ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

              วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ วันคล้ายวันประสูติของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน  เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา ๑๐๐ ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

              สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตของพระชนกน้อย คชวัตร และพระชนนีกิมน้อย คชวัตร พระองค์มีน้องชาย ๒ คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดูและนางกิมเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า "เจริญ"

              พระชนกน้อย คชวัตร เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของเล็ก กับแดงอิ่ม คชวัตร เป็นหลานปู่-หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี ผู้เคยเป็นข้าราชการชาวกรุงเก่า กับนางจีนผู้ภริยาหลวงพิพิธภักดีเป็นหลานยายของท้าวเทพกระษัตรี ส่วนพระชนนีกิมน้อย หรือน้อย ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นแดงแก้วนั้น มีบิดาเป็นคนเชื้อสายจีนคือนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น กับมารดาเชื้อสายญวนชื่อนางทองคำ ครั้นนายเฮงเล็กถึงแก่กรรม นางทองคำจึงสมรสใหม่กับนายสุข รุ่งสว่าง มีบุตรด้วยกัน ๔ คน

 

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

              เมื่อพระชันษาได้ ๘ ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม ๕ (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ในขณะที่มีพระชันษา ๑๒ ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

              เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม ๕ แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ขณะมีพระชันษาได้ ๑๔ ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

 

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

              ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. ๒๔๗๗) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

 

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

              พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร  พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม ๓ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓

               พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม ๔ ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม ๔ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕

               หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา ๑ พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม ๙ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

              ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น

 

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

             เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ (ในพระนามใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)

 

น้อมรำลึก!! ๓ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหาเถระผู้ทรงคุณธรรม !!

            สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต  มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๑๕ นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา ๑๗.๐๐ น. ทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพแทนพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน

           การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศทองน้อยทรงพระศพและให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง ๕ ชั้นกางกั้นพระโกศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน

            สำหรับพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกประดิษฐาน ณ พระตำหนักเดิม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บพระอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกรูป ส่วนที่สองประดิษฐานที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงผนวชและส่วนที่สามประดิษฐานที่วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์สร้างขึ้น ส่วนพระสรีรางคารประดิษฐานที่พระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระญาณสังวร_สมเด็จพระสังฆราช_(เจริญ_สุวฑฺฒโน)