ติดตามเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ได้ที่ http://www.tnews.co.th

ประวัติย่อหลวงปู่หลิว ปณฺณโก วัดไร่แตงทอง นครปฐม.

นามเดิม “หลิว” นามสกุล “แซ่ตั้ง” (นามถาวร) บุตร คุณพ่อเต่ง แซ่ตั้ง คุณแม่น้อย แซ่ตั้ง อาชีพ ทำไร่ ทำนา เกิด วันพฤหัสบดีที่ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๘ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือนอ้าย (ปีมะเส็ง) ณ หมู่บ้านหนองอ้อ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น คน ชาย คน หญิง คน สมรส นางหยด มีบุตรชาย คน ชื่อ นายกาย นามถาวร

อุปสมบท อายุ ๒๗ ปี ณ พัทธสีมาพระอุโบสถ วัดโบสถ์ ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (ประมาณเดือน ก่อนเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๔๗๕ ปีวอก) หลวงพ่อโพธาภิรมย์ แห่งวัดบำรุงเมือง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระอาจารย์ห่อ วัดโบสถ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “ปณฺณโก” เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่หลิว ได้มาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ หลังจากนั้นท่านได้ไปเรียนวิชาอาคม จากอาจารย์หม่ง ชาวกระเหรี่ยง, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช, หลวงพ่ออุ้ม จังหวัดนครสวรรค์ และคณาจารย์อีกหลาย ๆ ท่าน ทั้งที่เป็นภิกษุ และฆราวาส

หลวงปู่หลิว ท่านเป็นพระที่ไม่หยุดนิ่ง ท่านได้ไปจำพรรษา และบูรณะปฏิสังขรณ์ ยังวัดต่าง ๆ ดังนี้ คือ

วัด โศก จังหวัดสุพรรณบุรี วัดท่าเสา, วัดสนามแย้, วัดไทรทองพัฒนา จังหวัดกาญจนบุรี, วัดไร่แตงทอง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, วัดหนองอ้อ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี, สำนักสงฆ์ประชาสามัคคี ตำบลบ้านฆ้องน้อย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

หลวงปู่หลิวได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดหนองอ้อ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ จนท่านละสังขารด้วยโรคชรา เมื่อวันจันทร์ที่ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๓ เวลา ๒๐.๓๕ น. รวมอายุ ๙๕ ปี ๗๔ พรรษา

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก นับเป็นผู้ทรงอภิญญา และมีพุทธาคมสูงส่ง ท่านเป็นผู้มีเมตตา พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ท่านพร้อมจะสร้าง พร้อมจะเสียสละ ให้กับบวรพุทธศาสนา ท่านไปอยู่ยังที่แห่งใด ก็เปรียบเหมือนดวงประทีปของที่นั้นจนท่านได้ชื่อว่า “พุทธบุตร” ทุกคนยกย่องในช่วงที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่ท่านมีบูรณะปฏิสังขรณ์สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัด เช่น โบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ โดยมิได้หยุด

หลวงปู่หลิว เคยตั้งปฏิธานด้วยสัจจะ ประการ คือ

๑. เลิกอบายมุข ทุกชนิด

๒. เมื่อมีโอกาสจะสั่งสมบารมี ด้วยการสร้างเสนาสนะภายในวัด เช่น โบสถ์ วิหาร กุฏิ ศาลาการเปรียญ จนกว่าชีวิตจะหาไม่

ความ ปรารถนาอันแรงกล้าของหลวงปู่หลิว ปณฺณโก เป็นผลให้อำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่สถิตทั่วจักรวาล ดลบันดาลให้ท่านมี “วาจาสิทธิ์” กับ “ญาณทิพย์” มาขจัดปัดเป่าความทุกข์โศก ของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ ได้อย่างเหลือเชื่อ ไม่ว่าจะยากดีมีจนท่านก็ช่วยเหลือจนหมดสิ้น

หลวงปู่หลิว ปณฺณโก เป็นพระที่ถือสันโดษ ไม่ลุ่มหลงทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านไม่รับและไม่ยินดียินร้ายต่อสมณศักดิ์ทางสงฆ์ แม้จะมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย อ้อนวอนให้หลวงปู่รับสมณศักดิ์ทางสงฆ์ หลวงปู่หลิวก็หายอมรับไม่ หลวงปู่หลิวขออยู่อย่างพระธรรมดาทั่วไป กุฏิหลวงปู่หลิว ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่มีทีวี ไม่มีตู้เย็น ไม่มีที่นอนอย่างดี ไม่มีเฟอร์นิเจอร์อย่างดีราคาแพง ท่านอยู่แบบสมถะ เป็นที่นับถือของบุคคลทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง ท่านมีบุคคลต่าง ๆ จากทั่วทุกสารทิศมาพึ่งบารมีขอพร ขอให้ท่านช่วยคลายทุกข์มากมาย หลวงปู่หลิวมีลูกศิษย์ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และฮ่องกง หลวงปู่หลิวนั้น เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่าท่านสมถะไม่หวังในยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านพัฒนาทั้งทางธรรมและทางโลกโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน หลวงปู่หลิวนั้นท่านฉันอาหารอย่างง่าย อาหารที่หลวงปู่หลิวฉันทุกมื้อ คือ ผักต้มนิ่ม ๆ และมีมะระขี้นกทุกมื้อ น้ำพริก รสไม่เผ็ด แกงเลียง ข้ามต้ม ผัดหมี่ซั่ว ผลไม้ที่ท่านชอบมากคือ ทุเรียน นอกจากนั้น ท่านชอบฉันหมากเป็นประจำ นอกจากหลวงปู่หลิวจะมีวัตรปฏิบัติที่เพียบพร้อมแล้ว หลวงปู่ยังมีอารมณ์ขัน จนเป็นที่ทราบของบุคคลใกล้ชิดทั่วไป และลูกศิษย์ลูกหาที่มาหา จนมีการรวบรวมอารมณ์ขันของหลวงปู่มาเป็นหนังสือได้ เล่มทีเดียว กลางปี พ.ศ. ๒๕๔๓ หลังจากพิธี พุทธาภิเษกวัตถุมงคลรุ่นเสาร์ เป็นต้นมา หลวงปู่ก็เริ่มอาพาธ ด้วยโรคชรา หลวงปู่หลิวเคยปรารภกับลูกหลานว่า ท่านเกิดที่หนองอ้อ ท่านก็อยากตายที่หนองอ้อ และหากว่าเมื่อถึงเวลาที่ท่านต้องจากไป ก็อย่าได้หน่วงเหนี่ยวท่านไว้ เพราะวัฏสงสารเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ในค่ำคืนวันจันทร์ที่ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เวลา ๒๐.๓๕ น. หลวงปู่หลิวได้ละสังขารอย่าสงบท่ามกลางลูกหลานที่คอยมาดูใจเป็นครั้งสุดท้าย ที่กุฏิของท่าน ณ วัดหนองอ้อ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี รวมอายุ ๙๕ ปี พรรษา ๗๔ พรรษา

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว..เป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม ย้อนตำนาน พญาเต่าเรือน "หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง" ใช้บูชากันได้ ๑๐๘ ดีนักแล.

หลวงปู่หลิว

ทำไมถึงต้องเป็นพญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิวท่านเคยบอกไว้ว่า ต้องการทำวัตถุมงคลให้แปลกและดีจึงนึกถึงเต่า เพราะว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว เต่าเป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังเคยเสวยพระชาติเป็นพญาเต่ามาแล้ว

หลวงปู่หลิวได้เล่าถึงตำนานพญาเต่าเรือนว่า เมื่อสมัยพุทธกาลนั้นมีพญากาเผือกผัวเมียคู่หนึ่งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำใหญ่ พญากาเผือกตัวเมียได้ออกไข่มา ฟองในรังบนต้นไม้ริมฝั่งแม่น้ำแห่งนั้น อยู่มาวันหนึ่งพญากาเผือกทั้งสองได้บินออกไปหากิน ปล่อยให้ไข่ทั้ง ๕ ฟองอยู่ในรังโดยไม่มีใครเฝ้า วันนั้นได้เกิดพายุรุนแรงขึ้นบริเวณริมฝั่ง แม่น้ำแห่งนั้น ไข่ทั้ง ฟอง จึงถูกพายุพัดตกลงไปในแม่น้ำ แล้วลอยน้ำกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทาง ไข่พญากาเผือกได้ถูกเก็บไปเลี้ยงโดยสัตว์ชนิดต่าง ๆ คือ

ฟองแรก เต่านำไปเลี้ยงไว้

ฟองที่สอง พญานาคนำไปเลี้ยงไว้

ฟองที่สาม พญาราชสีห์นำไปเลี้ยงไว้

ฟองที่สี่ โคนำไปเลี้ยงไว้

ฟองที่ห้า งูนำไปเลี้ยงไว้

ไข่แต่ละฟองนั้นเมื่อถูกนำไปเลี้ยงก็ได้มีพระโพธิสัตว์มาเสวยพระชาติเป็นสัตว์ตามผู้ที่เก็บมาเลี้ยงดูเช่น

ไข่ฟองแรกเต่าเก็บไปเลี้ยงพระโพธิสัตว์ก็มาเสวยพระชาติเป็นเต่า

ไข่ฟองที่สองพญานาคเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็เสวยพระชาติเป็นพญานาค

ไข่ฟองที่สามพญาราชสีห์เก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็เสวยพระชาติเป็นพญาราชสีห์

ไข่ฟองที่สี่ โคเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็เสวยพระชาติเป็นโค

ไข่ฟองที่ห้า งูเก็บไปเลี้ยง พระโพธิสัตว์ก็เสวยพระชาติเป็นงู

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว..เป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม ย้อนตำนาน พญาเต่าเรือน "หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง" ใช้บูชากันได้ ๑๐๘ ดีนักแล.

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว..เป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม ย้อนตำนาน พญาเต่าเรือน "หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง" ใช้บูชากันได้ ๑๐๘ ดีนักแล.

ในกาลต่อมาพระโพธิสัตว์ทั้ง พระองค์ได้มาเกิดใหม่ในชาติสุดท้ายเป็นพระพุทธเจ้าตามลำดับดังนี้

พระพุทธเจ้าพระองค์แรกทรงพระนามว่า กะกุสันโธ

พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง ทรงพระนามว่า พระโกนาคมโน

พระพุทธเจ้าองค์ที่สาม ทรงพระนามว่า กัสสโป

พระพุทธเจ้าองค์ที่สี่ ทรงพระนามว่า โคตาโม

พระพุทธเจ้าองค์ที่ห้า ทรงพระนามว่า พระศรีอริยเมตไตรโย (ซึ่งยังไม่ประสูติ)

พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ก่อนจุติต้องเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์เพื่อบำเพ็ญบารมีมาแล้ว เป็นร้อยชาติ เป็นพันชาติหรือเป็นหมื่นชาติเลยทีเดียว พญาเต่าเรือนจึงเป็นชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์ที่เสวย พระชาติเพื่อบำเพ็ญบารมี

หลวงปู่หลิวท่านเล็งเห็นว่า พญาเต่าเรือนนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคล ท่านจึงได้นำมาเป็นแบบในการสร้างวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมอย่างสูง

พญาเต่าเรือนใช้บูชากันได้ร้อยแปด ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี สู้คดีความ ประกอบการธุรกิจและอื่น ๆ อีกมากมาย

พระคาถาที่ใช้ในการอาราธนานั้นมีหลายบทด้วยกัน ในกรณีที่ตกอยู่ในอันตราย มีคดีความให้ท่านนึกถึงหลวงปู่หลิวแล้วสวดมนต์ภาวนาคาถาดังนี้

ให้ตั้ง นะโม ๓ จบ นะมะพะทะ นาสังสิโม

สังสิโมนา สิโมนาสัง โมนาสังสิ นะอุทะกะ เมมะอะอุ

แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพระบารมีพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน ให้ช่วยพ้นภัยอันตรายที่ประสบอยู่ สำหรับตัวคาถา ตัวคือ นาสังสิโม นั้นท่านว่าเป็นหัวใจของพญาเต่าเรือน

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว..เป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม ย้อนตำนาน พญาเต่าเรือน "หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง" ใช้บูชากันได้ ๑๐๘ ดีนักแล.

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว..เป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม ย้อนตำนาน พญาเต่าเรือน "หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง" ใช้บูชากันได้ ๑๐๘ ดีนักแล.

เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนยาว..เป็นสัตว์ที่มีศีลธรรม ย้อนตำนาน พญาเต่าเรือน "หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง" ใช้บูชากันได้ ๑๐๘ ดีนักแล.

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

ชมรมพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง

เผยแผ่บารมีเป็นสังฆบูชา และเทิดทูนเกียรติคุณครูบาอาจารย์