เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา"

รู้จริง... รู้แจ้ง... ทุกเรื่องราวพระอริยสงฆ์   http://panyayan.tnews.co.th

เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา"

 

ความสุขของประเทศไทย: ความสุขของพระราชา=ความสุขของประชาชน
บทความพิเศษจาก... ดร.เวทิน ชาติกุล
(1) ดัชนีความสุขประเทศไทยเพิ่มขึ้น
กว่า 10 ปีที่ประเทศตกอยู่ในภาวะขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงถึงขั้น "เผาบ้านเผาเมือง"
กว่า 1 ปีที่ประเทศต้องสูญเสียศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สังคมที่น่าจะอยู่ในความตึงเครียด ทะเลาะเบาะแว้ง  สังคมที่น่าจะจ่อมจมอยู่กับความโศกเศร้า กลับปรากฏตัวเลขดัชนีชี้วัดความสุขของประเทศที่มิได้ตกต่ำลงแต่อย่างใด
เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา" เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา"
รายงานตัวเลขดัชนีความทุกข์ (Misery Index) ปีล่าสุด(2017)ระบุว่า ไทยเป็นประเทศที่มีความทุกข์น้อยที่สุด(จาก 65 ประเทศที่ตรวจวัด) คือ ตัวเลขดัชนีความทุกข์อยู่ที่ 2.6 (ขณะที่อันดับ 2 สิงคโปร์อยู่ที่ 3.1  อันดับ 3 สวิตเซอร์แลนด์อยู่ที่ 3.6  อันดับ 4 ญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.6) (1*)
หรือ รายงานความสุขสากลปี 2560 (World Happiness Report 2017) ระบุประเทศไทยมีความสุขเพิ่มขึ้น อยู่ในอันดับที่ 32 ของโลกเพิ่มขึ้นจากอันดับ 33 ในปีที่แล้ว (อันดับ 1 คือ นอร์เวย์) และจัดเป็นประเทศที่มีความสุขเป็นอันดับ 2 ในเอเซีย (อันดับ 1 ในเอเซียคือ สิงคโปร์ (เป็นอันดับที่ 26 ของโลก)) (2*) (3*)
เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา"
หรือ ตัวเลขที่ปรากฏใน "แผนที่ความสุข" ของนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิค (พ.ย.2560) ที่อ้างอิงการสำรวจของ Gallup World Poll ที่ค่าความสุขของชีวิตในภาพรวมของประเทศไทยอยู่ที่ 35-55%  ค่าความสุขในชีวิตประจำวันอยู่ที่ 70% ขึ้นไป และค่าสุขภาวะทางกายอยู่ที่ 27 % (4*)
ความน่าสนใจก็คือ ผู้สำรวจระบุว่า ปัจจัยต่างๆของความสุข เช่น (ก) ความรื่นรมย์ในการใช้ชีวิตประจำวัน (ข)  ความต้องการพื้นฐานที่ได้รับการดูแล(จากรัฐบาล)เพื่อให้คนสามารถทำตามความปรารถนาในเรื่องงานและการใช้เวลาว่าง และ (ค) ความพึงพอใจในชีวิตจากความใฝ่หาความสำเร็จ
ทุกๆปัจจัยสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ "รัฐบาล" และ "คุณค่าทางวัฒนธรรม" ของประเทศนั้นๆ

เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา"

(2) ประชาธิปไตย = ความสุข ?
ในแง่ความสัมพันธ์ของความสุขกับรัฐบาล แม้ในนิตยสารดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงประเทศไทยโดยรายละเอียด (แต่เน้นตัวอย่างจาก เดนมาร์ก คอสตาริกา และสิงคโปร์) แต่ตัวเลขที่ปรากฏก็น่าสนใจกล่าวคือ  แม้มีความผันผวนทางการเมืองสูง (อันเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองและการรัฐประหาร) แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าการเมืองไร้เสถียรภาพไปด้วยยกเว้นกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์ (ดังสะท้อนในตัวเลขชีวิตในภาพรวมที่อยู่ในระดับกลางค่อนไปทางสูง) นั่นไม่นับว่ายังรู้สึกเป็นสุขได้ในชีวิตประจำวัน (ดังตัวเลขความสุขในชีวิตประจำวันที่อยู่ในขั้นสูงมาก)
จากรายงาน World Happiness Report มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ประเทศเป็นประชาธิปไตยจะติดกลุ่มมีความสุขในอันดับต้นๆ แต่ ประชาธิปไตยไม่ได้รับรองความสุขของคนในประเทศเสมอไป (5*)
เพราะประเทศไทยที่กำลัง "เว้นวรรคประชาธิปไตย" กลับมีความสุขเพิ่มขึ้นและอยู่ในอันดับรองจากฝรั่งเศส (31)
หรือในเอเชียด้วยกัน ประเทศไทยมีความสุขมากกว่าประเทศประชาธิปไตยอย่างญี่ปุ่น (อันดับ 51) และเกาหลีใต้ (อันดับ 56)
(3) ปรากฏการณ์ "จิตอาสา" 4 ล้านคน : ความสุขเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุข
แม้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ตัวเลขหรือรายงานเหล่านี้ก็พอที่จะสะท้อนถึง "คุณค่าทางวัฒนธรรม" ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความสุข โดยเฉพาะในวันที่คนไทยน่าจะทุกข์มากที่สุดคือวันที่ 26 ตุลาคม 2560 วันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯกลับกลายเป็นวันที่ได้เห็นคนไทยหลอมรวมหัวใจเป็นหนึ่งเดียวกันได้มากที่สุด
ในวันนั้นครูผู้หญิงคนหนึ่งอุ้มท้องขับรถทางไกล อดทนยืนฝ่าฝนตกหนักเพื่อมาถวายดอกไม้จันทน์  เธอบอกลูกในท้องว่า "แม่ต้องทำให้ได้"  ในวันนั้นลุงเฉื่อย เข็มขัดเชือกฟางที่ออกมาถวายอาลัยให้พ่อหลวงโดยไม่สนว่าใครจะว่าอย่างไร นี่คือ 2 ใน 19 ล้านคน(นับอย่างเป็นทางการ)ที่เป็น "แขกของพระราชา" ในวันงานพระราชพิธี
วันนั้นมีจิตอาสา 4 ล้านคนที่ออกมาดูแล ต้อนรับขับสู้ คนไทย 19 ล้านคนที่เป็น "แขกของพระราชา"
เป็น “จิตอาสาเฉพาะกิจ งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร  ได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น
"จิตอาสา" ที่มีตั้งแต่พระองค์เจ้าชั้น "เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน" พระ ทหาร กระทั่ง ดารา-คนมีชื่อเสียง จนถึงคนธรรมดาที่ไม่มีใครรู้จัก
แม้จะมีบางจุด บางที่มีอุปสรรค ความเรียบร้อยในการบริหารจัดการ  แม้ต้องรอต่อแถวนานร่วมหลายชั่วโมง หลายที่เป็นครึ่งวัน แม้จะต้องอดทนยืนตากแดด หรือตากฝน แต่ในภาพรวมก็สามารถพูดได้ว่าทุกคนที่ออกมาไม่ว่าจะมาร่วมถวายดอกไม้จันทน์หรือมาร่วมเป็นจิตอาสา "ทุกคนล้วนมีความสุข"
ทั้งๆที่ทุกคนที่ออกมาในวันนั้นไม่มีใครที่ไม่โศกเศร้าอยู่ในใจ

เผยดัชนีประเทศที่มีความสุข ไทยติดอันดับ32! ท่ามกลางน้ำตา ยังพบสุขได้จาก "การเป็นผู้ให้" ของ "จิตอาสา"

(4) ความสุขของพระราชา = ความสุขของประชาชน
ดัชนีชี้วัดความสุขของตะวันตกนั้นจริงๆแล้วเป็นคติแบบ "สุขนิยม" (hedonism) ที่มอง "ความสุข" ไม่แยกออกจาก "ความสุขสบาย" หรือ "ความรื่นรมย์" อีกทั้งมองว่าความสุขเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ "ความไม่สุขสบาย" ซึ่งหมายถึงความทุกข์  ตัวเลขการว่างงาน ตัวเลขเงินเฟ้อ (ที่ใช้ในดัชนีความทุกข์) ซึ่งหากมีน้อยก็หมายความว่า ไม่มีความไม่สุขสบาย หรือ เป็นสุขมาก  ส่วนตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ อายุเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี คุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคม ความไว้เนื้อเชื่อใจ และอิสรภาพในการเลือกใช้ชีวิต (ที่ใช้วัดในรายงานความสุขสากล) ก็สะท้อนถึงความสุขสบายมากถ้ามีตัวเลขที่สูง
รวมถึงการมองว่าความสุขคือสิ่งที่ต้องแสวงหา ความทุกข์คือสิ่งที่ต้องผลักไส
แต่หลักคิดแบบพุทธศาสนา ไม่ได้แยกความทุกข์ออกจากความสุขอย่างสิ้นเชิง ความสุขสบายคือความสุขที่ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดไป  การเสียซึ่งความสุข การพรากจากสิ่งที่สบาย สิ่งที่รัก คือความเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ หากในความสูญเสีย พลัดพราก ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่อาจมีความสุขได้อย่างสิ้นเชิง
ความสุขประเภทนี้อาจไม่มีตัวเลขอะไรมาชี้วัดได้แบบความสุขของฝรั่ง แต่กลับปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนกว่าตัวเลขหรือดัชนีใดๆ
ครอบครัว 5 คน พ่อ-แม่-ลูก3 ขับซาเล้งมา 100 กว่ากิโลเพียงเพื่อมาทอดปาท่องโก๋แจกจ่ายให้คนมากมายได้อิ่มท้องขณะที่มายืนต่อแถวรอถวายดอกไม้จันทน์
หญิงสาวชาวเขาที่แบกลูกน้อยบนหลัง คอยร้องถามคนที่มาต่อแถวว่ามีขยะต้องการไปทิ้งหรือไม่ เธออาสาจะเอาไปทิ้งให้
กลุ่มมอเตอร์ไซค์มารวมตัวเพื่อรับส่งประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายดังที่เป็นมาแล้วร่วมปี
ความสุขในคติแบบตะวันออกอาจไม่จำเป็นต้องหมายถึงการหลุดพ้นซึ่งเป็น "บรมสุข" (อันเป็นปลายทาง)เสมอไป  การเสียสละตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นมีความสุขแม้เพียงเล็กน้อย การยอมลำบากกาย-ใจ เพื่อร่วมประคับประคองคนที่อยู่ข้างๆให้ร่วมเดินฝ่าความทุกข์ไปด้วยกัน แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆก็ถือเป็นความสุขประเภทนั้น
ประเทศไทยอาจไม่มีตัวเลขอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจเหนือชาติอื่น อาจไม่มีตัวเลขอายุไขของผู้คนที่ยืนยาวที่สุด อาจยังคงมีความคับข้องใจตามวิสัยของปุถุชน
แต่ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร เราก็เป็นแผ่นดินที่มี คน 4 ล้านคน พร้อมแสดง "จิต-อาสา" ยอมสละความสุขส่วนตัวเพื่อให้คนอีก 19 ล้านคนมีความสุขขึ้นไม่มากก็น้อย...ใน 1 วัน
ดังได้เห็น พระราชาที่พวกเขารัก ได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อให้คนไทยทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น มาตลอด 70 ปี...ทุกวัน
ที่มาข้อมูล
(1*) "These Economies Are Getting More Miserable This Year" (March 3, 2560)
https://www.bloomberg.com/news/articles/2017-03-03/these-countries-are-getting-more-miserable-this-year
(2*) WORLD HAPPINESS REPORT 2017
http://worldhappiness.report/ed/2017/
(3*) Thailand ranked 32 on World Happiness Report 2017 as Norway comes on top
http://englishnews.thaipbs.or.th/thailand-ranked-32-world-happiness-report-2017-norway-comes-top/
 (4*) แผนที่แห่งความสุข (November 3, 2017)
http://www.ngthai.com/cultures/5483/a-global-map-of-happiest-places/
http://www.ngthai.com/wp-content/uploads/2017/11/HappiestPlace.pdf
(5*) “ดัชนีความสุข” กับประชาธิปไตย (15 พฤษภาคม พ.ศ.2560)
https://www.matichonweekly.com/column/article_35946