พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอัศวินแห่งราชวงศ์สวีเดน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอัศวินแห่งราชวงศ์สวีเดน

ในฐานะที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงเป็นอัศวินแห่งราชวงศ์สวีเดน (Knight of the Swedish Royal Order of the Seraphim) ทรงได้รับการถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตราเซราฟีม ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของประเทศสวีเดน มาตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2493 นั้น ทางรัฐบาลสวีเดน ก็ได้จัดพิธีถวายพระเกียรติสูงสุด โดยอัญเชิญพระราชลัญจกร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ไปยังโบสถ์ริดดาร์โฮล์ม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บพระศพของราชวงศ์สวีเดนหลายพระองค์…


เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม เวลา 11.55 น.ตามเวลาท้องถิ่น ของทางประเทศสวีเดนได้มีการพิธีถวายพระเกียรติขั้นสูงสุด  โดยกองทหารเกียรติยศจะอัญเชิญพระราชลัญจกรพิเศษ (ตราพระครุฑพ่าห์) จากพระราชวังกรุงสตอกโฮล์มไปยังโบสถ์รีดดาโฮล์ม ซึ่งถือเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยกองทหารเกียรติยศจาก Royal Honor Guard ที่พระบรมมหาราชวังกรุงสตอกโฮล์ม จะอัญเชิญตราพระราชลัญจกร "Coat of Arms" ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่อยู่ที่พระบรมมหาราชวังในกรุงสตอกโฮล์ม ไปยังโบสถ์ริดดาร์โฮล์ม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บพระศพของราชวงศ์สวีเดนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175)

#หมายเหตุ:  “ครุฑพ่าห์” หมายถึงครุฑกางปีก สื่อถึงครุฑที่เป็นพาหนะของพระนารายณ์โดยตรง

 “ครุฑพ่าห์” หรือ “พระครุฑพ่าห์” เป็นสัญลักษณ์ของราชบัลลังก์ เป็นตราประจำแผ่นดินของประเทศไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา..”

        ควรเข้าใจว่า “ครุฑ” นั้นมีทั้งพ่าห์และไม่พ่าห์ คือมีทั้งที่กางปีกและไม่กางปีก
       
        คำว่า “พ่าห์” มาจาก “พาหะ” ซึ่งก็คือ “พาหนะ” นั่นเอง

 ตามหลักภาษาไทยคำนึงถึงความไพเราะในการอ่านออกเสียงด้วย คำว่า “พาหะ” ลงตัวด้วยคำตาย ฟังไม่ไพเราะ จึงเอาการันต์ไปใส่บน “ห” แต่เพื่อไม่ให้อ่านว่า “พา” จึงต้องเอาไม้เอกไปใส่ในพยัญชนะตัวหน้าด้วย ดังนั้น “พาหะ” เมื่อเอาการันต์ไปใส่และเติมไม้เอก ก็เลยต้องกลายเป็น “พ่าห์” ในที่สุด
       
        เหมือนกับคำ “ดุลพ่าห์” ที่หมายถึงตราชั่งของกระทรวงยุติธรรมที่จริงมาจาก “ดุลพาหะ” แต่อ่านแล้วฟังไม่ไพเราะเช่นกัน จึงใส่การันต์และไม้เอกโดยนัยเดียวกัน
       
        ทุกอารยธรรมในโลกมีตำนานว่าด้วยพญานกใกล้เคียงกัน ในลักษณะทางปรัชญาที่แปลความหมายได้ว่าเป็นสื่อพันธกิจโดยตรงจากพระเจ้า ผู้นำสาร หรือผู้นำพา เช่น ฟินิกซ์ - นกอมตะที่เผาตนเองแล้วคืนชีพใหม่สู่วิถีที่สูงส่งกว่า, ธันเดอร์เบิร์ด - ของชนเผ่าพื้นเมืองในทวีปอเมริกา, อิมดู - พาหนะของเทพแห่งสงครามในอารยธรรมเมโสโปเตเมียน , บีนไซ - ของชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรแปซิฟิก, ร็อก - ในตำนานปรัมปราของชาวเปอร์เซียน, ฯลฯ
       
        มีผู้วิเคราะห์ไว้อย่างแยบยลว่า ความคิดของผู้คนไม่ว่ายุคสมัยใด ล้วนให้คุณค่าต่อสิ่งที่อยู่เบื้องบน หรือสิ่งที่ลงมาจากเบื้องบนหรือท้องฟ้า จนหลายครั้งเป็นการลดค่าของสิ่งที่อยู่ต่ำ ทั้งบนดิน และใต้ดิน โดยนัยแห่งบทวิเคราะห์นี้ก็คือ
       
        “โลกียะ” = การอยู่ติดพื้นดิน (หรือใต้ดิน) คือสภาะที่เป็นไปตามแรงดึงดูดโลก
       
        “โลกุตระ” = การบินได้ เปรียบเสมือนการพ้นจากโลกียวิสัย
       
        แม้นักเขียนตะวันตกอย่างริชาร์ด บาค ยังนำไปเปรียบเทียบไว้ในงานเรื่อง “โจนานธาน ลิวิงสตัน - นางนวล” อันโด่งดังเมื่อ 30 ปีก่อนของเขา
       
        เทพและอภิมนุษย์ หรือ “ซูเปอร์ฮีโร่” ทุกชาติพันธุ์มักจะต้องเหาะเหิรเดินอากาศได้
       
        ปีกคืออุปกรณ์ในการเชื่อมโยงระหว่างภพเป็นจริง เป็นคุณลักษณ์พื้นฐานของเทพและอภิมนุษย์ในทุกคติ เป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติของมนุษย์สามัญ
       
        ปรัชญาและคติที่ว่ามานี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างสูงกับต่ำ นรกกับสวรรค์ รวมไปถึงความเป็นคู่ตรงข้ามของสัตว์อย่างนก และงู ในขณะที่นกเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองและอารยะ งูกลับเป็นสัญลักษณ์ตรงข้ามที่สื่อถึงความไม่ดีไม่งามต่างๆ
       
        ในคติฮินดู -- งูหรือนาคเป็นศัตรูของครุฑ!
       
        แต่ที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น คือกระบวนทัศน์ของพระนารายณ์ ที่ทรงเห็นความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง
       
        พระนารายณ์บรรทมและเจริญสมาธิบนขดร่างพญานาค และทรงครุฑยามที่จะลงมายุติทุกข์เข็ญของมนุษย์ 
       
        ไม่ใช่จู่ๆ พญาครุฑเวนไตยจะมาเป็นพาหนะให้พระนารายณ์ง่ายๆ นะครับ
       
        ตามเทพปกรณัมของฮินดูนั้น ครุฑมีฤทธิ์เดชสามารถเอาชนะเทพได้ทุกองค์ และกับพระนารายณ์นั้นก็ไม่ได้มีฝีมือเหลื่อมล้ำกันเท่าใดนัก แต่เมื่อได้เผชิญหน้ากันในศึกชิงน้ำอมฤต นอกจากจะยอมรับในฝีมือของกันและกันแล้ว พระนารายณ์ยังยอมรับในจิตใจสูงส่งและความข่มใจอันหนักแน่นของพญาครุฑเวนไตย จึงนอกจากจะไม่สู้รบต่อแล้ว ยังเอ่ยปากจะขอประทานพรทุกประการที่ต้องการให้
       
        ตรงนี้ งดงามมากเพราะแสดงให้เห็นความสูงส่งของทั้งพระนายรายณ์และพญาครุฑเวนไตย
       
        พรที่พญาครุฑเวนไตยต้องการคือ...
       
        “ขออยู่สูงกว่าพระองค์ ขอเป็นผู้ไม่มีเวลาตาย และไม่มีเวลาเจ็บ แม้ไม่ได้กินน้ำอมฤต”
       
        เพื่อความไม่เอาเปรียบและแสดงความเท่าเทียมกัน พญาครุฑเวนไตยขอถวายพรข้อหนึ่งตามแต่พระนารายณ์จะขอเช่นกัน
       
        “ขอให้ท่านเป็นพาหนะของข้า ร่วมแบกรับภารกิจยิ่งใหญ่ ขอให้ท่านสถิตอยู่ที่ยอดเสาธงของข้า เพื่อที่ท่านจะได้อยู่สูงกว่าข้า”
       
        โดยนัยนี้ “ครุฑพ่าห์” อันเป็นทั้งตราแผ่นดินและสัญลักษณ์พระเจ้าแผ่นดินจึงมีที่มาที่สื่อความหมายสูงส่ง
       
        เพราะเป็นเสมือนจิตวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ที่เข้าแบกรับภาระตามสัจจะ เสมือนผู้เฝ้าคอยพิทักษ์รักษาความเข้มแข็งของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ และความดีความงามความสว่างความสงบ ให้คงอยู่ตลอดไป
       
        เมื่อ “ครุฑพ่าห์” ประดับอยู่บนบัตรประจำตัวจึงมีความหมายล้ำลึกหลายแง่มุม
       
        จะว่าเป็นสัญลักษณ์ของ “พสกนิกร” ที่พึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ จะว่าเป็นสัญลักษณ์ของ “ราชประชาสมาสัย” หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพระมหากษัตริย์กับพสกนิกรของพระองค์ก็ว่าได้ จะว่าเป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณแห่งการสำนึกในภาระหน้าที่ของพลเมืองดีก็ว่าได้ หรือจะว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งเป้าหมายของพลเมืองดีทุกคนที่จะต้องพยายามพ้นจากวิถีโลกียะไปสู่วิถีโลกุตระก็ว่าได้
       

 

 และในระหว่างเวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ได้มีพิธีพิเศษ ในโบสถ์ ที่เรียกว่า "Serafimerringningen" แปลว่า พิธีตีระฆังแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราเซราฟีม เป็นเวลา ๑ ชั่วโมง และนอกเหนือจากการจัดพิธีในโบสถ์แล้ว ระฆังของโบสถ์จะดังอยู่ตลอดเวลาในช่วงระหว่างพิธีฯ ซึ่งถือเป็นการถวายพระเกียรติยศสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ระฆังของโบสถ์จะดังอยู่ตลอดเวลาในช่วงระหว่างพิธีฯ จากนั้นจะได้นำพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ประทับไว้ที่โบสถ์นี้ตลอดไป


ซึ่งทั้งนี้ ธรรมเนียมดังกล่าวนั้น ถือเป็นพิธีที่ประเทศสวีเดนจัดขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุด แด่ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว ในวันเดียวกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อีกด้วย..

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอัศวินแห่งราชวงศ์สวีเดน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอัศวินแห่งราชวงศ์สวีเดน

 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นอัศวินแห่งราชวงศ์สวีเดน

 

ขอขอบคุณท่านผู้เป็นเจ้าของเครดิตภาพที่ผู้เขียนได้นำมาจาก (อินเตอร์เน็ต)เพื่อใช้ในการแสดงประกอบเนื้อหาสาระข้อมูลนี้ค่ะ..และขอขอบคุณที่มาของภาพและข้อมูลจาก: อินเตอร์เน็ต ค่ะ
เรียบเรียงโดย:โชติกา พิรักษา และ ศศิภา ศรีจันทร์ ตันสิทธิ์