รับรองเลยคนไทยไม่ลืมแน่!!ย้อนคำ“นช.ทักษิณ”หวัง11ปีไม่ลืมเลือน ลองนึกอีกทีโชคดีปท.ถ้าไม่มีรปห.19 กันยา ชินคอร์ปคงสูบเงินแผ่นดินเป็นแสนๆล้าน??

ติดตามรายละเอียด : http://www.tnews.co.th

แม้จะกลายเป็นนักโทษหนีคดีอาญาไปใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในต่างประเทศ  แต่ในทางการเมืองนายทักษิณ  ชินวัตร  ก็ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาโดยตลอดต่อเนื่อง   ล่าสุดในโอกาสครบรอบวันรัฐประหาร 19 กันยายน   นายทักษิณ เลือกโพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์ @ThaksinLive โดยระบุว่า I hope the memory of what happened 11 years ago has not faded from the hearts of Thai people. (1) ผมหวังว่าความทรงจำที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 11 ปีก่อนจะไม่เลือนหายไปจากหัวใจคนไทย และ I am, and will always be, concerned about the livelihood of my fellow Thai citizens. (2) ผมมีความเป็นห่วงเสมอ ต่อความเป็นอยู่ของคนไทยที่สนับสนุนผม
 

 

 

รับรองเลยคนไทยไม่ลืมแน่!!ย้อนคำ“นช.ทักษิณ”หวัง11ปีไม่ลืมเลือน ลองนึกอีกทีโชคดีปท.ถ้าไม่มีรปห.19 กันยา ชินคอร์ปคงสูบเงินแผ่นดินเป็นแสนๆล้าน??

 

 

รับรองเลยคนไทยไม่ลืมแน่!!ย้อนคำ“นช.ทักษิณ”หวัง11ปีไม่ลืมเลือน ลองนึกอีกทีโชคดีปท.ถ้าไม่มีรปห.19 กันยา ชินคอร์ปคงสูบเงินแผ่นดินเป็นแสนๆล้าน??

แน่นอนว่านายทักษิณคงไม่อยากให้คนไทยที่นิยมชมชอบลืมแนวทางการทำการเมืองที่เรียกว่า “ระบอบทักษิณ”  ซึ่งสร้างคะแนนนิยมให้กับพรรคการเมืองอย่างไทยรักไทย , พลังประชาชน และ เพื่อไทยอย่างแน่นอน  แต่ในมุมกลับก็มีคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่คงลืมชื่อนายทักษิณไม่ได้  ในแง่มุมความเห็นที่แตกต่างออกไป   โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายทางการเมืองที่ให้ฐานะทางการเมืองของตระกูลชินวัตรเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ภายหลังการขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ??

 

 

 

รับรองเลยคนไทยไม่ลืมแน่!!ย้อนคำ“นช.ทักษิณ”หวัง11ปีไม่ลืมเลือน ลองนึกอีกทีโชคดีปท.ถ้าไม่มีรปห.19 กันยา ชินคอร์ปคงสูบเงินแผ่นดินเป็นแสนๆล้าน??

 

 

กรณีหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติการณ์ในลักษณะดังกล่าว  เคยปรากฎเป็นคดีความระหว่าง  นายทักษิณ  กับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และบริษัทนสพ.ไทยโพสต์   โดยเป็นการฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาท ตามสาระใจความที่ปรากฎว่ามีการบรรยายที่หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2547    นายจุรินทร์   วิพากษ์วิจารณ์ว่า 3 ปีของรัฐบาลทักษิณล้มเหลวในการบริหารประเทศ   ประชาชนมีหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น คนจนจนลงแต่ธุรกิจในเครือของนายทักษิณกลับรวยขึ้น   ตรวจสอบแล้วพบว่าอาจมีการเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจของทักษิณและครอบครัวจำนวน 14 เรื่อง
 

 

 

โดย 14  เรื่องที่เป็นประเด็นกล่าวหา  ประกอบด้วย

 

1.สนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่งมีปัญหาทับที่ธรณีสงฆ์

2.สถานีโทรทัศน์ ไอทีวี ซึ่งครอบครัวของนายทักษิณเข้าไปถือหุ้น โดยมีรัฐมนตรีคนหนึ่งชี้ช่องให้ไอทีวีไม่ต้องจ่ายสัมปทานเต็มตามจำนวนที่ทำสัญญาไว้กับรัฐ  

3.ปกป้องบริษัทชินแซทเทลไลท์  

4.ไม่บังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้าของกระทรวงพาณิชย์

5.การออก พ.ร.ก. ภาษีสรรพสามิต เพื่อเอื้อประโยชน์ให้บริษัทมือถือของครอบครัวนาย ทักษิณ  

6.แก้สัญญาบริษัทเอไอเอส ให้เสียค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้องค์กรโทรศัพท์น้อยลง
 

7.การลดภาษีนำเข้ามือถือจาก 10% เหลือ 0%  

8.เอื้อประโยชน์ให้สายการบินแอร์เอเชีย  

9.ตัดถนนเลียบทางด่วน รัชดา- รามอินทรา ผ่านหมู่บ้านบางกอกบลูลาวาร์ด ที่มีคนในครอบครัวนายทักษิณถือหุ้นอยู่  

10.การควบรวมธนาคารบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับธนาคารไทยทนุ และธนาคารทหารไทย ที่มีลูกชายนายทักษิณถือหุ้นใหญ่อยู่

11.การประมูลเช่าคอมพิวเตอร์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 3,192 ล้านบาทที่เอื้อให้บริษัท เอมลิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทของน้องสาวนายทักษิณ

12.จ้างบริษัทของประเทศจีนต่อเรือชายฝั่งของกองทัพไทย 2 ลำ เพื่อแลกกับการเลื่อนองศาดาวเทียมของประเทศจีนคือเอเชียแซท เพื่อไม่ให้มาทับคลื่นความถี่ของไอพีสตาร์ ของครอบครัวนายทักษิณ ทำให้ประโยชน์ที่บริษัทชินแซท จะได้ประโยชน์ถึง 33,000 ล้านบาท ตลอด 12 ปี

13.กรณีที่ขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมูลค่า 2 พันล้านบาท แต่ขายให้ภริยานายทักษิณเพียง 772 ล้านบาท

14.การเปิดข้อมูลเอนทรานซ์เอื้อประโยชน์ให้ลูกคนมีอำนาจที่กำลังสอบ แม้ประเมินค่าเป็นเงินไม่ได้ แต่เป็นการทุจริตทางจริยธรรม

 

 

ต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นได้พิพากษาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 เห็นว่าจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาท พิพากษาให้ยกฟ้อง และยกคำขอในส่วนแพ่ง  จากนั้นศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเช่นเดียวกันว่า...

 

"การกล่าวของนายจุรินทร์ทั้ง 14 เรื่องอยู่บนพื้นฐานข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดข้อเท็จจริง บุคคล และเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ ภายหลังจากที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลก่อนหน้านั้นไม่นาน เพื่อติชมและตรวจสอบการบริหารงานของ นายทักษิณ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ทั้งขณะ นายทักษิณ   ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังคงมีภริยา บุตร และญาติ ถือหุ้น หรือเป็นเจ้าของบริษัท

 

ที่เดิมนายทักษิณ เป็นเจ้าของ เมื่อมีข้อเท็จจริงหรือข้อหาเคลือบแคลงข้อสงสัยว่าจะมีการเอื้อประโยชน์ ให้แก่บุคคลดังกล่าว ย่อมอยู่ในวิสัยที่นายจุรินทร์ซึ่งเป็นประชาชนคนหนึ่งจะเปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม ตลอดจนติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใด อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมทำได้ หาได้เป็นการสร้างเรื่องขึ้นมาใส่ร้ายนายทักษิณ ในเรื่องส่วนตัวเพื่อหวังผลทางการเมืองแต่อย่างใดไม่ นายจุรินทร์จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง

 

แน่นอนคำวิพากษ์วิจารณ์พฤติการณ์นายทักษิณ  นอกจากจะเป็นการสะท้อนแง่มุมความเห็นให้สาธารณชนเห็นภาพผลกระทบจากการบริหาราชการแผ่นดินแล้ว  อีกแง่มุมหนึ่งก็ทำให้สังคมไทยตื่นรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพิษภัยของระบอบทักษิณ  

 

และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีคำร้องยึดทรัพย์นายทักษิณ ชินวัตร จำนวน 76,621,603,061.05 บาท (จากเดิมมีทรัพย์สินที่แจ้งต่อปปช.มูลค่ารวมเพียง 15,124 ล้านบาท)

 

 

 

โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้เงิน  ที่นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกกล่าวหา และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร  ผู้คัดค้านที่ 1  คู่สมรสได้จากการขายหุ้น บริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  และเงินปันผลของหุ้นบริษัทดังกล่าวบางส่วนเป็นเงินจำนวน  46,373,680,754.74  บาท  (โดยยกเว้นทรัพย์สินจากการประเมินตัวเลขการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในปี  2544   ซึ่งทั้งนายทักษิณและคุณหญิงพจมาน เป็นเจ้าของหุ้น 1,419 ล้านหุ้นคิดเป็นเงิน 30,247 กว่าล้านบาท เนื่องจากถือเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองมีอยู่แต่เดิมก่อนจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี)  พร้อมดอกเบี้ยผลเฉพาะดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝากนับตั้งแต่วันฝากเงินจนถึงวันที่ธนาคารส่งเงินจำนวนดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน

 

 

รับรองเลยคนไทยไม่ลืมแน่!!ย้อนคำ“นช.ทักษิณ”หวัง11ปีไม่ลืมเลือน ลองนึกอีกทีโชคดีปท.ถ้าไม่มีรปห.19 กันยา ชินคอร์ปคงสูบเงินแผ่นดินเป็นแสนๆล้าน??

 

โดยคำวินิจฉัยบางส่วนระบุว่า  ประเด็นข้อเท็จจริงคือ

 

1.นายทักษิณ ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 วาระ แต่ก็ยังถือหุ้นไว้  รวมถึงมีอำนาจดำเนินนโยบายและแต่งตั้งกรรมการในบริษัทชินคอร์ป  และควบคุมนโยบายของผู้ถูกกล่าวหาผ่านทางคณะกรรมการบริษัทชินคอร์ป

 

2.การแปลงสัญญาสัมปทานฯ เอื้อประโยชน์ชินคอร์ป      
 วินิจฉัยว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ชินคอร์ป และเป็นเหตุให้ชาติเสียหาย เพราะภาษีสรรพสามิตหายไป 6 หมื่นล้านเศษ มีมติด้วยเสียงข้างมาก ผู้ถูกกล่าวหา ใช้ตำแหน่งหน้าที่ ตราพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับ ทำให้ชาติเสียหาย

 

3.กรณีแก้ไขสัญญาโทรศัพท์มือถือ กรณีบัตรเติมเงิน และ โรมมิ่ง  ด้วยการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงิน (PREPAID CARD) ส่งผลให้เอไอเอส จ่ายส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ให้แก่ บริษัท ทศท ในอัตรา 20 เปอร์เซ็นต์ คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 จากเดิมที่ต้องจ่ายตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นแบบก้าวหน้าในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543-30 กันยายน 2548 และในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548-30 กันยายน 2548 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

 

รวมถึงการแก้ไขสัญญาโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่ออนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (ROAMING) และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ และกรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ ชินคอร์ปฯ และเอไอเอส  ด้วยเหตุมีผลให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น โดยนายทักษิณ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  และถือหุ้นใหญ่ชินคอร์ปได้ประโยชน์เมื่อมีการขายหุ้นให้เทมาเส็ก

 

4. กรณีแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมโดยมิชอบ  โดยกรณีการละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี ได้แก่ การอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพี สตาร์, การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทาน ครั้งที่ 5 วันที่ 27 ตุลาคม 2547 รวมถึงการลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ในบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ ที่เป็นผู้ขออนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม และการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเช่าช่อสัญญาณต่างประเทศ ล้วนเป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ชินคอร์ปฯ และชินแซท


 

5.กรณีอนุมัติเงินกู้เอ็กซิมแบงค์ให้พม่า  เห็นว่าธนาคารเอ็กซิมแบงค์ ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.เอ็กซิมแบงค์ ปี2536 และอยู่ในการกำกับของรมว.คลัง จัดเป็นหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในการอนุมัติวงเงินให้รัฐบาลพม่าในครั้งนี้ ก็ได้ความจากพยานซึ่งเป็นอดีตกก.เอ็กซิมแบงค์ ว่าเป็นการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และโดยการให้สินเชื่อดังกล่าวได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ จึงต้องขอให้กระทรวงการคลังจัดสรรเงินของคลังมาชดเชย  กรณีนี้จึงส่งผลเสียต่องบประมาณของประเทศโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะเอ็กซิมแบงก์ก็ไม่ได้รับการชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการนี้อีกด้วย และ ด้วยบ.ชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของไทยคม จึงได้ประโยชน์จากการถือหุ้น ย่อมเป็นการไม่สมควรที่จะอนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับพม่า จึงเห็นว่าการดำเนินการกรณีนี้เอื้อประโยชน์ให้แก่ไทยคมและชินคอร์ป!!!