เปรียบเทียบชัดๆ!! คลายข้อสงสัย!!น้ำท่วมกทม.หนังคนละม้วนน้ำท่วมใหญ่ปี54!!??


ในช่วงวันเสาร์ที่ผ่านมา เหตุการณ์น้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ หลังจากฝนตกหนักถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑล เมื่อกลางดึกของวันที่14 ตุลาคม นานกว่า 5 ชั่วโมง ส่งผลให้ปริมาณน้ำสูงสุด 214 มม. ในเขตพระนคร หนักสุดในรอบหลายปี ส่ถนนสายหลักและตามตรอกซอกซอยท่วมขัง การจราจรเป็นอัมพาต ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าจากนั้นก็ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆตาม ในหลากหลายมิติ

เมื่อ14 ต.ค.60ปริมาณฝนรวมวัดได้สูงสุดอยู่ที่จุดวัดสำนักงานเขตพระนคร 214.5 มม. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับวิกฤต ตามมาด้วยสถานีสูบน้ำภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ อยู่ที่ 214 มิลลิเมตร สถานีสูบน้ำคลองมอญ เขตบางกอกน้อย 208 มม. สำนักงานเขตยานนาวา 195 มม. คลองสนามชัย เขตจอมทอง 178 มิลลิเมตร และบึงมักกะสัน เขตราชเทวี 177.5 มม. ตามลำดับ

น้ำท่วมครั้งนี้ในกทม. เป็นจังหวะพอดีกับการที่รัฐบาลออกมายืนยันว่าจะไม่มีปัญหาน้ำท่วมใหญ่เช่นเดียวกับในปี 2554 ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่ม นำเรื่องไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อใน2554โจมตีรัฐบาล ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว เหตุการณ์น้ำท่วมทั้ง 2เหตุการณ์ แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงไม่สามารถทำมาเปรียบเทีบได้

ประการแรกสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ด้านพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากเกิดฝนตกหนักมากปกคลุมทั่วกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ช่วงเวลาประมาณ 23.00 น. ของวันที่ 13 ตุลาคม ต่อเนื่องจนถึงเวลา 06.00 น. ของเช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2560 โดยมีปริมาณฝนสุด ซึ่ง กทม. ได้เร่งระบายน้ำอย่างเต็มที่ต่อเนื่องตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ตาม ด้วยปริมาณน้ำฝนที่มากถึง 214.5 มม. ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับวิกฤต จึงมีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ โดยศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครรายงานน้ำท่วมขังทั้งหมด 55 จุด และเจ้าหน้าที่ กทม. ได้ระดมกำลังเข้าแก้ไขสถานการณ์ ทำให้ขณะนี้น้ำแห้งเกือบทุกจุดแล้ว

 

 

เปรียบเทียบชัดๆ!! คลายข้อสงสัย!!น้ำท่วมกทม.หนังคนละม้วนน้ำท่วมใหญ่ปี54!!??

เหตุการณ์น้ำท่วม 2560

ฉะนั้น การเกิดน้ำท่วมในครั้งนี้เท่ากับว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉียบพลัน เกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมดูแลของมนุษย์ที่จะทำได้  แต่ก็ใช่ว่า กทม. หรือรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะไม่มีคามผิดแต่ประการใด เพราะไม่ได้ประกาศแจ้งเตือนบอก ให้พี่น้องประชาชนระมัดระวัง เตรียมอพยพ ขนของขึ้นที่สูง จึงทำให้เกิดความเสียหาย ตามภาพที่ปรากฏ

ขณะที่ น้ำท่วมใหญ่ปี 54 มีสาเหตุมาจาก 1.ฝนที่มาเร็วกว่าปกติและปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2554 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 35%  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายนมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 277 %

2.น้ำทะเลหนุนบริเวณอ่าวไทย ช่วงปลายเดือนตุลาคม กลางเดือนพฤศจิกายน และปลายเดือนพฤศจิกายน ทำให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างล่าช้า 

3.ปัจจัยทางด้านการบริหารจัดการน้ำ ตรงนี้เองเป็นประเด็นสำคัญ ที่อยู่ในอำนาจการควบคุมดูแลของมนุษย์
-พื้นที่หน่วงน้ำในภาคเหนือตอนล่างขาดการดูแลและถูกรุกล้ำ ทำให้ความจุหน่วงน้ำลดลง เช่น บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ 
- การผันน้ำออกทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นไปอย่างไม่เต็มศักยภาพสูงสุด
-ปริมาณน้ำระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ไหลมายังเขื่อนพระรามหก ไม่ได้ผันเข้าสู่คลองระพีพัฒน์แยกใต้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้น้ำส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา 
-คลองระพีพัฒน์ไม่สามารถผันน้ำเข้าทุ่งตะวันออกได้ และในทางกลับกัน เรือกสวนไร่นาในทุ่งตะวันออกกลับสูบน้ำเข้าสู่คลองระพีพัฒน์ 
- ปัญหาการบริหารการระบายผ่านแนวรอยต่อที่มีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ 
- ประชาชนและองค์กรส่วนย่อย สร้างพนังและคันของตัวเอง ทำให้การระบายในภาพรวมไม่สามารถดำเนินการได้ 

นอกจากนี้ ที่สำคัญได้เกิดข้อสงสัยจากพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนมาว่าในช่วงเดือน ก.ค. 54 ที่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเยอะมาก จนไปถึงเดือนตุลาคม รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ และ นาย ธีระ วงสมุทร รมว. เกษตรและสหกรณ์  ต้องตอบคำถามว่า เมื่อน้ำมาเยอะมากตั้งแต่ช่วง  ก.ค. ไปแล้ว ทำไมต้องเก็บกักน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบเต็มความจุของเขื่อน แล้วพอเต็มความจุก็ปล่อยน้ำเปรี้ยงออกมาทีเดียว ตอนเดือนตุลาคม แทนที่รู้ว่น้ำฝนมาก จะปล่อยระบายน้ำออกมา ในปริมาณเฉลี่ย ซึ่งจะทำให้ น้ำไม่ไหลบ่าแรงและเข้าท่วมหนักขนาดนี้ สิ่งนี้คือสิ่งที่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ รมต.เกษตร และ กรมชลประทาน และ นายปลอดประสพ จะต้องตอบคำถามให้ได้ เพราะมีข่าวออกมาหนาหูเหลือเกินว่า
1. มี รัฐมนตรีบางคน ไปกดดัน บังคับ ผอ. เขื่อนต่างๆ ให้กักเก็บน้ำเอาไว้ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ ชาวนามีข้าว ไปสนองนโยบายจำนำ

2. มี นักการเมืองบางคน ไปกดดัน ให้กักน้ำไว้ไม่ปล่อยน้ำ เข้าบางจังหวัด เพื่อให้จังหวัดตัวเอง ทำนาได้ น้ำไม่ท่วม จนพวกเดียวกันเองยังออกมาโวย

3. รัฐมนตรีบางคน ออกมายอมรับว่า ประเมินสถานการณ์น้ำผิด นั่นหมายถึงเรื่องกักเก็บน้ำที่เขื่อนหรือไม่
 

เปรียบเทียบชัดๆ!! คลายข้อสงสัย!!น้ำท่วมกทม.หนังคนละม้วนน้ำท่วมใหญ่ปี54!!??

เหตุการณ์น้ำท่วม 2554

ซึ่งเหตุการณ์ น้ำท่วมใหญ่ ปี 54 ได้เริ่มเข้าท่วมในเขตพื้นที่กทม. และปริมณฑล เมื่อ 22ต.ค.54น้ำได้เอ่อท่วมที่ตลาดรังสิต และบริเวณถนนพหลโยธิน ซอยพหลโยธิน 87 ซอยพหลโยธิน 85 ต่อมา 24ต.ค.ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น ได้แถลงเตือนประชาชนใน 6 เขต ได้แก่ ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน จตุจักร บางซื่อ และสายไหม ย้ายของและรถขึ้นที่สูง และย้ายไปพักพิง เนื่องจากใกล้เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว จากนั้นไม่นานกทม.ได้ก้าวเข้าสู่วิกฤต น้ำท่วมอย่างเต็มตัว จนกระทั่ง เมื่อ24พ.ย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  แถลงสถานการณ์น้ำใน กทม.คลี่คลายดีขึ้นตามลำดับ รื้อบิ๊กแบ็ค ไม่มีผลกระทบ ส่วนการเปิดประตูระบายน้ำคลองขุนศรีบุรีรักษ์ คลองควายและคลองซอย ส่งผลน้ำในพื้นที่ทวีวัฒนาเพิ่ม 2 ซม.พร้อมจับตาใกล้ชิด 48 ชม. น้ำท่วมในครั้งนั้น กินเวลายาวนานถึง 1เดือนกับ2วัน   ซึ่งแตกต่างจากวันท่วมในวันเสาร์ที่ผ่าน ยังไม่ทันข้ามวัน ทางกทม.ก็สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้ และสามารถเปิดใช้เส้นทางการจราจรได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตามสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมทั้งสองเหตุการณ์ นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ เพราะต่างกรรมต่างวาระกัน อีกทั้งรัฐบาลก็ได้ให้คำมั่นกับพี่น้องประชาชนแล้วด้วยว่า จะไม่มีทางเกิด น้ำท่วมใหญ่อย่างปี 54แน่นอน!!!
 

เปรียบเทียบชัดๆ!! คลายข้อสงสัย!!น้ำท่วมกทม.หนังคนละม้วนน้ำท่วมใหญ่ปี54!!??

เหตุการณ์น้ำท่วม 2554