จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชาชน คนไทยถึ

ด้วยพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่กว้างไกลและลึกซึ้ง ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและทุกข์ยากของราษฎร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ พระองค์ทอดพระเนตรความทุกข์ยากลำบากของราษฎร และปัญหาการปลูกฝิ่น อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา

จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น และการทำไร่เลื่อนลอย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ หลากหลายชนิดทดแทน แต่เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการส่งเสริม อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองและแหล่งรับซื้อ จึงเกิดปัญหาการถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ประกอบกับในบางช่วงฤดูจะมีผลผลิตที่ล้นตลาด หรือบางครั้งอาจไม่ได้ขนาดที่เหมาะสมสำหรับการจำหน่ายผลสด
ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง ”สหกรณ์ชาวเขา” และ “โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป” แห่งแรกขึ้น เพื่อช่วยเหลือด้านการรับซื้อผลผลิตจากพืชที่ส่งเสริมในราคาเป็นธรรม โดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในเครื่องหมายการค้า “ดอยคำ” เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการจัดหาช่องทางกระจายสินค้าสู่ตลาด รวมถึงจัดให้มีการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารตามแนวพระราชดำริ “อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการพัฒนาชนบท” ในเวลาต่อมา โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ถือกำเนิดขึ้นอีก ๓ แห่ง ด้วยวัตถุประสงค์ที่ใกล้เคียงกัน
โรงงานหลวงฯ เพื่ออุตสาหกรรมการเกษตรของบริษัทฯ ในแต่ละแห่ง ได้ถูกออกแบบตามภูมิสังคม เพื่อให้กลมกลืน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตในแต่ละพื้นที่ และดำเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์กรในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมด้านเกษตรกรรม  รวมทั้งยังพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดี กินดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน  ดังคำขวัญที่ว่า “โรงงานหลวงฯ เพื่อปวงชน”

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา
ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชกระแสให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รับช่วงดำเนินกิจการโรงงานหลวงฯ ต่อจากมูลนิธิโครงการหลวง โดยจัดตั้งเป็นนิติบุคคลภายใต้ชื่อ “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” เพื่อดำเนินกิจการในรูปแบบ ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) บริษัทฯ จึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างสุขให้สังคมด้วยการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา

 

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ดอยคำ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จากกลุ่มผู้รักและใส่ใจสุขภาพ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ กระแสการดูแลตัวเอง และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัย ทำให้ฐานผู้บริโภคจากเดิมเน้นกลุ่มครอบครัว ขยายสู่กลุ่มคนรุ่นใหม่และวัยทำงาน ที่มีเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนชัดเจน เป็นผู้รักสุขภาพ และสรรหาสิ่งดีๆ ให้กับตัวเองเสมอ

 

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา รูปวงกลมสีเหลืองทอง
หมายถึง ดวงอาทิตย์ สัญลักษณ์ผู้ให้กำเนิด ให้ความอบอุ่น และสร้างสรรพสิ่งบนโลกเปรียบเสมือนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นผู้ให้ชีวิต กับพสกนิกรชาวไทย

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา

รูปจั่วสีเขียวเข้ม
หมายถึง ภูเขาสีเขียวแห่งความอุดมสมบูรณ์ ที่แปรเปลี่ยนมาจากความแห้งแล้งอันเนื่องมาจากการทำการเกษตร โดยไม่คำนึงถึง สภาพแวดล้อม

รูปจั่วสีเขียวอ่อน
หมายถึง ลักษณะหน้าจั่วของบ้านไทยในภาคเหนือ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดโครงการและเปรียบได้ดั่งราษฎรในผืนแผ่นดินไทย

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา ลายเส้นเลข ๙ มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ
หมายถึง น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่หยดลงบนภูเขา และทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์

จากพระราชวิสัยทัศน์ ของ ในหลวง ร.๙ เปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่น เป็น พื้นที่ปลูกผัก ผลไม้ สู่ผลิตภัณฑ์คุณภาพ  ดอยคำ เพราะพระองค์ท่านคิดถึงแต่ประชา ภาพอุดมคติแห่งความสมบูรณ์ของชีวิต หัวใจของความเป็นผลิตผลแบบดอยคำ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ดอยคำ