ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

                               วันที่ 22 ตุลาคม 2560 นี่เป็นภาพจำนวนประชากรฝูงใหญ่ไม่ต่ำกว่า 30 – 40 ตัว ที่นักศึกษาของคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ร่วมกันบันทึกภาพได้ด้วย AI Drone หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีการสำรวจจากระบบหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศขนาดเล็ก (small Unmanned Aerial System : sUAS) หรือโดรน (Aerial Drone) โดยพัฒนาระบบการตรวจจับภาพพะยูนในสถานการณ์จริงแบบอัตโนมัติ และการพัฒนาระบบบันทึกภาพแบบหลายมุมมอง เพื่อสำรวจพะยูนสำหรับบริเวณพื้นที่กว้าง โดยมีกล้องวีดีโอในช่วงคลื่นตามองเห็นแบบหลายมุมมอง และกล้องถ่ายภาพความร้อน ติดตั้งไปกับหุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก สามารถบันทึกภาพฝูงพะยูนได้ในระยะใกล้ๆและคมชัดมาก

ผลการบิน AI Drone บันทึกภาพ พะยูนเป็นฝูง ไม่ต่ำกว่า 30 – 40 ตัว เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของทะเลตรัง (มีคลิป)

                            ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปี พ.ศ.2560 ระหว่างวันที่ 18 – 20 ตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อบินสำรวจประชากรพะยูนในทะเลตรังบริเวณพื้นที่บริเวณอ่าวทุ่งจีน - ตะลิบง ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งมีแหล่งหญ้าทะเลขึ้นปกคลุมจำนวนมาก และเป็นถิ่นอาศัยสำคัญของพะยูน จนสามารถบันทึกภาพพะยูนได้ฝูงใหญ่ดังกล่าวในระดับน้ำลึกประมาณ 1 เมตร จนเห็นตัวพะยูนฝูงใหม่ และมีคู่ พ่อ-แม่-ลูก คู่แม่ลูก จำนวนหลายคู่ และบางคู่เป็นพะยูนเพศผู้ -เมีย กำลังคลอเคลียเพื่อผสมพันธุ์กัน เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ของพะยูน สามารถยืนยันได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลตรัง ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ของประเทศไทย  ว่าพะยูนในทะเลตรัง

ผลการบิน AI Drone บันทึกภาพ พะยูนเป็นฝูง ไม่ต่ำกว่า 30 – 40 ตัว เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของทะเลตรัง (มีคลิป)

                           อาจารย์กฤษนัยน์ เจริญจิตร อาจารย์ประจำคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ผู้รับผิดชอบโครงการ (สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์) กล่าวว่า การสำรวจพะยูนครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. )และมหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้ AI Drone เป็นครั้งแรกในการนำมาประยุกต์ใช้กับการสำรวจกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก และทรัพยากรชายฝั่งในทะเลตรัง ผลที่ได้จะสามารถจัดทำแผนที่ ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวรายละเอียดสูงพร้อมข้อมูลพิกัด จนสามารถผลิตเป็นข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เพื่อสำรวจติดตามพะยูนในแนวหญ้าทะเล ในเขตจังหวัดตรัง เพื่อการบริหารจัดการอนุรักษ์พะยูนและทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านการสำรวจและเฝ้าระวังพะยูน ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ในอนาคตสามารถนำผลสำรวจดังกล่าวไปสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ กำหนดทิศทาง แก้ไขและป้องกันทรัพยากรชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดตรังและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ผลการบิน AI Drone บันทึกภาพ พะยูนเป็นฝูง ไม่ต่ำกว่า 30 – 40 ตัว เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของทะเลตรัง (มีคลิป)

ผลการบิน AI Drone บันทึกภาพ พะยูนเป็นฝูง ไม่ต่ำกว่า 30 – 40 ตัว เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของทะเลตรัง (มีคลิป)

 

ข่าว สุนิภา หนองตรุด ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง
ขอบคุณภาพจาก นักศึกษาของคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) ร่วมกัน บันทึกภาพได้ด้วย AI Drone หรือ นวัตกรรมเทคโนโลยีการสำรวจจากระบบหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศขนาดเล็ก (small Unmanned Aerial System : sUAS) หรือโดรน (Aerial Drone) โดยพัฒนาระบบการตรวจจับภาพพะยูนในสถานการณ์จริงแบบอัตโนมัติ และการพัฒนาระบบบันทึกภาพแบบหลายมุมมอง งบประมาณสนับสนุนจากโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม ฝ่ายบริหารคลัสเตอร์และโปรแกรมวิจัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปี พ.ศ.2560