ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

สถานการณ์โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน หรือโรคไฟทอปธอร่า เริ่มแพร่ระบาดหนัก ขยายวงกว้างมากขึ้น หลังจากสวนนายสมนึก บุญธรรม ผู้ใหญ่บ้าน ม.5ต.นนทรีย์ อ.บ่อไร่ ยืนต้นตายจากโรคไฟทอปธอร่าจนหมดสวนไปแล้ว( 80 ต้น) วันนี้ นายพิเชษฐ์ มูลชอบ อดีตนายก อบต.วังตะเคียน เจ้าของสวนทุเรียนพื้นที่ 50 ไร่เศษ เปิดเผยว่า สวนทุเรียนพันธุ์หมอนทองจำนวน 700 ต้น อายุ 5-10 ปี ที่ปลูกไว้ ได้ทยอยยืนต้นตายไปแล้วประมาณ 300 ต้นเศษ และมีทุเรียนที่เริ่มเป็นโรค อาการใบเหลือง มีแผลตามลำต้นและกิ่งทุเรียนจนครบทุกต้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรักษา แต่คาดว่าคงไม่สามารถรักษาได้ เพราะแม้จะพยายามใช้ยาและสารเคมีต่างๆ มาทำการรักษาก็ไม่ทำให้ทุเรียนดีขึ้น มีแต่จะค่อยๆทยอยตายมากเพิ่มขึ้นทุกวัน

นายพิเชษฐ์ บอกว่า สวนทุเรียนของตนเองเริ่มมีอาการใบเหลือง ต้นและกิ่งก้านมีแผลคล้ายราสีชมพู และไฟทอปธอร่าผสมกัน ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งตนได้พยายามใช้สารเคมีและยามาทำการรักษา ตามที่เคยใช้ได้ผล ทั้งตัดกิ่งที่เป็นเผาไฟทิ้ง การใช้ยาทาแผลและใช้สารเคมีฉีดพ่น แต่อาการทุเรียนกลับไม่ดีขึ้น กลับทำให้โรคแพร่ระบาดรวดเร็วขึ้น นายพิเชษฐ์บอกว่า โรคดังกล่าวรุนแรงมาก หลังต้นทุเรียนเริ่มมีอาการระยะเวลาแค่ ไม่ถึง 20 วัน ทุเรียนก็ยืนต้นตายในที่สุด ทำให้คิดได้ว่า การตัดกิ่งทิ้งยิ่งทำให้เชื้อราเข้าสู่ลำต้นได้รวดเร็วขึ้น จึงปล่อยทิ้งไว้ แค่ใช้สารเคมีฉีดพ่นและทำความสะอาดโคนต้นทุเรียน นำใบทุเรียนและเศษกิ่งทุเรียน ตลอดจนต้นทุเรียนที่ตายแล้วไปเผาทำลาย ส่วนต้นที่ยังไม่ตายก็ปล่อยทิ้งไว้ ขณะเดียวกันต้นที่เริ่มเป็นใหม่ๆ ก็พยายามใช้ยารักษาแม้จะคิดว่าไม่ได้ผลก็ยังดีกว่าอยู่เฉยๆ นายพิเชษฐ์บอกว่าขณะนี้ใช้เงินในการรักษาต้นทุเรียนจากโรคดังกล่าวไป 3 แสนบาทแล้ว แต่ไม่ได้ผล จึงต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

สุดช้ำใจ !! ทุเรียนในสวนอดีตนายกอบต. ยืนต้นตายกว่า 300 ต้น หลังสถานการณ์โรคไฟทอปธอร่า ระบาดหนัก (ดูคลิป)

สุดช้ำใจ !! ทุเรียนในสวนอดีตนายกอบต. ยืนต้นตายกว่า 300 ต้น หลังสถานการณ์โรคไฟทอปธอร่า ระบาดหนัก (ดูคลิป)

นายพิเชษฐ์ บอกว่าโรคทุเรียนในขณะนี้ คิดว่าน่าจะเป็นโรคทุเรียนสายพันธุ์ใหม่ เพราะไม่มียาหรือสารเคมีใดๆสามารถรักษาโรคนี้ได้ซึ่งเป็นโรคที่มีลักษณะคล้ายกับโรคราสีชมพู ที่เป็นแผลตามลำต้นและกิ่งทุเรียน เมื่อใช้ยารักษา โรคราที่มีลักษณะเป็นจุดขาวๆตามกิ่งและลำต้น ก็จะย้ายที่ระบาดไปที่อื่นจนทั่วต้น ส่วนที่ลำต้นมีลักษณะคล้ายโรคไฟทอปธอร่า แม้จะใช้ยาและสารเคมีที่เคยใช้ได้ผลมาใช้รักษาก็ไม่ได้ผล กลับระบาดไปทั่วลำต้น จนทุเรียนยืนต้นตายในที่สุด นายพิเชษฐ์บอกว่า สาเหตุน่าจะมาจากภาวะฝนตกชุกจนทำให้พื้นดินชุ่มน้ำมากเกินไปและติดต่อกันนาน เพราะฝนเริ่มตกมากตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม มาจนขณะนี้ ตอนนี้หมดปัญญาที่จะรักษา จึงคิดว่า เมื่อฝนหยุดตก หรือฝนทิ้งช่วง ทุเรียนได้รับแสงแดด และพื้นที่แห้ง อาจจะช่วยให้ทุเรียนหายจากโรคดังกล่าว แต่ความหวังขณะนี้แทบไม่มี เนื่องจากทุเรียนของตนเองทั้ง 700 ต้น ตายไปแล้วประมาณ 300 ต้น และเริ่มเป็นโรคอีก 400 ต้น คงจะรักษาไม่หายและตายจนหมดสวน รายได้จากการขายผลผลิตทุเรียนปีละหลายล้านบาท ในปีนี้ไม่มีแล้ว มีแต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าแรงงานเท่านั้น อยากให้ทางราชการเข้ามาช่วยตรวจ วิเคราะห์ให้ด้วย ว่า โรคทุเรียนที่เป็นอยู่เป็นโรคอะไร และจะใช้วิธีรักษาแบบใด เพื่อป้องกันทุเรียนสวนใกล้เคียงได้รับเชื้อแพร่ระบาดตามไปด้วย

สุดช้ำใจ !! ทุเรียนในสวนอดีตนายกอบต. ยืนต้นตายกว่า 300 ต้น หลังสถานการณ์โรคไฟทอปธอร่า ระบาดหนัก (ดูคลิป)

สุดช้ำใจ !! ทุเรียนในสวนอดีตนายกอบต. ยืนต้นตายกว่า 300 ต้น หลังสถานการณ์โรคไฟทอปธอร่า ระบาดหนัก (ดูคลิป)

สุดช้ำใจ !! ทุเรียนในสวนอดีตนายกอบต. ยืนต้นตายกว่า 300 ต้น หลังสถานการณ์โรคไฟทอปธอร่า ระบาดหนัก (ดูคลิป)

สุดช้ำใจ !! ทุเรียนในสวนอดีตนายกอบต. ยืนต้นตายกว่า 300 ต้น หลังสถานการณ์โรคไฟทอปธอร่า ระบาดหนัก (ดูคลิป)

พูลศักดิ์ บุญลอย  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค  สำนักข่าวทีนิวส์  จังหวัดตราด