ร.10  ห่วงราษฎรถูกน้ำท่วมเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลรับใส่เกล้าฯ เร่งวางแผนช่วยเหลือประชาชนใกล้ชิดประยุทธ์ยันเตรียมช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูโดยด่วน

ร.10 ห่วงราษฎรถูกน้ำท่วมเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลรับใส่เกล้าฯ เร่งวางแผนช่วยเหลือประชาชนใกล้ชิดประยุทธ์ยันเตรียมช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูโดยด่วน

พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรผู้ประสบอุทกภัยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีพระราชดำริให้ภาครัฐติดตามสถานการณ์ เพื่อช่วยเหลือ พ่อแม่พี่น้องประชาชนอย่างใกล้ชิด นอกจากทำแผนหลัก แผนรองและแผนเผชิญเหตุ ไว้ล่วงหน้า เพื่อจะดูแลป้องกัน และแก้ปัญหา ตลอดจนจิตอาสาต่าง ๆ ก็จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย รวมทั้งในเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยาให้กับราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เต็มที่ทันการณ์ ซึ่งรัฐบาลก็ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมและดำเนินการอย่างบูรณาการ ทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน ทั้งนี้ เพื่อจะส่งความช่วยเหลือไปยังพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง แม้ในพื้นที่ห่างไกลที่สุด และอาจจะถูกตัดขาดจากการสื่อสาร จากการคมนาคม อะไรก็ตาม เราก็พยายามอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังต้องมองที่ภาพรวมของประเทศด้วย ทั้งประเทศนั้นเราจะต้องเพื่อบูรณาความพยายามในการแก้ปัญหาในทุกด้าน  

“ ที่สำคัญแม้ว่าขณะนี้จะเกิดน้ำท่วม แต่ต้องคำนึงถึงน้ำในอนาคตด้วย เราก็ต้องไม่ระบายน้ำจนหมด จะได้ไม่เกิดภาวะภัยแล้ง หรือน้ำแล้ง น้ำไม่เพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค หรือป้อนภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมทั้งน้ำในการรักษาระบบนิเวศ การผลักดันน้ำทะเล ทั้งนี้ เพื่อจะรักษาสมดุลให้ได้ มิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน ต้องแก้ไขกลับไป กลับมา ทีละปัญหา ก็เหมือนกับงูกินหาง” นายกฯกล่าว 
 
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สิ่งที่ทุกคน ทุกฝ่ายต้องเข้าใจตรงกันก็คือ 
1. เรื่องการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เราจะต้องเข้าใจ สามารถจะเข้าใจถึงธรรมชาติของน้ำ เราสามารถจะแยกเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ได้คือ ภาคเหนือ ภาคกลางที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยแม่น้ำปิง  วัง  ยม น่าน ไหลรวมกันมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา พูดง่าย ๆ ก็คือ ลุ่มแม่น้ำยม ลุ่มแม่น้ำน่าน ด้านบนลงมาสู่ภาคกลาง ก็เป็นลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเรามีแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน ซึ่งจะช่วยแบ่งมวลน้ำบางส่วนจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเล ถ้าหากไม่สามารถบริหารตั้งแต่ข้างบนลงมา แล้วก็ตรงกลางนี้ด้วย บริหารจัดการไม่ได้ดี ย่อมส่งผลกระทบ เพราะว่าน้ำสะสมเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต สำหรับภาคอีสาน และภาคใต้ ก็เช่นกัน  ภาคอีสานก็จะมีลุ่มแม่น้ำชี ลุ่มแม่น้ำมูล  ซึ่งเราต้องศึกษาละเอียด เพราะว่าคนละส่วนกัน แต่ไหลลงมาที่ต่ำทั้งสิ้น ก็เกิดผลกระทบกับผู้ที่อยู่ใกล้แนวลำน้ำ แนวแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน จากนั้นไปก็เป็นเรื่องของภาคใต้ เพราะว่าฝนจะเลื่อนจากข้างบน ไปข้างล่าง ในช่วงนี้ฝนจะตกหนักในช่วงภาคใต้ เราจะต้องมีระบบการบริหารจัดการน้ำ ที่แยกเป็นส่วน ๆ แล้วจะทำอย่างไร ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ แล้วไหลรวมกัน แล้วจะบริการอย่างไร จะหน่วงน้ำ ชะลอน้ำ ระบายน้ำได้อย่างไร ที่จะเกิดความสมดุลกัน ให้เกิดความเสียหายให้น้อยที่สุด  ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบไว้แล้ว 

พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยพสกนิกรผู้ประสบอุทกภัยเป็นอย่างยิ่ง โดยมีพระราชดำริให้ภาครัฐติดตามสถานการณ์ เพื่อช่วยเหลือ พ่อแม่พี่น้องประชาชนอย่างใกล้ชิด นอกจากทำแผนหลัก แผนรองและแผนเผชิญเหตุ ไว้ล่วงหน้า เพื่อจะดูแลป้องกัน และแก้ปัญหา ตลอดจนจิตอาสาต่าง ๆ ก็จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย รวมทั้งในเรื่องของการฟื้นฟูเยียวยาให้กับราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เต็มที่ทันการณ์ ซึ่งรัฐบาลก็ได้รับใส่เกล้าใส่กระหม่อมและดำเนินการอย่างบูรณาการ ทุกกระทรวง ทุกหน่วยงาน ทั้งนี้ เพื่อจะส่งความช่วยเหลือไปยังพี่น้องประชาชนอย่างทั่วถึง แม้ในพื้นที่ห่างไกลที่สุด และอาจจะถูกตัดขาดจากการสื่อสาร จากการคมนาคม อะไรก็ตาม เราก็พยายามอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังต้องมองที่ภาพรวมของประเทศด้วย ทั้งประเทศนั้นเราจะต้องเพื่อบูรณาความพยายามในการแก้ปัญหาในทุกด้าน  

“ ที่สำคัญแม้ว่าขณะนี้จะเกิดน้ำท่วม แต่ต้องคำนึงถึงน้ำในอนาคตด้วย เราก็ต้องไม่ระบายน้ำจนหมด จะได้ไม่เกิดภาวะภัยแล้ง หรือน้ำแล้ง น้ำไม่เพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค หรือป้อนภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมทั้งน้ำในการรักษาระบบนิเวศ การผลักดันน้ำทะเล ทั้งนี้ เพื่อจะรักษาสมดุลให้ได้ มิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน ต้องแก้ไขกลับไป กลับมา ทีละปัญหา ก็เหมือนกับงูกินหาง” นายกฯกล่าว 
 
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า สิ่งที่ทุกคน ทุกฝ่ายต้องเข้าใจตรงกันก็คือ 
1. เรื่องการบริหารจัดการน้ำของประเทศ เราจะต้องเข้าใจ สามารถจะเข้าใจถึงธรรมชาติของน้ำ เราสามารถจะแยกเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ได้คือ ภาคเหนือ ภาคกลางที่เชื่อมโยงถึงกัน โดยแม่น้ำปิง  วัง  ยม น่าน ไหลรวมกันมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา พูดง่าย ๆ ก็คือ ลุ่มแม่น้ำยม ลุ่มแม่น้ำน่าน ด้านบนลงมาสู่ภาคกลาง ก็เป็นลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ลุ่มแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเรามีแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน ซึ่งจะช่วยแบ่งมวลน้ำบางส่วนจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ทะเล ถ้าหากไม่สามารถบริหารตั้งแต่ข้างบนลงมา แล้วก็ตรงกลางนี้ด้วย บริหารจัดการไม่ได้ดี ย่อมส่งผลกระทบ เพราะว่าน้ำสะสมเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนเช่นที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต สำหรับภาคอีสาน และภาคใต้ ก็เช่นกัน  ภาคอีสานก็จะมีลุ่มแม่น้ำชี ลุ่มแม่น้ำมูล  ซึ่งเราต้องศึกษาละเอียด เพราะว่าคนละส่วนกัน แต่ไหลลงมาที่ต่ำทั้งสิ้น ก็เกิดผลกระทบกับผู้ที่อยู่ใกล้แนวลำน้ำ แนวแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน จากนั้นไปก็เป็นเรื่องของภาคใต้ เพราะว่าฝนจะเลื่อนจากข้างบน ไปข้างล่าง ในช่วงนี้ฝนจะตกหนักในช่วงภาคใต้ เราจะต้องมีระบบการบริหารจัดการน้ำ ที่แยกเป็นส่วน ๆ แล้วจะทำอย่างไร ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ แล้วไหลรวมกัน แล้วจะบริการอย่างไร จะหน่วงน้ำ ชะลอน้ำ ระบายน้ำได้อย่างไร ที่จะเกิดความสมดุลกัน ให้เกิดความเสียหายให้น้อยที่สุด  ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบไว้แล้ว

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ในเรื่องของการทำแนวทางศึกษาแนวทางขุดคลองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด เช่นเราก็มีการศึกษา การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายน้ำหลากบริเวณ บางบาล และ บางไทร จ.อยุธยา ระยะทาง 22 ก.ม.  ตามแนวทางพระราชดำรินะครับ เช่น “คลองลัดโพธิ์” จ.สมุทรปราการ และ การขุดคลองส่งน้ำป่าสัก– อ่าวไทย ต่อเนื่องมาจากคลองชัยนาท–ป่าสัก ระยะทางประมาณ 135 ก.ม.  เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเล
อีกช่องทางหนึ่ง ก็ต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนที่มีที่ดิน พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่อยู่อาศัยที่จะต้องอยู่ในแนวทางการขุดคลอง จะต้องมีคนที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลก็พยายามดูแลอย่างดีที่สุด วางแผนการใช้งบประมาณ ศึกษาความคุ้มค่า ศึกษาผลกระทบ ศึกษาทำ EIA EHIA  มีอีกหลายขั้นตอนด้วยกัน เพราะฉะนั้นเวลาเราก็ทำมาโดยตลอด เพราะว่าเราต้องฟังเสียงพี่น้องประชาชน เพราะฉะนั้นก็มีส่วนหนึ่งได้รับความเดือดร้อน ส่วนหนึ่งไม่เดือดร้อน ก็ต้องหารือกันให้ได้ ทั้งนี้ได้สั่งการให้เร่งศึกษาความเป็นไปได้ทุกอย่าง และดูแลประชาชน ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการในโครงการขนาดใหญ่เหล่านี้ด้วย อันนี้คงไม่เฉพาะเรื่องน้ำเรื่องเดียว หลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นการทำพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ต้องมีคนที่ต้องขยับขยาย แต่เราก็ต้องดูแลให้ดีที่สุด

“ ในช่วงฤดูฝนปีนี้ ประเทศไทยได้รับอิทธิพล จากพายุโซนร้อนตาลัสและเซินกา พายุไต้ฝุ่นทกซูรี และพายุดีเปรสชั่น ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนมีปริมาณใกล้เคียงกับปี 2554 คืออย่าไปวัดว่าน้ำระบายเท่าไร ปีนี้ ปีก่อนเท่าไร ไปดูปริมาณฝนที่ตกลงมา คือปริมาณที่เราเรียกว่า ใกล้เคียงกัน หรือ มากน้อย ก็ไปดูตัวเลขตรงนี้แล้วกัน อย่าไปมองว่า มีหลายคนเขาบอกว่า น้ำปีนี้เท่านั้น น้ำปีโน้นเท่านั้น ต่างกันจากหมื่น กับพัน อะไรอย่างนี้ ไม่ใช่ ผมว่าต้องไปวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาด้วย ” นายกฯกล่าว

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันถือว่าเราควบคุมได้ แล้วไม่ขยายตัวเป็นวงกว้าง อาทิ1. การดำเนินการก่อนน้ำมา เราได้มีการเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำ แก้มลิง จำนวน ไปแล้วกว่า 5,000 โครงการทั่วประเทศ แล้วรับน้ำไว้ได้ราว 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ทำไปแล้ว  เรื่องที่ 2. เมื่อน้ำมาแล้ว เราก็ต้องมีการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน แหล่งเก็บกัก อ่างเก็บน้ำ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ขั้นตอนที่ 3. การฟื้นฟูและเยียวยาซึ่งต้องดำเนินการโดยด่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ช่วงนี้ก็ต้องมาดูว่า หลังจากน้ำท่วมไปแล้ว ซ่อมบ้านจะทำยังไง ถนนเสียหายทำยังไง เกี่ยวกับเรื่องการเกษตรจะทำอย่างไร  ก็ได้มอบหมายให้ทุกกระทรวง ทบวง กรมไปพิจารณา  มาตรการการเงิน การคลัง มาตรการทางภาษี เพื่อให้พวกเขาได้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว  

//////////////