สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

ติดตามเรื่องราวดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://www.tnews.co.th

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

         พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยวันเมื่อวานนี้ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามจุดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ ทั่วประเทศ
         

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

          วันนี้ (๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๐) พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง และเชิญพระบรมอัฐิ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เชิญพระบรมอัฐิ เข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท 

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

         สำหรับธรรมเนียมการประดิษฐานพระบรมอัฐิแลพระอัฐิของราชวงศ์จักรีนั้น เมื่อได้มีการถวายพระเพลิงพระบรมศพหรือพระราชทานเพลิงพระศพแล้วนั้นจะต้องดูว่าพระองค์นั้นทรงมีพระอิสริยยศในชั้นใดแล้วจึงนำไปประดิษฐานในสถานที่นั้นๆตามพระเกียรติ ส่วนพระมหากษัตริย์แล้วนั้น พระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทยจะประดิษฐานอยู่สองที่ คือ หอพระธาตุมณเฑียร และ  พระวิมานทองกลาง 

 

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

หอพระธาตุมณเฑียร

            เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างภายในพระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกเป็นปฐม ภายหลังจึงเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑-๓ และพระบรมวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์

            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และต่อมาได้ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า สมเด็จพระอัครมเหสี และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงบางพระองค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงสมเด็จพระบรมชนกนาถและสมเด็จพระบรมราชชนนี จึงให้อัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีจากหอพระธาตุมณเฑียรมาประดิษฐาน ณ พระวิมานพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท จึงเป็นธรรมเนียมอัญเชิญพระบรมอัฐิมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตราบจนปัจจุบัน ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมอัฐิจากหอพระธาตุมณเฑียรและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมาสรงน้ำในการพระราชพิธีสงกรานต์ทุกปี

             หอพระธาตุมณเฑียร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นอาคารทรงไทยขนาดเล็ก ชั้นเดียว ยกพื้นสูงสามเมตร ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดยาวจากทิศเหนือไปใต้ เชื่อมต่อกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณด้วยมุขกระสันซึ่งเป็นโถงหน้าหอพระธาตุมณเฑียร มีพระทวารทางเข้าแห่งเดียวตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และที่มุขกระสันมีสีหบัญชรเป็นที่เสด็จฯ ออกให้เข้าเฝ้าฯ หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง ประดับกระจกสีทอง หน้าบันเป็นไม้จำหลักลายลงรักปิดทอง เป็นลายกระหนกเครือวัลย์ประกอบลายดอกพุดตาลใบเทศ ตรงกลางหน้าบันมีเรือนแก้ว พระทวารและพระบัญชรเป็นซุ้มทรงอย่างเทศ ปั้นปูนเป็นลายพุดตาลปิดทอง ด้านในพระบัญชรและบานแผละเขียนลายทองเป็นภาพพระราชพิธี ๑๒ เดือน พื้นปูด้วนเสื่อสานเนื้อละเอียดแบบจีน ตรงกลางปูทับด้วยพรมแดง นอกจากนี้ยังมีหอขนาดเล็กอีก ๒ หอ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหอพระสุราลัยพิมาน และหอพระธาตุมณเฑียรอย่างละ ๑ หอ เรียกว่า หอพระน้อย เป็นอาคารก่ออิฐปูน ทาสีขาว ยกพื้นสูง รูปร่างและขนาดเท่ากัน รูปทรงผสมผสานไทย-จีน หลุงคมทรงจีน ปัจจุบันหอทั้ง ๒ ไม่ได้ประดิษฐานสิ่งใด

 

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

พระบรมอัฐิในหอพระธาตุมณเฑียร
ภายในหอพระธาตุมณเฑียรทางทิศเหนือเป็นบริเวณที่ตั้งพระแท่นไม้จำหลักลายปอดทองลดหลั่นกันหลายชั้น ชั้นบนสุดเป็นพระวิมาน แบ่งดังนี้

พระวิมานองค์กลาง
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

พระวิมานองค์ขวา
พระอัครชายา (หยก)
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

พระวิมานองค์ซ้าย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสา กรมพระยาเทพสุดาวดี
สมเด็จพระศรีสุลาไลย

พระบรมอัฐิในอดีต
             เดิมในหอพระธาตุมณเฑียร ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ แต่เมื่อมีการสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทก็มีการเชิญขึ้นไปประดิษฐานบนพระวิมานบนพระที่นั่ง มีรายพระนาม ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เชิญไปประดิษฐานบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ ๕
สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เชิญไปประดิษฐานบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทใน รัชกาลที่ ๕
พระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เชิญไปประดิษฐานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ ๕
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เชิญไปประดิษฐานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ ๙
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เชิญไปประดิษฐานบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในรัชกาลที่ ๙

 

พระวิมานทองกลาง

          พระที่นั่งองค์กลางชั้นบนสุดของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๘ รวมไปถึงพระมเหสีตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ขึ้นมาทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระบรมราชวงศ์จักรีชั้นสูงหลายพระองค์ ซึ่งสถานที่นี้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์มาก อีกทั้งสถานที่ตรงนี้เป็นสถานที่ที่เราไม่เคยพบภาพถ่ายของพระวิมานทองกลางในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเลย ซึ่งเป้นสถานที่ยากต่อการที่จะทราบว่าเป็นห้องแบบไหน เนื่องจากแม้แต่ภาพถ่ายก็หายากมาก น้อยคนนักที่จะสามารถเข้าห้องพระวิมานทองตรงนี้ได้ ส่วนในส่วนพระที่นั่งจักรีฯ นั้น ทางด้านชั้นบนพระที่นั่งองค์ตะวันตกก็เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระอัฐิของพระบรมวงศ์บางพระองค์อีกด้วย

          ซึ่งทั้งสองสถานที่ที่ได้พูดถึงข้างต้นนั้นเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่คนภายนอกไม่สามารถที่จะเข้าไปข้างในได้ (โดนเฉพาะพระวิมานทองพระที่นั่งจักรีฯ ซึ่งเป็นสถานที่ลับสุดยอดที่่สุดในพระบรมมหาราชวังก็ว่าได้ เพราะน้อยคนนัก ที่จะรู้ว่าสถานที่นั้นมีลักษณะอย่างไร) 

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

        ส่วนสำหรับสถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหาอุปราช(รวมไปถึงพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) และพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์พระบรมวงศ์ชั้นสูงในราชวงศ์จักรีนั้นส่วนใหญ่จะประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่รวมพระบรมอัฐิมากที่สุดในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังต่อมา การเก็บรักษาพระอัฐิของเจ้านายต่างๆนั้นจะเก็บไว้ในวังของเจ้านายในราชสกุลนั้นๆ วัดหลวงต่างๆ รวมไปถึงคนในราชสกุลนั้นจะเก็บรักษาไว้เอง 

        หอพระนาก ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของพระอุโบสถ ใกล้กับพระวิหารยอดตรงกันข้ามกับ หอพระมณเฑียรธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นในระยะที่ ๒ ของการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อขยายเขตพระระเบียงออกไปทางด้านทิศเหนือ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อและแผลงด้วยนาก ซึ่งอัญเชิญมาจากพระนครศรีอยุธยา และถือพระนากเป็นพระประธานในการ "เปตพลี" (การอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ลักษณะของหอพระนากในรัชกาลนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีรูปร่างอย่างไร

        ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หอพระนากคงจะชำรุดทรุดโทรมจึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงหอพระนาก แล้วประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ หลายสิบองค์ มีทั้งหุ้มทองบ้าง หุ้มเงินบ้าง หุ้มนากบ้าง รวมทั้งรูปพระเชษฐบิดร คือรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ซึ่งสร้างกรุงศรีอยุธยา ที่แปลงเป็นพระพุทธรูปแล้วนั้นก็ประดิษฐานอยู่ด้วย ส่วนพระอัฐิเจ้านายนั้นเก็บอยู่ในตู้ผนังด้านหลังพระวิหาร

 

สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์!! เผยที่มา..สถานที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไทย และพระอัฐิพระบรมวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี น้อยคนจะรู้ !!

        ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเตรียมงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อครั้งดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการปฏิสังขรณ์หอพระนาก ซ่อมแซมช่อฟ้า ใบระกา และหลังคา รวมทั้งลงรักปิดทองซุ้มประตูหน้าต่างภายนอกทั้งหมด ตลอดจนเขียนผนังเพดาน ทำตู้ ปูพื้น และทำพระโกศทรงพระอัฐิในหอพระนากทั้งหมด ส่วนพระพุทธรูปทั้งหมดที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระนาก โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระวิหารยอด อย่างไรก็ตามด้วยความเคยชินที่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแผลงด้วยนากเช่นนี้ จึงยังคงเรียกว่า "หอพระนาก" มาตราบจนทุกวันนี้

        ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อเตรียมงานสมโภชพระนครครบ ๑๕๐ ปี โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ทั้งภายนอกและภายในทั้งหลัง เขียนลายผนังด้านในใหม่เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์อย่างเดิม แล้วทำพระโกศทรงพระอัฐิเจ้านายที่ยังไม่มีพระโกศที่บรรจุทั้งหมด สิ่งที่เพิ่มเติมคือ เจาะผนังด้านทิศตะวันตกให้เป็นช่องสร้างเป็นพระวิมานประดิษฐานพระบวรอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบวชราชเจ้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๑, ๒ และ ๓ เบื้องหน้าพระวิมานสร้างเป็นซุ้มคูหาตั้งพระเบญจาแบบย่อเก็จด้านหน้า ด้านหลังติดผนังสำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระโอศทรงพระอัฐิเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์ ระหว่างการบูรณะหอพระนากได้อัญเชิญพระบวรอัฐิและพระอัฐิ ไปพักไว้ท้ายจรนำปราสาทพระเทพบิดรเป็นการชั่วคราว เมื่อการบูรณะสำเร็จแล้ว ใน พ.ศ.๒๔๗๕ จึงได้เชิญพระบวรอัฐิและพระอัฐิขึ้นประดิษฐานในหอพระนากตามตำแหน่งที่จัดไว้

         ในรัชกาลที่ ๙ ได้มีการเสริมหน้าต่างกระจกขึ้นอีกชั้นหนึ่ง นอกหน้าต่างลายรดน้ำของเดิม เพื่อป้องกันการเสียหายของลายรดน้ำเมื่อถูกแดดฝน พร้อมทั้งทำเหล็กม้วนปิดซุ้มคูหาที่ตั้งพระบวรอัฐิและพระอัฐิ

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม

                          https://th.wikipedia.org/wiki/หอพระธาตุมณเฑียร

                          https://th.wikipedia.org/wiki/หอพระนาก