ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Facebook ข่าวภูมิภาค 77 จังหวัด Tnews

นายณัฐปคัลภ์ ไชยมุติ ประธานชมรมรักษ์ผ้าไทหนองคาย เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าอัศวรรณ ช๊อปปิ้งคอมเพล๊กซ์ 1 พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไท หนองคาย ร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ ช๊อปปิ้งคอมเพล๊กซ์ ร่วมกันจัดนิทรรศการ เครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-31 ตุลาคม โดยมีนายสมัย ณ หนองคาย อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานในพิธีเปิด มี คุณแม่อรุณี ณ หนองคาย นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจและการท่องเที่ยว คุณวิลาวัลย์ กนกศิลป์ ประธานหอการค้าจังหวัดหนองคาย นางชะตา ธุลีจันทร์ พัฒนาการจังหวัดหนองคาย ร่วมในพิธี

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

นายณัฐปคัลภ์ ไชยมุติ ประธานชมรมรักษ์ผ้าไทหนองคาย กล่าวอีกว่ากิจกรรมในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการถวายความอาลัยในหลวงรัชกาลที่ 9 ยังเป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงการแต่งกายไว้ทุกข์ในแต่ละยุคสมัย เพื่อบอกเล่าเรื่องราววิวัฒนาการการแต่งกายไว้ทุกข์ของชาวไทย ในแต่ละช่วงสมัย ให้ประชาชนในสมัยปัจจุบันแต่งกายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

โดยสมัยรัชกาลที่ 5 จึงปรากฏหลักฐานว่ามีการใส่ชุดดำในงานศพ สันนิษฐานว่าได้รับมาจากอิทธิพลของชาติตะวันตกในเวลานั้น ปรากฏว่าใช้สีดำสำหรับผู้ที่มีอายุหรือฐานะสูงกว่าผู้ตาย เหมือนกับสีเข้มอื่นๆ ที่เคยใช้มาแต่ก่อน สีเครื่องแต่งกายในงานศพนั้นจึงกลายเป็นสิ่งที่บ่งบอกสถานะทางสังคมไทยได้อย่างหนึ่ง ยิ่งเป็นระดับพระราชวงศ์ก็ยิ่งมีธรรมเนียมรายละเอียดมากกว่าคนทั่วไป โดยการแต่งกายชุดไว้ทุกข์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นมีหลายระดับ ดังต่อไปนี้

1.แต่งขาวล้วน

2.แต่งดำล้วน หรือห่มขาว

3.นุ่งผ้าขาวลาย สวมเสื้อขาว หรือห่มขาว

4.นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อขาวหรือห่มขาว

โดย พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงออกพระราชกิจจานุเบกษาเรื่อง “ประกาศนุ่งขาว” โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เหลือการแต่งกายเพียงสองแบบคือ

1.แต่งขาวล้วน สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่เป็นญาติที่มีอายุต่ำกว่าผู้ตาย ผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติแต่มีบรรดาศักดิ์ต่ำกว่าผู้ตาย หรือต้องการแต่งเพื่อแสดงความนับถือต่อผู้ตาย

2.แต่งดำล้วน หรือห่มขาว สำหรับผู้ไว้ทุกข์ที่เป็นญาติสนิทที่มีอายุมากกว่าผู้ตาย ผู้ที่ไม่ได้เป็นญาติแต่มีบรรดาศักดิ์สูงกว่าผู้ตาย หรืออาจเป็นเพียงญาติห่างๆ ที่มีอายุน้อยกว่า (ไม่ได้อยู่ในสาขาญาติตามผังเครือญาติในประกาศ) ธรรมเนียมการแต่งกายแบบนี้เริ่มใช้ตั้งแต่งานพระศพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ใน พ.ศ.2430 เป็นต้นมา

สำหรับยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้มีการออกนโยบายรัฐนิยม ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมการแต่งกายใหม่ คือยกเลิกการแต่งกายตามอายุและบรรดาศักดิ์ ตามประกาศเรื่องระเบียบการแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2484 ความว่า

ผู้ชาย

ก. แต่งเครื่องแบบ ให้ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งดำขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซ็นติเมตร พันแขนเสื้อซ้ายบน

ข. แต่งกายสุภาพตามรัฐนิยม ให้ใช้เสื้อขาว กางเกงขายาวขาว (ถ้าเป็นเสื้อคอแบะ ให้ใช้เสื้อเชิ๊ตขาว ผ้าผูกคอดำเงื่อนกะลาสี) รองเท่าหนังดำ ถุงเท้าดำ และใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งดำขนาดกว้างระหว่าง 7 ถึง 10 เซ็นติเมตร พันแขนเสื้อซ้ายเบื้องบน

ผู้หญิง

แต่งกายสุภาพตามรัฐนิยม ให้ใช้เครื่องดำล้วน การแต่งกายในงานศพสมัยหลังจะอ้างอิงตามระเบียบการแต่งกายไว้ทุกข์ในงานศพ พ.ศ.2484 เป็นหลัก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในเรื่องรายละเอียด คือในสมัยปัจจุบันนิยมแต่งดำทั้งชายและหญิงตามประเพณีสากลนิยม ดังที่พบเห็นได้ในงานศพยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นทางราชการหรือในงานศพบุคคลทั่วไป.

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนผ้าไทหนองคายร่วมกับ ศูนย์การค้าอัศวรรณ จัดนิทรรศการเครื่องแต่งกายไว้ทุกข์ในสยาม เพื่อถวายอาลัย พ่อของแผ่นดิน . .

ภัทรวินทร์ ลีปาน ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดหนองคาย