น้อยคนนักที่จะรู้…..ในหลวงรัชกาลที่ ๙เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติ

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ทรงพระผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชิรญาณวงศ์  ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯ มาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชณาย์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จึงทรงลาผนวชอยู่ ๑๕ วัน          
            สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระที่เลี้ยง ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้มอบหมายให้สนองพระเดชพระคุณ จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ได้มีความรู้สึกว่าพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ แต่ทรงผนวชด้วยพระราชศัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงมิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า “หัวใหม่” ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญแต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา

น้อยคนนักที่จะรู้…..ในหลวงรัชกาลที่  ๙เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติ

ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคลคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า “บวชด้วยศรัทธา” เพราะทรงพระผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด”
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณกาล พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ตามประเพณีนิยมของชาวไทย เมื่อชายไทยอายุครบกำหนดบวช ก็มักจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และอบรมบ่มนิสัยให้เป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรมอันดี ตลอดจนได้รับการถ่ายทอดการฝึกกิริยามารยาทและระเบียบพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งยังถือว่าเป็นการสนองพระคุณบุรพการี มีบิดามารดาเป็นต้น ดังนั้นจึงปรากฏหลักฐานว่า พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ก่อนครองราชย์สมบัติ ทรงพระผนวชตั้งแต่พระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา แต่ที่ทรงพระผนวชเมื่อทรงดำรงสิริราชสมบัติแล้วมีเพียง ๔ พระองค์ คือ พญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่ง กรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงพระผนวชเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๙ จึงเป็นที่ปลื้มปิติยินดีแก่บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง

น้อยคนนักที่จะรู้…..ในหลวงรัชกาลที่  ๙เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติ
วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นวันพระราชพิธีทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังฯ มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระวนรัตน์ (ปลด กิตฺติโสภโณ) วัดเบญจมบพิตร เป็นพระอนุศาสนาจารย์ และพระศาสนโสภณ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาส รวม ๓๐ รูป ทรงได้รับพระสมณฉายาว่า “ภูมิพโล”
ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงดำรงสมณเพศ ได้ทรงเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเช่นเดียวกับพระภิกษุทั่วไป โดยเวลา ๐๘.๐๐ น. เสด็จพระราชดำเนินลงพระอุโบสถและเสด็จลงทำวัตรเย็นอีกครั้งหนึ่ง ทรงสดับพระวินัย และพระธรรมที่พระเถระในวัดได้ผลัดเปลี่ยนกันแสดง นอกจากนั้น ยังได้ทรงร่วมกฐินกรรมในพระราชพิธีพระกฐินหลวง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสด็จพระราชดำเนิน และทรงชักผ้าป่าที่ไวยาวัจกรจัดถวาย

น้อยคนนักที่จะรู้…..ในหลวงรัชกาลที่  ๙เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติ
กิจสำคัญของพระภิกษุประการหนึ่งคือการออกรับบิณฑบาตจากประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นการโปรดสัตว์ เพื่อให้โอกาสแก่ประชาชนได้บำเพ็ญบุญในการทรงพระผนวชนี้ จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อทรงรับบิณฑบาตโปรดพระบรมวงศานุวงศ์ และเสด็จพระราชดำเนินไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อโปรดคณะรัฐมนตรี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เช้าวันที่ ๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นวันที่ ๑๔ แห่งการทรงพระผนวช

ได้เสด็จพระราชดำเนินออกบิณฑบาตโดยไม่มีหมายกำหนดการ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปตามถนนสายบางลำพู แล้วเสด็จพระราชดำเนินประทับรถวิทยุ อ.ส. (ก.ท. ส่วนพระองค์) ที่ภายในบริเวณโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ออกไปทางสะพานเฉลิมวันชาติ ผ่านหน้าวังสวนกุหลาบ ถนนราชวิถี ถนนพระรามที่ ๖ อ้อมไปทางสะพานควาย กลับมาทางถนนพหลโยธินและถนนพญาไท ทรงแวะรับบิณฑบาตที่บริเวณใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและสี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ผู้ที่ออกมาตักบาตรเป็นปกติ ทั้งคนไทยและคนจีนที่ได้มีโอกาสถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงรู้สึกตื่นเต้นที่มีบุญอย่างยิ่งโดยมิได้คาดฝัน และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงวัดบวรนิเวศวิหาร มีคนมาถวายอาหารหน้าวัดอีก ๕-๗ ราย ซึ่งจะต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ต่อไปว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระผนวชได้เสด็จพระราชดำเนินออกทรงรับบิณฑบาตจากประชาชน

น้อยคนนักที่จะรู้…..ในหลวงรัชกาลที่  ๙เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติ
“เมื่อเสด็จฯ ไปทั้งในและนอกวัด
ในสมัยทรงพระผนวช
ในหลวงไม่ทรงสวมฉลองพระบาท
และเสด็จฯ ไปด้วยพระบาทเปล่าทุกแห่ง
ทรงปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์และ
ทรงรักษาเวลา  เมื่อตีระฆังลงโบสถ์ในวัน
ปกติทุกเช้าเย็นก็จะเสด็จ ฯ  ลงโบสถ์ทันที
ทำให้พระภิกษุสามเณรทั้งวัด
พากันรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด…”

น้อยคนนักที่จะรู้…..ในหลวงรัชกาลที่  ๙เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงทำพระราชพิธีลาพระผนวช ในวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เวลา ๑๐.๑๕ น. เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ที่ทรงพระผนวชในขณะดำรงสิริราชสมบัติเป็นการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะพุทธศาสนิกชนอย่างสมบูรณ์ เป็นการสนองพระเดชพระคุณพระบรมราชบุรพการี และยังเป็นการสืบทอดราชประเพณีจากสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช และที่สุด เป็นพระราชกรณียกิจที่บรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทยชื่นชมและทวีความจงรักภักดีในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตราบเท่ากาลนาน