ด่วน!! ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก ‘เบญจา หลุยเจริญ’ ช่วยโอ๊ค-เอมเลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ (รายละเอียด)

ด่วน!! ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก ‘เบญจา หลุยเจริญ’ ช่วยโอ๊ค-เอมเลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ (รายละเอียด)

ล่าสุดในวันนี้(19/10/2560)  ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบ ถ.สีคาม ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีหมายเลขดำ อท.43/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางเบญจา หลุยเจริญ อดีต รมช.คลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร , น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย , น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย , นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผอ.สำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดของเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คดีนี้ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องแผนกคดีทุจริตฯ ในศาลอาญา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม58 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควร โดยชอบด้วยกฎหมาย จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท ซึ่งการกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย

สำหรับคดีนี้ ป.ป.ช.ยื่นฟ้องแผนกคดีทุจริตฯ ในศาลอาญา เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 58 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควร โดยชอบด้วยกฎหมาย จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท ซึ่งการกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธต่อสู้คดี
       
ศาลพิเคราะห์แล้ว คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1-4 ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ โดยมีจำเลยที่ 5 เป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือไม่ เห็นว่า คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร เคยมีความเห็นเกี่ยวกับรายได้และส่วนต่างการโอนขายหุ้นให้กับบุคคลธรรมดา เข้าลักษณะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ซึ่งต้องนำเงินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ซึ่งกรณีของนายพานทองแท้และน.ส.พิณทองทา ได้ประโยชน์จากส่วนต่างของการขายหุ้นละ 1 บาท จึงต้องเป็นรายได้ที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยผลจากการกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในการตอบข้อหารือที่ขัดไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมสรรพากร ซึ่งความผิดสำเร็จตั้งแต่การตอบข้อหารือ โดยจำเลยที่ 5 ซึ่งหารือมายังสำนักกฎหมาย แล้วนำคำหารือไปใช้ประโยชน์ จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย จึงพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี
       
ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 จึงให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมดจึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ

สำหรับเส้นทาง เส้นทางชีวิตข้าราชการของนางเบญจา   เริ่มต้นเข้ารับราชการในกระทรวงการคลัง และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร  ก่อนในปี พ.ศ. 2546 จะถูกโยกย้ายไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และ ในปี พ.ศ. 2548 เป็นรองปลัดกระทรวงการคลัง  ในปี พ.ศ. 2551 ก่อนจะกลับมาเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2554 หรือช่วงยุครัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์   และตำแหน่งสุดท้ายคือ อธิบดีกรมศุลกากร  ก่อนจะลาออกจากราชการเพื่อมารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556