ไม่ต้องลงเลือกตั้ง! ไม่ต้องมีพรรคทหารหนุน! "พล.อ.เปรม" แต่เป็น"นายกรัฐมนตรี " ได้ถึง3 สมัย นานถึง 8ปี 5เดือน !!

ไม่ต้องลงเลือกตั้ง! ไม่ต้องมีพรรคทหารหนุน! "พล.อ.เปรม" แต่เป็น"นายกรัฐมนตรี " ได้ถึง3 สมัย นานถึง 8ปี 5เดือน !!

จากการที่ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกฯฝ่ายความมั่นคง ที่ออกมาจุดกระแสการจัดตั้งพรรคการเมืองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) “คสช.ไม่ยุ่งกับการเมืองอยู่แล้ว  ยกเว้นแต่มีความจำเป็นต้องตั้งพรรคการเมือง ” ไม่ว่าจะจงใจ หรือ หลุดปาก ออกไปก็ตาม จากนั้นตามมาด้วย เสียงจาก “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ที่ได้ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า “เรื่องคสช.ตั้งพรรคการเมืองยังไม่ได้คิดตอนนี้ ดูสถานการณ์ไปก่อน มีเวลาอีกตั้งปี วันนี้บ้านเมืองต้องการความสงบ”

 

การตั้งพรรคคสช. ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ใช่เรื่องแปลก และเป็นสิ่งที่ไม่ว่าพล.อ.ประยุทธ์ หรือ คณะคสช. ก็สามาทำได้ ตามสิทธิ์ ตามความจำเป็นที่ว่าไว้นั้นแต่ถึงอย่างนั้นก็ทำให้เกิดประแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่าความจำเป็นดังกล่าวคืออะไร แต่ถ้าหากต้องการจัดตั้งเพื่อปูทาง ให้ พล.อ.ประยุทธ์ กลับสู่ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ระบบรัฐสภา เพื่อสานงานบ้านงานเมือง  เป็นไปตามขั้นตอนของประชาธิปไตยโดยมีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ จะเป็นผู้ตัดสิน

 

ซึ่งอดีตที่ผ่านมา ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การจัดตั้งพรรคทหาร นั้นไม่ใช่สูตรสำเร็จที่ตายตัว ซึ่งบางเหตุการณ์ก็ได้สร้าง ประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดจากการต่อต้านของประชาชน ซึ่งเหตุการณ์นองเลือดครั้งล่าสุดเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา นั่นก็คือ “พฤษภาทมิฬ”เมื่อปี 2535 แต่ก็มีอีกหนึ่งประวัติศาสตร์การเมืองไทย ในนปี พ.ศ. 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วง พ.ศ. 2511 - 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร
พลเอกเปรมเข้าร่วมรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร
พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ในช่วงนั้น พลเอกเปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย


พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ซึ่งตลอดระยะเวลาของพลเอกเปรมในการบริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด

 

 พล.อ. เปรม  เป็นนายกรัฐมนตรีจากคำเชิญของรัฐสภาถึง 3 สมัย ระหว่างปี 2523-2531 ครองตำแหน่งนายกฯ นานกว่า 8 ปี 5เดือน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเด็ดขาดทำให้พล.อ. เปรม เป็นที่ยอมรับของประชาชนและเป็นที่เกรงใจของบรรดานักการเมืองทุกพรรค

สมัยที่ 1
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม 2523 - 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2526
สมัยที่ 2
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
สมัยที่ 3
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ
ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17


หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

 

อย่างไรก็ตามการจัดตั้งพรรค ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือ เครื่องรับประกันว่าจะสามารถจะอยู่ในอำนาจได้ตลอด ขึ้นอยู่กับความสามารถและคุณงามความดีของแต่ละบุคคล แต่ละท่านเสียมากกว่า “พล.อ.เปรม” ไม่ได้มีการตั้งพรรค หรือมีพรรคทหารหนุนแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ลงเลือกตั้ง แต่ก็สามารถเป็น นายกรัฐมนตรีที่ยาวนานถึง 8 ปี ยาวนานกว่านายกอื่นๆ ทุกที่มาไม่ว่าจะเป็นเลือกตั้ง หรือ รัฐประหาร