมข่าวทีนิวส์ชุมพร